จริยธรรมสื่อ-โฆษณายุคสื่อสังคมออนไลน์

21 ก.ย. 53
20:00
1,741
Logo Thai PBS
จริยธรรมสื่อ-โฆษณายุคสื่อสังคมออนไลน์


2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีคลิปวิดีโอซึ่งกลายเป็นกระแส รวมทั้งมีการนำเสนอเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ คือคลิปวิดีโออาจารย์ขว้างโทรศัพท์มือถือของนักศึกษาหน้าชั้นเรียน วันนี้ กลายเป็นว่า คลิปวิดีโอชิ้นนี้กลายเป็นโฆษณาสินค้า ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า การโฆษณาแบบนี้มีความเหมาะสมเพียงใด รวมทั้งการนำเสนอคลิปวิดีโอชิ้นนี้ในฐานะข่าวที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ วีดิโอคลิปอาจารย์ขว้างโทรศัพท์มือถือของนักศึกษาในห้องเรียนกลายเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจอย่างมากในสังคมออนไลน์ ทั้งในเว็บไซต์เฟสบุ๊ก และยูทูป มีผู้เข้าชมวีดิโอคลิปนี้กว่า 1 ล้านคนในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ซึ่งมีการแสดงความเห็นกว่า 4,000 ข้อความ จนสื่อมวลชนหลายประเภทนำวีดิโอคลิปนี้มาเผยแพร่ แต่เมื่อวานนี้ ได้มีเผยแพร่วีดิโอคลิปชิ้นใหม่ที่เปิดเผยว่า ภาพที่เป็นข่าวนั้นเป็นเพียงการโฆษณาอาหารยี่ห้อหนึ่งในสื่อออนไลน์เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความเหมาะสมของการโฆษณาในลักษณะนี้ขึ้น

ขณะที่นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การโฆษณาลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนสนใจ พูดถึงก่อนจะเฉลยภายหลัง ซึ่งโฆษณาชุดนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ

ส่วนผศ.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต กล่าวว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านของยุคข้อมูลข่าวสาร ที่มีการใช้ชุมชนออนไลน์ มาทางเลือกในการสื่อสารมากขึ้น มีข้อดี คือ เร็วและกระจายข้อมูลข่าวสารได้กว้างขว้าง แต่สื่อมวลชนควรที่จะจึงต้องรู้เท่าทัน และต้องตรวจสอบที่มาที่ไปของข่าวให้มากขึ้นการนำไปเผยแพร่ต่อ

ผศ.อัศวิน กล่าวอีกว่า จากนี้ไปสังคมไทยจะต้องเรียนรู้การยับยั้งชั่งใจ อย่าเพิ่งด่วนสรุปกับข้อมูลที่ได้รับผ่านสื่อออนไลน์ เพราะทุกเรื่องมองได้หลายมุม รวมทั้งเทคนิคการผลิตที่ทำได้ง่าย และรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้คนไทยตกเป็นเหยื่อของสื่อออนไลน์ได้


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง