'ทะเลสาบเชียงแสน' กับการพัฒนาที่ไร้ทิศทาง

16 ส.ค. 53
10:12
231
Logo Thai PBS
'ทะเลสาบเชียงแสน' กับการพัฒนาที่ไร้ทิศทาง

ทะลสาบเชียงแสน นอกจากจะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับประเทศ และเป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งแล้ว ที่นี่ยังเป็นพื้นที่เลี้ยงควายที่เคยมีมากถึงกว่า 4,000 ตัว แต่ในปัจจุบันพื้นที่ทะเลสาบกำลังถูกคุกคามจากการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนา ทำให้พื้นที่สำหรับเลี้ยงควายลดลง จนชาวบ้านต้องรวมตัวกันตั้งกลุ่มในชื่อ สามัคคีปางควายทุกเช้า ชาวบ้านห้วยน้ำราก จะพากันต้อนควายนับร้อยตัวออกหากินไปทั่วพื้นที่ทะเลสาบเชียงแสน โดย ผัด แก้วหลักมุข รองประธานกลุ่มสามัคคีปางควาย บ้านห้วยน้ำราก กล่าวว่า การเลี้ยงควาย เป็นอาชีพที่สืบทอด เลี้ยงปากท้องมาหลายชั่วอายุคน แต่อาจจำต้องเลิกไปในยุคของเขานี่เอง

พื้นที่กว่า 25,000 ไร่ ของเวียงหนองล่ม ทะเลสาบเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีลักษณะเป็นหนองน้ำสลับกับป่าละเมาะ จึงเหมาะที่จะปล่อยควายให้หากินตามธรรมชาติ ซึ่งในครั้งหนึ่งชาวบ้านเคยเลี้ยงควายนับรวมกันได้

มากกว่า 4,000 ตัว แต่ในปัจจุบันกลับเหลือควายเพียงประมาณ 1,000 ตัวเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่สาธารณะสำหรับเลี้ยงควายลดลงอย่างต่อเนื่อง

ช่วงไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา บริเวณพื้นที่ดอนที่น้ำท่วมไม่ถึงถูกบุกรุก กลายเป็นสวนส้มและสวนสับปะรดรอบทะเลสาบ ในพื้นที่ลุ่มได้ถูกจับจองทำนาข้าว ทำให้ฝูงควายถูกขับไล่ แม้ว่าจะเป็นที่ดินสาธารณะ นอกจากนี้ สารเคมี

จากสวนเกษตรที่ไหลลงแหล่งน้ำยังเป็นพิษต่อควายด้วย

คนเลี้ยงควายเคยร้องเรียนปัญหานี้กับหน่วยงานท้องถิ่น แต่ไม่ได้รับการแก้ไข จึงต้องรวมตัวกัน ตั้งกลุ่ม "สามัคคีปางควาย" ช่วยเหลือกันเองเพื่อความอยู่รอด แต่สถานการณ์กลับเลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อองค์กรปกครองท้องถิ่น

รอบทะเลสาบเชียงแสนต่างมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ทั้งสร้างถนนขวางกั้นทางน้ำ และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จนส่งผลให้ที่ดินของชาวบ้านเปลี่ยนมือไปสู่กลุ่มทุนจากภายนอก

ปัจจุบันกลุ่มสามัคคีปางควาย รวมตัวกันอยู่เพียง 4 ปางจำนวนควายลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทะเลสาบเชียงแสน ที่ถูกใช้ประโยชน์อย่างไร้ทิศทาง ขณะที่พื้นที่ส่วนหนึ่งของ

ทะเลสาบเชียงแสน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ หรือ แรมซาร์ไซต์ รวมถึงยังเป็นโบราณสถานของเมืองเชียงแสนและโยนกนคร ที่มีอายุนับพันปี แต่กลับไม่ได้รับการดูแลอย่าง

เหมาะสม และอาจถูกทำลายไปทีละน้อยเช่นเดียวกับอาชีพเลี้ยงควายของชาวบ้าน


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง