นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง วิเคราะห์กรณีสหรัฐฯปิดหน่วยงานรัฐ

เศรษฐกิจ
2 ต.ค. 56
05:47
198
Logo Thai PBS
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง วิเคราะห์กรณีสหรัฐฯปิดหน่วยงานรัฐ

นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง วิเคราะห์กรณีที่สภาคองเกรสไม่สามารถผ่านงบประมาณได้จนนำไปสู่การปิดหน่วยงานรัฐทำให้มีคนตกงานกว่า 800,000 คน ซึ่งเชื่อว่าในท้ายที่สุดจะสามารถตกลงกันระหว่าง 2 พรรคใหญ่ได้และสามารถผ่านงบประมาณในวันที่ 17 ต.ค.นี้ ได้

วันนี้ (2 ต.ค.) นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเกมการเมืองในสหรัฐฯ ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา (55) ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันนี้ รวมถึงวิกฤติหน้าผาการคลัง ซึ่งเป็นเกมการเมืองที่มีเหตุผล โดยในทางหนึ่ง นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ทำในสิ่งที่เป็นหัวใจของพรรคเดโมแครต ซึ่งมีตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีเคนเนดี้ ต่อมาประธานาธิบดีคลินตัน และมาประสบความสำเร็จในสมัยนี้ ซึ่งก็คือ ระบบสวัสดิการถ้วนหน้า ซึ่งต่อไปนี้ ชาวอเมริกันทุกคนจะได้สิทธิประกันสุขภาพที่รัฐบาลจะช่วยอุดหนุนงบประมาณ 
 
ขณะที่ด้านของพรรคริพับลิกัน  ซึ่งมีฐานของชนชั้นกลางให้การสนับสนุน ที่มองว่าขณะนี้สหรัฐฯมีหนี้สาธารณะสูงถึง ร้อยละ 70 ของจีดีพี และการไปช่วยคนระดับล่างและบางส่วนเป็นผู้ลี้ภัยอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากในอีก 7-8 ปีข้างหกาโครงการเดินหน้าต่อไป รัฐบาลสหรัฐฯจะต้องแบกภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ดังนั้นในการต่อสู้ครั้งนี้จึงเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่มีเหตุผลของทั้ง 2 พรรค ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การบีบงบประมาณ แต่วิธีการนี้ก็มีก็ปัญหาเนื่องจากการไม่ผ่านงบประมาณซึ่งเป็นงบประมาณที่นำไปใช้ในหลายส่วนและจากนี้ไปจนถึงวันที่ 17 ต.ค.ก็ยังคงต้องจับตาดูต่อไปว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ

นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ประเมินสถานการณ์โดยยกตัวอย่างกรณีที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งหากไม่มีการผ่านงบประมาณปี 2557 และเพิ่มเพดานงบประมาณว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วง 3 เดือนหลังของปี 56 อัตราการเติบโตจะลดลง 1.4 % หรือโดยรวมทั้งปี 56 อยู่ที่ประมาณ 2% และ 2 การขาดความน่าเชื่อถือซึ่งส่งผลให้สหรัฐฯถูกมองว่ากำลังมีปัญหา และจะกระทบต่อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ดอกเบี้ยจะสูงขึ้นจนกระทบกับภาระหนี้สาธารณะ

สุดท้ายผลกระทบการว่างงานซึ่งจะทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้น ที่ขณะนี้มีตกงานเบื้องต้น 800,000 คน และจะกระทบภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีทีท่าว่าจะค่อยฟื้นตัวก็ชะลอตัวลง

 
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ยังประเมินความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่อไปใน 3 ทาง คือ โอบาม่าชนะและพรรคริพับลิกันต้องยอม แนวทางที่ 2 ทั้ง 2 พรรควิน-วินทั้งคู่ คือ การบีบกลุ่มย่อยในพรรครีพับบริกัน ซึ่งได้แก่ กลุ่มทีปาร์ตี้ ซึ่งถูกโอบาม่าโจมตี ซึ่งทำได้โดยบีบให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับทีปาร์ตี้ แล้วจะทำให้ชนะ  และแนวทางที่ 3 คือ การยอมผ่อนปรนในบางเรื่องของทั้ง 2 พรรคเพื่อให้ผ่านไปได้

นอกจากนี้ นายสมชาย ยังมองว่า ผลกระทบเกิดขึ้นซึ่งค่อย ๆ เกิดขึ้นจะไม่กระทบมากนัก เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อทั้ง 2 พรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคริพับลิกัน ที่จะถูกประชาชนจับตามอง และเชื่อว่าก่อนวันที่ 17 ต.ค.หรือในวันที่ 17 ต.ค.จะจบลงโดยจะเป็นการยอมยืดหยุ่นให้กันของทั้ง 2 ฝ่าย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง