บทบาทไทยกับการแก้ปัญหาโรฮิงญา

ต่างประเทศ
21 พ.ค. 58
15:21
818
Logo Thai PBS
บทบาทไทยกับการแก้ปัญหาโรฮิงญา

ดูเหมือนว่าต่างฝ่ายต่างลดท่าทีที่มีต่อชาวโรฮิงญา โดยมาเลเซียและอินโดนีเซียประกาศว่าจะรับผู้อพยพอย่างน้อย 7,000 คน ที่ลอยลำอยู่กลางทะเล ส่วนเมียนมาเปิดช่องที่จะรับคนกลุ่มนี้กลับ คำถามคือประเทศไทยอยู่ตรงไหน ย้อนกลับไปวันที่ประเทศไทยแสดงท่าทีจะจัดประชุมว่าด้วยการโยกย้ายฐิ่นในมหาสมุทรอินเดียอย่างไม่ปกติ วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 อาจจะทำให้เห็นถึงความจริงจังในการแก้ไขปัญหา แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ตั้งศูนย์อพยพ

เมื่อวานนี้ (20พ.ค.2558) หลังจากจับไม้จับมือกันในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ปรากฏว่าในช่วงแถลงข่าว พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกรณ์ ไม่ได้ร่วมอยู่ด้วย เป็นบทบาทของมาเลเซีย และอินโดนีเซียที่จะรับดูแลผู้อพยพชาวโรฮิงญา 7,000 คน มีรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศว่าไทยอาจจะต้องการกลับไปหารือในด้านกฎหมายอีกครั้่ง หรือว่าไทยยังมองว่าเป็นแค่ทางผ่านของโรฮิงญาเท่านั้น 
 
ท่าทีแบบนี้สร้างความประหลาดใจให้คนที่ติดตามสถานการณ์ชาวโรฮิงญาอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยๆ สักกรินทร์ นิยมศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญการย้ายถิ่นฐานในอาเซียน และสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ยังมองว่าการที่ บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติต่อสายตรงถึงนายกรัฐมนตรี เป็นการดีด้วยซ้ำที่เห็นไทยแสดงบทบาทต้องการจะแก้ปัญหา 
 
หรือการที่ จอห์น แครี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ต่อสายตรงถึง พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกรณ์ เป็นการเปิดช่องทางการการทูต ไม่ได้มองว่าเราถูกกดดันจากต่างชาติ นี่ยังไม่นับรวมกรณีที่ชาวโรฮิงญาบางคนให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่าถูกทหารเรือขมขู่ แม้เราจะปฏิเสธแล้ว แต่อาจจะทำให้เสียภาพลักษณ์พอสมควร
 
หรือจริงๆ แล้วไทยอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญบทบาทระหว่างประเทศ เพราะอีกด้านหนึ่งแหล่งข่าวจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ก็มีชุดข้อมูลของชาวโรฮิงญาที่ทำให้เห็นไทยไม่ควรตั้งศูนย์พักพิง หรือผู้อพยพ เพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด
 
ชุดข้อมูลฝ่ายความมั่นคง "โรฮิงญาคือใคร"
-ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญาทั้งหมด แต่มีชาวบังคลาเทศครึ่งต่อครึ่ง
-มาจากรัฐยะไข่ของเมียนมาเพียงส่วนน้อย ส่วนใหญ่มาจากคอกซ์บาซา ชายแดนบังคลาเทศ มีขบวนการนำพาลงเรือสู่ทะเลอันดามัน
-ส่วนหนึ่งต้องการทำงานที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ไม่ใช่เหยื่อค้ามนุษย์ แต่ลักลอบเข้าเมือง
-การตั้งค่ายผู้อพยพหรือศูนย์พักพิงจึงไม่จำเป็น และไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง
-ที่คอกซ์บาซา บังคลาเทศ มีค่ายที่่รองรับคนได้กว่า 300,000 คน ขณะนี้มีชาวโรฮิงญาอยู่ประมาณ 20,000 คน ไทยสามารถส่งคนเหล่านี้กลับไปได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง