การเมืองพม่าในสื่อบันเทิงตะวันตก

Logo Thai PBS
การเมืองพม่าในสื่อบันเทิงตะวันตก

สิ่งที่ชาวโลกจับตามองตลอดมาเกี่ยวกับพม่าก็คือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศที่อยู่ใต้เงาอำนาจเผด็จการทหารมากว่า 60 ปี เช่นเดียวกับวงการบันเทิงที่คำถามดังกล่าวสะท้อนออกมาทั้งรูปแบบภาพยนตร์และในผลงานเพลงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศพม่าปรากฎอยู่ในภาพยนตร์ อาทิ Rambo ที่มีฉากการต่อสู้อย่างดุเดือดของ “จอห์น แรมโบ้” บภารกิจร่วมมือกองกำลังกะเหรี่ยงรบกับทหารพม่าในภาพยนตร์ปี 2008โดยเรื่อง Rambo ถือเป็นภาพยนตร์จากโลกตะวันตกไม่กี่เรื่องที่นำความขัดแย้งอันเกิดจากนโยบายการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยของรัฐบาลทหารพม่ามาเป็นหัวใจหลักของเรื่อง แม้ผลงานเรื่องนี้จะถูกคว่ำบาตรการจัดจำหน่ายทุกรูปแบบในพม่า แต่กลับได้รับการยกย่องจากกลุ่มเรียกร้องเสรีภาพชาวพม่าที่เคลื่อนไหวอยู่ในต่างแดน ถึงความกล้าในการนำเสนอเรื่องราวอย่างสมจริง จนวรรคทองในเรื่องอย่าง Live for nothing, or die for something หรือ อยู่อย่างว่างเปล่า หรือตายเพื่อบางสิ่ง กลายเป็นคำขวัญที่ใช้หลอมใจกลุ่มนักต่อสู้เพื่อปลดแอกพม่าอย่างกว้างขวาง
ขณะที่ความพยายามในโลกของความเป็นจริง หลายปีมาแล้วที่เหล่าคนดังในแวดวงฮอลลีวูดได้มีส่วนร่วมในการเรียกร้องประชาธิปไตยให้มีโอกาสเบ่งบานในพม่า โดยเฉพาะโครงการ Burma It Can't Wait ที่บรรดาคนดัง นับ 30 ชีวิต ร่วมกันเป็นกระบอกเสียงในการนำเสนอปัญหาภายในประเทศพม่าอันเกิดจากการอยู่ภายใต้ร่มเงาของเผด็จการทหารมาหลายชั่วอายุคน
สำหรับเพลง Walk On ผลงานระดับรางวัลแกรมมี่ของวง U2 วงร็อกชั้นนำที่อุทิศให้กับอุดมการณ์อันแรงกล้าของ อองซานซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ที่ความหวังในอิสรภาพหลังการถูกจองจำอยู่ในบ้านพักกว่า 2 ทศวรรษของเธอ กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องประชาธิปไตยของชาวพม่า โดยเนื้อเพลงที่ว่า “ขออย่าได้สูญสิ้นศรัทธา จงก้าวเดินต่อไป” เป็นหัวใจของเนื้อเพลง Walk On และแม้จะเดาได้ไม่ยากกับผลการเลือกตั้งครั้งนี้ และคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักตามสายตาที่นักวิเคราะห์การเมืองคาดเดาแต่ชาวพม่าก็ยังคงมีศาสนาเป็นที่พึ่ง และพอจะผ่อนคลายได้บ้างกับความบันเทิงที่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเมือง


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง