"ชัยวัฒน์" ดักทางความขัดแย้งหลังรู้ผลประชามติ แนะเคารพทุกเสียงอย่าให้คนเห็นต่างเป็นเหยื่อ

การเมือง
7 ส.ค. 59
13:19
1,634
Logo Thai PBS
"ชัยวัฒน์" ดักทางความขัดแย้งหลังรู้ผลประชามติ แนะเคารพทุกเสียงอย่าให้คนเห็นต่างเป็นเหยื่อ

ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รัฐธรรมนูญคือ กล่องวิเศษ ที่มีของ 2 อย่างในนั้น อย่างหนึ่งคือกระจก และอีกอย่างหนึ่งก็คือตะเกียง รัฐธรรมนูญทุกฉบับในโลกนี้เป็นทั้งกระจกและตะเกียง
.
กระจกเงาทำหน้าที่สะท้อนความจริงของสังคมว่าอยู่ใต้ความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบไหน
.
ส่วนตะเกียงคือความฝัน รัฐธรรมนูญคือที่บรรจุความฝัน

ที่สำคัญมากว่าคือรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นความฝันร่วมของทุกคนหรือคนบางกลุ่ม เป็นกระจกบานที่ต้องการหรือไม่ เป็นตะเกียงที่ส่องแสงสว่างให้สังคมไทยโดยรวมหรือเปล่า
.
อย่างไรก็ตาม ผลของการลงประชามติ มีความหมายสามเรื่อง (หนึ่ง) คือผลของจะเป็นอย่างไร (สอง) การออกไปของคนเป็นการใช้สิทธิ์ ประชาธิปไตยอย่างไร และ (สาม) คือการแปลผล
.
เวลาไปลงประชามติแล้วบอกว่าเป็นประชาธิปไตยทางตรง คนที่เดินไปคูหาเลือกตั้ง เดินไปในฐานะอะไร
.
พื้นฐานของการอธิบายประชาธิปไตยทางตรง หน่วยเลือกตั้ง คูหาเป็นผลของพัฒนาการนับร้อยปี คนที่มีอัตตานัตสมบูรณ์ หมายถึงไม่ใช่ไปกาเพราะคนนั้นคนนี้บอกให้ไป หรือฟังใครบอกให้ทำอะไร แต่เดินไปในฐานะมนุษย์ ที่มีความคิดและศักดิ์ศรีของตัวเอง เลือกความฝันของตัวเอง โดยไม่ลืมว่า รัฐธรรมนูญสะท้อนสัมพันธ์ภาพทางอำนาจอยู่ เป็นตัวตนซึ่งไม่ได้ถูกลากจูง ถ้าจะถูกลากจูง ก็เป็นไปด้วยเหตุด้วยผล

แล้วถ้าไม่ออกไปใช้สิทธิผิดหรือไม่?
.
ขึ้นอยู่กับว่าเรามองเขาเป็นอะไร ถ้าเชื่อว่าเขามีเหตุผลของตัวเอง ก็แปลว่าเขามีสิทธิ์ของเขา นำไปสู่การแปลผลว่าเราคิดว่าคนที่ตัดสินใจอีกยอ่างมีความหมายความำสคัญอย่างไร ทางกฏหมายทำเหมือนว่าไม่สนใจคนเหล่านั้น แต่ในทางการเมือง จะไม่สนใจได้หรือไม่
.
โดยมีกการแปลความได้อย่างน้อยสองวิธี (หนึ่ง) คือคนเหล่านั้นดูดาย (สอง)คนหล่านั้นตระหนักว่ากติกาการเมืองตอนนี้เป็นอย่างไร จึงตัดสินใจอย่างหนึ่ง ถ้ามองจากมุมที่ให้เกียรติคนตัดสินใจทุกอย่างก็ต้องเลือกว่า เราจะเชื่ออันไหน
.
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังการลงประชามติ
.
ที่สำคัญคือการเแปลผล กล่าวคือสิ่งที่ผู้ที่กำหนดกติกาจะดูคือเขาจะดูผลเฉพาะคนที่ออกมาออกเสียง แล้วตัดสินบนฐานนั้น มีผลผูกมัดทางกฏหมาย แต่ไม่ว่าเสียงที่ไม่ออกมาจะมากหรือน้อยก็ควรเคารพเพราะเป็นกิจกรรมทางการเมือง
.
การแปลผลจะเข้าใจเขาอย่างไร ซึ่งนี่ก็จะมีผลต่อการแก้ปัญหาของประเทศต่อไปด้วย
.
เพราะว่าถ้าการไม่ออกไปใช้สิทธิ์จำนวนมากก็มีความหมายว่าเขาไม่เห็นด้วยกับอะไรบางอย่าง ที่มีบางคนพูดถึงความชอบธรรม ความไม่ชอบธรรม แล้วคือความชอบธรรมของอะไร ซึ่งความหมาย (mean) คือความชอบธรรมของกระบวนการทำประชามตินั่นเอง
.
ความสำคัญของการแปลผลอีกประการคือ จะทำความเข้าใจว่าระบอบการเมืองอย่างไร?
.
อาจเริ่มต้นจากการคิดว่าจะอยู่กับความขัดแย้งอย่างไร เป็นระบอบที่สมจริง สังคมไทยได้รับยาพิษมานาน คือความเกลียดชัง อยู่ข้างใครก็ไม่ได้ เป็นสิ่งสำคัญต้องหาวิธีจัดการกับความขัดแย้งนั้นด้วย แล้วไม่ว่าผลประชามติจะเป็นอย่างไร ต้องถามว่ามีระดับของการเคารพผลประชามติแค่ไหน อย่างไร
.
ในแง่หนึ่ง เวลาที่พูดถึงการเคารพผลของประชามติ หมายถึงว่าในนั้นก็เกี่ยวกับกับคนสามกลุ่ม คือ (1) คนที่รับ (2) คนที่ไม่รับ และ (3) คนที่ไม่ออกมาใช้สิทธิ์
.
ดังนั้น เวลาที่เราพูดถึงโจทย์ต่อไปของความขัดแย้งก็จะต้องคิดว่าจะทำให้ผลของประชามติไม่ทำให้คนกลายเป็นเหยื่อได้แค่ไหน?
.
ไม่ว่าหลังวันที่ 7 สิงหาคม 2559 จะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือเป็นทรัพยากรสำคัญของสังคมไทยจะหายไป นั่นก็คือน้ำมิตรไมตรีที่มีต่อกัน ใครที่สนใจอนาคตของประเทศต้องต้องสนใจเรื่องนี้ การปฏิรูปต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ แต่ถ้าใครที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นปิศาจหมดก็จะเป็นการทำลายพื้นฐานของเรา และทำลายอนาคตของเราด้วย
.
ขอย้ำอีกครั้ง อย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญเป็นกล่องวิเศษ ที่มีของสองอย่าง คือกระจกและตะเกียง
.
กระจกสะท้อนความจริง เรื่องอำนาจของสังคม
ตะเกียงคือความฝันของคนในสังคม
.
ปัญหาคืออย่างดูถูกความฝันของใคร
ทำอย่างไรให้ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะฝัน
ทำอย่างไรให้ทุกคนฝันร่วมกันได้
อย่าทำลายความฝันของใคร
ทำให้ทุกคนเข้าใจฝันของคนอื่นว่าเป็นอย่างไร
และฉันก็มีสิทธิ์ที่จะฝันด้วย

หมายเหตุ: ถอดสารสำคัญตอนหนึ่งจากรายการ ‘สาระประชามติ’ ตอน - ประชามติกับเสียงที่ต้องถอดรหัส เมื่อวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2559 #ThaiPBS

ข่าวที่เกี่ยวข้อง