ความสุขจากการแต่งตัว...กำลังใจของผู้บกพร่องทางร่างกาย

Logo Thai PBS
ความสุขจากการแต่งตัว...กำลังใจของผู้บกพร่องทางร่างกาย

ความบกพร่องทางร่างกายอาจเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขสำหรับบางคน แต่ไม่ใช่กับหญิงสาวกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นมาเติมกำลังใจให้ตัวเองผ่านการแต่งตัวสวย

กิจวัตรประจำวันของสาววัย 29 ปีที่พิถีพิถันเรื่องการแต่งตัวก่อนออกจากบ้านในทุกวัน ความบกพร่องทางร่างกายจากอุบัติเหตุเมื่อ 5 ปีก่อนจนครึ่งล่างเคลื่อนไหวไม่ได้ ไม่ใช่อุปสรรคสำหรับ เมย์ นฤชล จักรภพสำเภา ผู้มีความร่าเริงแจ่มใส สมกับตำแหน่งนางงามมิตรภาพ มิสวีลเเชร์ไทยแลนด์ปีล่าสุด ก่อนหน้านี้ชอบแต่งตัว เนื่องมาจากความรักสวยรักงาม และอาชีพเซลล์ที่ต้องพบปะผู้คน แต่ทุกวันนี้เธอใช้การแต่งตัว และตามติดแฟชั่น เพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวเอง
                

<"">

ขณะที่ พรสุดา วุฒิเกรียงไกร ที่แม้สายตามองไม่เห็นมาได้ 8 ปีที่แล้ว ยังคงใส่ใจกับการแต่งตัวโดยการใช้มือสัมผัส และให้คนในครอบครัวช่วยแต่งตัวให้ และเคยเป็นนางแบบเฉพาะกิจให้กับนิทรรศการ "หญิงพิการ แรงบันดาลใจ ความงามและคุณค่า" ที่หอศิลป์ กทม. เมื่อ 3 ปีก่อน

คงไม่ผิดนัก ถ้าจะบอกว่าผู้หญิงกับการแต่งตัวนั้นดูจะเป็นของคู่กัน ซึ่งวิธีการหนึ่งที่คุณเมย์ใช้ศึกษาแฟชั่นก็ได้จากสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กหรือว่า ยูทูป ที่มีตัวอย่างผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายทั้งชาวไทยและต่างประเทศลุกขึ้นมาแต่งหน้าแต่งตัว และโพสต์คลิปของตัวเอง ก็ช่วยสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างดี
                 
<"">

ถึงแม้ว่าอาจจะต้องพึ่งพาเก้าอี้วีลแชร์ แต่ความมั่นใจของ "รถเมล์" ที่ใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวสะท้อนตัวตนและการแต่งตัว เป็นเสน่ห์ให้ เมย์ นฤชล ประทับใจตั้งแต่แรกเห็น รวมทั้งคลิปสอนแต่งหน้าของ Tisha หญิงสาวที่มีท่อนบนของร่างกายไม่สมบูรณ์ ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าร่างกายไม่ใช่ข้อจำกัดในการดูแลตัวเอง จนมียอดผู้ชมเกิน 100,000 คน หลายตัวอย่างของผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายที่ยังมีกำลังใจเข้มแข็ง หากเจ้าของตำแหน่งนางงามมิตรภาพ มิสวีลแชร์ปีนี้ (56) เผยว่า สิ่งที่ทำให้เธอเสียความมั่นใจ คือสายตาจากคนรอบข้าง

การเอาใจใส่ดูแลบุคลิกภายนอก มีส่วนช่วยเพิ่มความมั่นใจไม่น้อย แต่มากไปกว่าความสวยงามคือการได้รับการยอมรับ และปฏิบัติจากคนรอบข้างอย่างเท่าเทียม


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง