วิเคราะห์คำวินิจฉัย"ศาลรัฐธรรมนูญ" ที่มาส.ว.

การเมือง
21 พ.ย. 56
05:04
372
Logo Thai PBS
วิเคราะห์คำวินิจฉัย"ศาลรัฐธรรมนูญ" ที่มาส.ว.

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์คำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว. โดยตั้งข้อสังเกตคำวินิจฉัย กรณีการแก้ไขที่กำหนดให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของส.ว. ตามที่มีผู้ยื่นคำร้อง พร้อมทั้งมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่าการแก้ไขร่างฯดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกับไทยพีบีเอส ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว.ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือประเด็นที่ 1 กระบวนการในการแก้ไขขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากร่างแก้ไขกับเนื้อหาที่ผ่านขั้นรับหลักการคนละฉบับกัน มีการจำกัดการแปรญัตติ และมีการเสียบบัตรแสดงตนแทนกัน ส่วนประเด็นที่ 2 คือการแก้ไขที่กำหนดให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดขัดกับรัฐธรรมนูญ เนื่องจากหลักการของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 กำหนดให้ต้องมีทั้งส.ว.เลือกตั้งและส.ว.สรรหา เพื่อถ่วงดุลอำนาจกัน และส.ว.ต้องมีความเป็นอิสระจากส.ส.

<"">

 

ผศ.ดร.ปริญญาตั้งข้อสังเกต คำวินิจฉัยในประเด็นที่ 2 ที่ระบุว่า การแก้ไขให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ขัดกับรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นคำวินิจฉัยที่ดูแปลก และมติที่ออกมายังมีความก้ำกึ่งด้วยคะแนน 5:4 เสียง ซึ่งเห็นว่า หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 เพียงประเด็นเดียวน่าจะเพียงพอ เนื่องจากมีการกระทำที่เกิดขึ้นจริง โต้แย้งได้ลำบาก โดยศาลได้อ้างถึงพยานหลักฐาน และคำวินิจฉัยนี้ไม่เพียงมีพอต่อการแก้ไขที่มาของส.ว.เท่านั้น ยังมีผลไปถึงอนาคตด้วย เพราะกำหนดให้ส.ว.ต้อมาจากการสรรหา และห้ามเป็นคู่สมรส บุตร ธิดาของส.ส.

สำหรับทางเลือกของรัฐบาลหลังจากนี้ เห็นว่าดำเนินการได้ใน 2 แนวทาง 1.ขอพระราชทานร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับคืนมา แต่ส่วนตัวคิดว่า รัฐบาลไม่น่าจะเลือกแนวทางนี้ เพราะแรงกดดันภายในพรรคเพื่อไทยและกลุ่มนปช. 2. ไม่ดำเนินการใดๆเลย ซึ่งก็เหมือนกับร่างแก้ไขมาตรา 291 ที่ยังคงค้างอยู่ในวาระ

<"">
<"">

ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขฯขึ้นทูลเกล้าฯ หากพ้น 90 วันแล้ว ไม่ทรงพระราชทานคืนมา หรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย รัฐสภาก็สามารถยืนยันด้วยเสียง 2 ใน 3 กลับไปทูลเกล้าฯอีกครั้งหนึ่ง แต่หากกระทำในลักษณะเช่นนี้จะถูกตั้งคำถามว่าสมควรหรือไม่ และเสียง 2 ใน 3 ของสภาฯ ที่จะสนับสนุนก็ไม่น่าจะเพียงพอ

ขณะที่ ในแง่การเคลื่อนไหวของมวลชนต่อคำวินิจฉัยดังกล่าว ถือว่าไม่มีใครแพ้หรือชนะทั้งหมด เพราะทางกลุ่มนปช.ก็บอกว่า ชนะส่วนหนึ่ง เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ถูกยุบ และส.ส.ไม่ถูกตัดสิทธิ์ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ถือว่าชนะส่วนหนึ่ง แต่ถือว่าทางพรรคเพื่อไทยและกลุ่มนปช.ยังมีทางเดินต่อไปได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับกลุ่ม 40 ส.ว.และพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะดำเนินการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี ส.ส.ที่เสียบบัตรแทนกัน หรือ สมาชิกที่ลงมติผ่านร่างแก้ไขฯในวาระ 3 ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ศาลมีคำวินิจฉัยออกแล้ว และเป็นช่วงที่จะมีการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 24 พฤศจิกายน เห็นว่าจังหวะนี้สามารถที่จะจบการชุมนุมลงได้

ผศ.ดร.ปริญญา ยังกล่าวด้วยว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการวิพากวิจารณ์ ติชมด้วยความเป็นธรรมในทางวิชาการ โดยเฉพาะในประเด็นที่ 2 การแก้ไขให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง