กกต.แจง 6 ข้อทำได้-8 ข้อไม่ควรทำ ออกเสียงประชามติ

การเมือง
29 เม.ย. 59
21:46
451
Logo Thai PBS
กกต.แจง 6 ข้อทำได้-8 ข้อไม่ควรทำ ออกเสียงประชามติ
กกต.แถลงชี้แจง 6 ข้อที่ทำได้ และ 8 ข้อที่ไม่ควรทำ ระหว่างการแสดงความเห็นออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

วันนี้ (29 เม.ย.2559) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต. แถลงผลการประชุมเพื่อวางระเบียบและแนวทางต่อการกระทำและแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในระหว่างการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

แนวทางปฏิบัติที่ตรงกันและเป็นไปตาม พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ คือ "6ข้อทำได้ และ8 ข้อไม่ควรทำ" 6 ข้อที่ทำได้ ประกอบไปด้วย

1.การแสดงความเห็นของบุคคลโดยข้อเท็จจริง
2.การแสดงความเห็นโดยสุภาพ
3.การแสดงความเห็นที่เป็นข้อมูลชัดเจน
4.การแสดงความเห็นที่อ้างอิงผลการศึกษาวิจัย
5.การแสดงความเห็นผ่านสื่อโดยมีเหตุผลประกอบ
และ 6.การนำเข้าหรือโพส์ตข้อความโดยไม่มีความเห็นเพิ่มเติมเข้าไป

ส่วน 8 ข้อที่ไม่ควรทำ ประกอบไปด้วย
1.การสัมภาษณ์ผ่านสื่อ 2.การนำเข้าข้อมูลผ่านเว็บไซต์,สื่ออิเล็กทรอนิกส์,การกดแชร์ และการกดไลค์ที่เป็นเท็จ 3.การทำสัญลักษณ์ รณรงค์เชิญชวน 4.การเปิดเวทีสัมนา-อภิปราย โดยไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรตามกฎหมายกำหนด 5.การชักชวน ใส่เสื้อ ติดป้าย เข็มกลัด ปักธง โชว์ริบบิ้น อันเป็นเครื่องหมายหรือแสดงสัญลักษณ์ รวมถึงการแจกจ่ายและขายสิ่งของในลักษณะรณณงค์ทั่วไป 6.การแจกจ่ายเอกสารที่มีข้อความเป็นเท็จนำไปสู่เหตุวุ่นวายและการชุมนุม 7.การรายงานข่าวของสื่อมวลชน ซึ่งนำไปสู่การปลุกระดม และสุดท้าย 8.การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามความคิดเห็นของสังคม เพื่อออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ปลุกระดมหรือขัดขวาง

ทั้งนี้การโพสต์แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กได้จะเห็นว่ารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ แต่ต้องมีเหตุผลประกอบ เหตุผลต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ แต่ถ้ามีคนแสดงความเห็นเพิ่มความในลักษณะเชิญชวนให้เห็นตาม แล้วกดไลค์ พร้อมแชร์ มีความผิด

ส่วนการใส่เสื้อที่จัดทำขึ้นเองมีสัญลักษณ์ vote no สามารถทำได้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเป็นก้อน และสืบค้นว่ามีเจตนาเชิญชวนรณรงค์ มีความผิด และความผิดตามกฎหมายนี้มีโทษสูงสุด 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท และเพิกถอนสิทธิ์ตั้งแต่ 5-10 ปี

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง