"คำนูณ" ยืนยัน ส.ว.ไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

การเมือง
6 พ.ย. 56
04:41
93
Logo Thai PBS
"คำนูณ" ยืนยัน ส.ว.ไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ส.ว.สรรหา ยืนยัน วุฒิสภาไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พร้อมเรียกร้องให้นายกฯ และพรรคเพื่อไทยถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดองทั้ง 6 ฉบับ ออกจากการพิจารณาของสภาฯ รวมถึง ให้ ส.ส.ที่เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมไม่หยิบกฎหมายมาเสนอต่อหาก ส.ว.ไม่รับร่างฯกฎหมาย

วันนี้ (6 พ.ย.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ทางกลุ่มของ ส.ว.สรรหาดำเนินการคัดค้านการผลักดันร่า งพ.ร.บ.นิรโทษกรรมมาโดยตลอด โดยได้จากรวบรวม .ส.ว.สรรหา และส.ว.เลือกตั้งจำนวนหนึ่ง ซึ่งทำให้มีความมั่นใจว่ามีเสียงเกินกว่า ครึ่งหนึ่งซึ่งล่าสุดรวบรวมเสียงขึ้นไปถึงกว่า 100 เสียง โดยสามารถที่จะคัดค้านร่าง กฎหมายดังกล่าวได้

ดังนั้น แม้ว่า นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และ ส.ว.เลือกตั้งจะไม่ออกมาแถลงถึงการไม่รับหลักการร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ก็คาดว่าร่าง กฎหมายฉบับนี้ก็จะไม่ผ่านการพิจาณณาตั้งแต่วาระแรก และการที่ประธานวุฒิสภา และ ส.ว.เลือกตั้ง ออกมาแถลงเป็นการกระทำที่หวังลดการความอุณหภูมิของการชุมนุมลง

นายคำนูณ ยังกล่าวว่า ท่าทีของประธานวุฒิสภา ในช่วงก่อนหน้านี้ยังตรงกันข้ามกับในปัจจุบัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการแถลงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งกระแสในโซเชียลมีเดียหลังจากนายกฯได้ออกมาแถลงการณ์ โดยส่งสัญญาณว่า จะถอยการผลักดันร่างฯนิรโทษกรรม สังคมก็ยังไม่แน่ใจและยังคงมีความไม่พอใจอยู่ เพราะฉะนั้น ทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งประเมินว่า ท่าทีของนายกฯไม่สามารถที่จะลดกระแสของสังคมได้  ด้วยเหตุนี้ทางพรรคเพื่อไทย นำโดย นายภูมิธรรม เวชยชัยจึงต้องออกมาแถลง หลังจากที่ประธานวุฒิได้แถลงไปในช่วงก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ นายคำนูณ ยังกล่าวว่า กรณีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อยู่ในชั้นของ วุฒิสภา ไม่ได้สร้างความกดันให้กับวุฒิสภา โดยเฉพาะกับกลุ่มของตนเองที่ยืนยันในการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมาตั้งแต่แรก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นไปตามกระบวนการตามปกติ และวุฒิสภาไม่มีสิทธิที่จะทำให้กฎหมายตกไป หรือมีสิทธิหรือทำให้กฎหมายหมดไปจากสภาฯ ซึ่งมีสิทธิเพียงการยับยั้งกฎหมาย ซึ่งหากไม่รับหลักการในวาระที่  1 ก็จะส่งคืนกลับไปยัง สภาผู้เแทนราษฎร และรอให้ครบ 180 วัน ซึ่งหากพ้นให้ 180 วัน และสภาผู้แทนยังยืนในร่างฉบับนี้ก็สามารถผ่านได้เลยทันที ซึ่งในระหว่างนี้ยังมีช่องทางก็คือการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

นอกจากนี้ยังมีร่างกฎหมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันก็คือ ร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ที่ยังค้างอยู่ในการพิจารณาของสภาอีก 6 ฉบับ ซึ่งสามารถหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเมื่อใดก็ได้

นายคำนูณ กล่าวว่า หากรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีมีความจริงใจ ก็สามารถออกเป็นมติพรรคให้สมาชิกที่เสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองทั้ง 6 ฉบับที่ค้างอยู่นี้ ถอนร่างฯทั้งหมดออกจากการพิจารณา ซึ่งจะเป็นการแดสงความจริงใจที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม รวมถึงการให้สัญญาประชาคมว่า ในช่วง 180 วัน ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย จะไม่หยิบยกร่างฯที่วุฒิสภาไม่พิจารณาหยิบกลับมายืนยันอีก

นอกจากนี้ ในการที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนั้น ยังไม่สามารถกระทได้ ซึ่งจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อร่างอยู่ในขั้นตอนการทูลเกล้าฯ ซึ่งในทางทฤษฎีก็ยังไม่แน่ใจว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวจะผ่านในวาระแรกหรือไม่ หรือ หากผ่านแล้วจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการและแปรญัตติแก้ไขเนื้อหากฎหมายมาก-น้อยเพียงใด ซึ่งการที่จะยื่่นต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้นยังคงเป็นความตั้งใจอยู่แล้วเนื่องจากมีจุดที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ นิติธรรมอยู่มาก


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง