การใช้เทคโนโลยีต่ออายุหนังสือโบราณ

Logo Thai PBS
การใช้เทคโนโลยีต่ออายุหนังสือโบราณ


การต่ออายุหนังสือ และเอกสารเก่าอายุกว่า 100 ปี โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมานำเสนอในรูปแบบที่สืบค้นง่าย ช่วยให้นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไปเข้าถึงเอกสารที่หาอ่านยากได้สะดวกมากขึ้น
วชิรญาณวิเศษ คือชื่อของวารสารรายสัปดาห์เล่มแรกๆของสยามประเทศเมื่อ 125 ปีก่อน วันนี้ถูกต่อชีวิตกลับมาสู่สายตาผู้อ่านอีกครั้งในรูปของสื่อดิจิตอลในเว็บไซต์สยามแรร์บุ๊คดอทคอม ที่ทำให้ผู้อ่านที่สนใจหรือนักประวัติศาสตร์สามารถเข้าไปศึกษาหาข้อมูลได้อย่างสะดวก วารสารโบราณนี้เดิมเคยเป็นของเก่าราคาถูกที่ขายกันอยู่ในตลาด และถูกเก็บของจริงไว้ตามสถาบันที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่กี่แห่งเท่านั้น

นายธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ เจ้าของสำนักพิมพ์ กล่าวว่า ในบรรดา 9 เล่มมีสถาบันที่มีครบน้อยมาก มีหอสมุดแห่งชาติกับม.ธรรมศาสตร์ที่มีครบ เป็นนิตยสารที่หายากในไทย เราก็เลยอนุรักษ์เป็นเว็บไซต์ค้นหาได้ในอินเทอร์เน็ต จะได้เข้าถึงได้ไง

นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ รักษาการหัวหน้างานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล กล่าวว่า มี 3 รูปแบบคือ pdf, flip e-book และ text สำหรับ pdf เรามีการฝังคำค้นลงไปในจุดต่างๆ เนื่องจากต้นฉบับเป็นรูปภาพสแกน

เว็บไซต์ siamrarebooks ดอทคอม ยังมีหนังสือและเอกสารเก่าที่หายากเล่มอื่นๆอีกมากมาย อาทิ พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เล่ม 90, ลิลิตพระฤา, เทศนาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอีกหลายเล่ม ทั้งหมดนี้อยู่ในโครงการหนังสือเก่าชาวสยาม ด้วยความร่วมมือระหว่างศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรและสวทช.ที่ช่วยกันเผยแพร่องค์ความรู้ในอดีตและอนุรักษ์ไปพร้อมๆกัน


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง