จดหมายจากเมืองไทย บันทึกมุมมองชาวจีนในนิยาย "โบตั๋น"

Logo Thai PBS
จดหมายจากเมืองไทย บันทึกมุมมองชาวจีนในนิยาย "โบตั๋น"
การนำเสนอเรื่องอคติเชื้อชาติระหว่างคนไทยกับจีน ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงในนิยาย "จดหมายจากเมืองไทย" สร้างชื่อให้นามปากกา โบตั๋น โด่งดังเมื่อเกือบ 50 ปีก่อน มาวันนี้ยังเป็นเหมือนบันทึกวันวาน ที่นักเขียนรุ่นใหญ่นำมาแลกเปลี่ยนกับแฟนหนังสือ

ถือเป็นรักต้องห้าม เพราะแทบเป็นไปไม่ได้ที่ครอบครัวชาวจีนจะยอมรับลูกเขยคนไทย เป็นประสบการณ์จริงที่เห็นจากคนในครอบครัวเมื่อหลายสิบปีก่อน ของศิลปินแห่งชาติ "สุภา สิริสิงห" เจ้าของนามปากกา "โบตั๋น" นำมาตีแผ่มุมมองของชาวจีนอพยพ ซึ่งพยายามรักษาตัวตนเมื่อต้องพลัดถิ่นมาอยู่เมืองไทย ผ่านนิยายสร้างชื่อ "จดหมายจากเมืองไทย" เมื่อปี 2512 จนโด่งดังถูกนำมาสร้างเป็นละครเมื่อปี 2525 อคติทางเชื้อชาติ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในอดีต ยังเป็นบทเรียนให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านนิยายในกิจกรรม TK Reading Club ตอน "จดหมายจากเมืองไทย”

นอกจากจดหมายจากเมืองไทย โบตั๋น ยังมีผลงานสร้างชื่อทั้ง "ทองเนื้อเก้า" ให้ข้อคิดเรื่องความกตัญญู โด่งดังจนทำเป็นละครมาแล้วถึง 3 เวอร์ชั่น รวมไปถึงเกิดแต่ตม, ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด, สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ที่เน้นสะท้อนปัญหาสังคม เป็นเอกลักษณ์งานเขียนของโบตั๋น ที่แตกต่างจากนิยายในยุคเดียวกันที่นิยมเรื่องรักโรแมนติก

แรงบันดาลใจ และแนวคิดในการทำงานของนักเขียนวัย 70 ปี ในกิจกรรม TK Reading Club โดย TK PARK เปิดโอกาสให้นักอ่านได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ กับนักเขียน และคอวรรณกรรมในมุมมองที่แตกต่างกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง