กระแสวิพากษ์วิจารณ์ "ปิดโรงเรียน" หนุนมาตราการอารยะขัดขืน

สังคม
15 พ.ย. 56
01:21
130
Logo Thai PBS
กระแสวิพากษ์วิจารณ์ "ปิดโรงเรียน" หนุนมาตราการอารยะขัดขืน

วันนี้ (15 พ.ย.) เป็นสุดท้ายแล้วสำหรับมาตรการอารยะขัดขืน ตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมใช้ในการคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ดูเหมือนประเด็นที่นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ คือ การปิดโรงเรียน นำไปสู่การฟ้องร้องของผู้ปกครองที่เห็นว่า ไม่เหมาะสม

โดยวันนี้ โรงเรียนในเครือของสมาคมการศึกษาเอกชน จ.นครศรีธรรมราชกว่า 80 แห่ง มีมติปิดการเรียนการสอนอีก 1 วัน นายณัณวุฒิ ภารพบ นายกสมาคมการศึกษาเอกชน กล่าวว่า การประกาศปิดโรงเรียน 3 วัน เป็นการแสดงออกตามมาตรการที่ผู้ชุมนุมเรียกว่า อารยะขัดขืน เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ โรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช 9 แห่งได้ปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา 

 
ขณะที่ คณะวิทยาการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ประกาศปิดเรียนอย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.) โดยมีกลุ่มนักศึกษาเป็นแกนนำหลักในการออกมารณรงค์คัดค้านพรบ.นิรโทษกรรม และจะยกระดับการเคลื่อนไหวไปสู่เวทีการชุมนุมในที่อื่นๆ หรือรวมตัวกับองค์กรอื่น พร้อม ๆ ไปกับการให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปถึง

    

 
การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา ทั้งในจ.สงขลา หรือในจ.นครศรีธรรมราชที่มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 9 แห่ง ประกาศปิดเรียนสามวันนำไปสู่การเข้าแจ้งความของกลุ่มผู้ปกครองที่เห็นว่า ครู และผู้อำนวยการโรงเรียนละเว้น หรือ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ นักวิชาการมองว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ท่ามกลางสังคมที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเฉพาะมาตรการที่กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกว่าอารยะขัดขืน ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย แต่หากเคลื่อนไหวปราศจากความรุนแรง และมีกรอบการกระทำที่ชัดเจน ก็เป็นสิทธิทางการเมืองที่สามารถทำได้
 
ทั้งนี้ นักวิชาการยังมองว่า ปรากฏการณ์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดจากความตื่นตัว และการรับรู้ข่าวสารที่มีมากขึ้น แต่ทุกฝ่ายจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นธรรม เพื่อไม่ให้การเคลื่อนไหวตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง