บทบาททหารกับการเมือง

การเมือง
7 ต.ค. 59
08:15
2,083
Logo Thai PBS
บทบาททหารกับการเมือง
ในโอกาสครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 นอกจากการจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์แล้ว ประเด็นทหารกับการเมืองยังถูกตั้งคำถามจากคนเดือนตุลาฯว่า เหตุใดการเมืองไทยจึงไม่สามารถก้าวข้ามเรื่องนี้

วันนี้ (7 ต.ค.2559) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐประหาร 13 ครั้ง มีนายกรัฐมนตรี 29 คน มาจากทหาร 14 คน มาจากพลเรือน 15 คน โดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่ง 8 สมัย จากข้อมูลทั้งหมดพบว่าคือการเมืองกับการทหารนั้นแทบยังแยกกันไม่ออก จะมีบางช่วงเท่านั้นที่ทหารไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

แซมมวล อี ฟีนเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทหารกับการเมือง ได้จำแนกลักษณะเด่นขององค์กรทหารออกเป็น 5 ส่วน คือ 1. มีการบังคับบัญชาที่รวมศูนย์ 2. มีการบังคับบัญชาเป็นลำดับชั้น 3. มีระเบียบวินัย 4. มีการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร และ 5. มีความสามัคคีรักพวกพ้องและมีลักษณะเป็นองค์กรเอกเทศ

ด้าน รศ.ตระกูล มีชัย นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ทหารมีข้อได้เปรียบกว่าองค์อื่น จึงทำให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองในช่วงที่วิกฤตการณ์ทางการเมือง ขณะที่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังจะประกาศใช้ เปิดช่องให้ทหารเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งการเป็น ส.ว.โดยตำแหน่งของผู้บัญชาการเหล่าทัพ การมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ล้วนแต่เป็นข้อกังขาว่าทหารจะเข้ามาสถาปนาอำนาจใหม่หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้อำนาจทางทหารจะยังคงอยู่ แต่คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะต้านกระแสโลกที่กดดันให้ไทยเข้าสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง