นักธุรกิจ-นักวิชาการ ขอทุกฝ่ายยอมรับคำตัดสินศาลรธน. ป้องกันประเทศวุ่นวาย

สังคม
21 พ.ย. 56
01:07
62
Logo Thai PBS
นักธุรกิจ-นักวิชาการ ขอทุกฝ่ายยอมรับคำตัดสินศาลรธน. ป้องกันประเทศวุ่นวาย

นักวิชาการ และนักธุรกิจ ขอให้ทุกฝ่าย ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะหากประชาชนไม่ฟังอำนาจศาล ไม่เคารพกฎหมาย ประเทศชาติก็จะวุ่นวาย และกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว. เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด ด้วยการลาออกจากตำแหน่ง

นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว.ต่างเรียกร้องให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้นำกฏหมายที่ขั้นตอนขาดความสมบูรณ์ตั้งแต่ต้น ขณะเดียวกันจะติดตามกระบวนการถอดถอน ส.ส. และ ส.ว. 312 คน หลังจาก นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ได้ไปยื่นต่อ ป.ป.ช. เพราะเชื่อว่า ป.ป.ช.จะต้องดำเนินการตามผลพูกพัน ในคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ

    
 
รศ.สมชาย ภคภาศน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ไม่ว่าคำตัดสินของศาลจะออกมาในทิศทางใด ก็จะมีฝ่ายที่ไม่ยอมรับ ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไป เพราะเมื่อประชาชนไม่ฟังอำนาจของศาล ไม่เคารพกฎหมาย ประเทศชาติก็จะวุ่นวาย และกระทบต่อการพัฒนาประเทศ
 
ขณะที่นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หวังว่า ทุกฝ่ายจะหาทางออกร่วมกัน เนื่องจากจะช่วยให้สถานการณ์ต่าง ๆ คลี่คลายโดยเร็ว เพราะหากสถานการณ์ยืดเยื้อ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
 
  
 
ที่จ.บุรีรัมย์ ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน เฝ้ารักษาความปลอดภัยในบริเวณศาลากลางจังหวัด และสถานที่ราชการสำคัญอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มมวลชน ที่ไม่พอใจผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เข้าไปปิดล้อมก่อความวุ่นวาย หรือสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการ
 
ขณะที่องค์กรสตรี จ.แพร่ และตัวแทนผู้บริหารองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น อ.เด่นชัย ยื่นหนังสื่อสนับสนุนรัฐบาล ให้เร่งมาตรการปรองดอง เพื่อก้าวข้ามความขัดแย้งของคนในชาติ และประสานรอยร้าวของคนในสังคม ผ่านนายธนากร อึ้งจิตรไพศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
 
ส่วนความคืบหน้าการถอดถอนที่ลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เมื่อวานนี้ (20 พ.ย.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมด้วยอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำรายชื่อประชาชน จำนวน 77 กล่อง หรือ 115,500 รายชื่อ ยื่นต่อประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอน ส.ส.ดังกล่าว

    

 
ด้านนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า จะเร่งตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อ หากถูกต้องครบถ้วนก็จะส่งต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป พร้อมแสดงความเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้กระบวนการพิจารณาสูญเปล่า เพราะร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวตกไปแล้ว แต่ยืนยันว่ารัฐสภามีอำนาจในการพิจารณากฎหมาย
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง