นายกฯ พร้อมทำงานเชิงรุกบริหารจัดการน้ำ ขอประชาชนเข้าใจ-เสียสละ

การเมือง
7 ต.ค. 59
20:54
232
Logo Thai PBS
นายกฯ พร้อมทำงานเชิงรุกบริหารจัดการน้ำ ขอประชาชนเข้าใจ-เสียสละ
นายกรัฐมนตรี ยันเดินหน้าปฎิรูปจัดทำงบประมาณขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมทำงานเชิงรุกบริหารจัดการน้ำยั่งยืนเร่งทำความเข้าใจประชาชน ระบุจะไม่ยอมให้ใครใช้ประเทศเคลื่อนไหว สร้างความขัดแย้ง

วันนี้ (7 ต.ค.2559) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้ประชาชนว่า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมพี่น้องประชาชนที่ จ.พระนครศรีอยุธยา รวมถึงรับทราบสถานการณ์น้ำและอุทกภัย ที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาทต้องขอขอบคุณข้าราชการ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร และพี่น้องประชาชน ที่ได้มีโอกาสมาพบกันอีกครั้ง เพื่อรวมกันเป็นพลังในการใช้สติปัญญาในการทำงานทั้งเชิงรุก และเชิงรับเพื่อแก้ปัญหาในการบริหารจัดการน้ำ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน โดยได้มีการเตรียมการทั้งมาตรการเร่งด่วน การช่วยเหลือ มีมาตรการเสริมสำรอง ในลักษณะที่ว่ามีการพัฒนาการตามสถานการณ์แล้วก็สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะฝนตกหนักมาก หรือตกน้อยอะไรต่างๆ ก็ตาม ต้องทำทุกอย่างเป็นแผนงานล่วงหน้าจะได้ไม่เสียเวลา เพราะว่าเราห้ามธรรมชาติไม่ได้มากนัก เราต้องระมัดระวังตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องมีการทำงานในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ


เร่งทำความเข้าใจประชาชน พร้อมทำงานเชิงรุกบริหารจัดการน้ำ

ทั้งนี้ผมได้มีโอกาสทำความเข้าใจซึ่งกันและกันทั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร และประชาน ว่าในกรอบของราชการนั้นเขาก็รับผิดชอบตามภารกิจๆ ของเขา ด้วยอำนาจหน้าที่เขาตั้งแต่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงทรัพยากรฯ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน คณะบริหารจัดการน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกคนก็ได้พยายามกันอย่างเต็มที่ในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งด้วยหลักการ ด้วยวิธีการ และแนวทางปฏิบัติเดิมๆ ที่ผ่านมา รวมทั้งแนวทางใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ตลอดจนผมก็ได้รับความเข้าใจจากประชาชนในพื้นที่มากขึ้น ในเกณฑ์ที่น่าพอใจหลังจากที่ได้พูดคุยกับเขา

การที่ผมลงไปครั้งนี้นั้น ผมต้องการไปให้กำลังใจกับทุกภาคส่วนแล้วก็มีการมอบนโยบายเพิ่มเติมในเชิงรุก ประกอบด้วยกับต้องการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้น ทุกอย่างอยู่ที่ความเข้าใจ วันนี้ประชาชนต้องเข้าใจ ทำอย่างไรเขาจะเข้าใจ ใช้ภาษายังไง ใช้คำพูดอย่างไรให้สั้น ให้กระชับ ได้ใจความเราจะได้ทำความเขาใจกันทั้งประเทศสักทีว่าความเชื่อมโยงระบบทุกระบบนี่ ไม่ว่าจะระบบใดก็ตามวันนี้เรามาพูดถึงการใช้น้ำของทุกกลุ่มนะครับทั้งน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการการอุปโภคบริโภค เพื่อการอุตสาหกรรม และการรักษาระบบนิเวศ

และก็ต้องใช้น้ำอันเดียวกันเพราะเราใช้สายน้ำเดียวกัน ที่ตกมาจากฝน เกิดจากป่า ไหลลงแม่น้ำลำคลองหรือเป็นน้ำที่ขังท่วมอยู่ในแหล่งเก็บน้ำต่างๆ หรือเวลาฝนตก ก็มีน้ำสะสมเพราะงั้นเราก็ต้องมาพูดกันถึงน้ำในระบบชลประทาน และนอกระบบชลประทาน อยู่ในเขต และนอกเขตแล้ววันนี้เราก็มีทั้งน้ำทุ่ง น้ำท่า น้ำสะสม เนื่องจากมีฝนตกมากขึ้นกว่าปกติ ในฤดูฝนนี้แล้วก็ท่วมทั่วไปทั้งหมดนั้น ข้อเท็จจริงก็คือว่าน้ำทุกน้ำไม่ว่าจะที่ใดก็ตามต้องไหลลงที่ต่ำไหลลงแม่น้ำ ลำคลอง ลงสู่ทะเล เราต้องมาคิดร่วมกันทั้งภาครัฐ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ข้าราชการ และประชาชนว่าเราจะบริหารจัดการน้ำให้ยั่งยืนได้อย่างไร เราควรต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดไหม ที่เราเรียกว่าเป็นห่วงโซ่เดียวกันถ้าเราใช้น้ำกันอย่างพอดีๆ เฉลี่ยแบ่งปันทุกคนก็มีความสุขถ้าเวลาน้ำแล้ง

ถ้าพวกหนึ่งได้มาก พวกหนึ่งได้น้อย ก็จะเกิดความขัดแย้ง ระบายไม่ได้ ปล่อยไปที่อื่นไม่ได้จะเก็บกักไว้ในพื้นที่ของตนเอง ก็ไม่สามารถจะไปช่วยพื้นที่หนึ่งได้ เพราะว่าอยู่ในสายน้ำเดียวกัน เราต้องอธิบายให้เขาเข้าใจว่าวันนี้เราต้องแก้ใหม่แล้ว เหล่านี้เป็นปัญหาซ้ำซากของประเทศไทยหมายความว่าเราไม่ได้แก้ไขอะไรอย่างยั่งยืนมาโดยตลอดที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นหลักการสำคัญง่ายๆ ที่ผมคิดก็คือว่าเราต้องเข้าใจตรงกัน

สำหรับมวลน้ำที่มีอยู่ปัจจุบันในประเทศไทยก็มีอยู่ 3 ก้อน คือก้อนหนึ่งอยู่ภาคเหนือ อีกก้อนหนึ่งก็ลงมาภาคกลาง ใต้เขื่อนภาคเหนือลงมา แล้วก็ที่อยู่ด้านใต้ของเขื่อนเจ้าพระยา เพราะฉะนั้นทั้ง 3 ก้อนนี้มีกลุ่มจังหวัดต่างๆ ที่ใช้น้ำจำนวนมหาศาลกลุ่มจังหวัด จังหวัด ชุมชน หมู่บ้าน มหาศาล แล้วทั้งหมด พื้นที่ของประเทศไทยก็ลาดลงสู่ทะเลเพราะฉะนั้นเราต้องบริหารจัดการน้ำทั้ง 3 ก้อนได้อย่างไร ทั้งไม่ว่าจะการพร่องน้ำ การระบายน้ำ การส่งน้ำ หรือน้ำเกินจะไปเก็บไว้ที่ไหน อย่างไรจะเก็บในอ่างกักเก็บน้ำ ไว้ได้เพิ่มหรือไม่ ในเขื่อน ในเมื่อฝนตกเหนือเขื่อนลดลง จะเก็บน้ำใต้เขื่อนไว้ได้อย่างไร เพราะโลกเปลี่ยนแปลง อากาศเปลี่ยนแปลงเรามีพื้นที่แก้มลิงที่เตรียมไว้ ทั้งของเดิมของใหม่เพียงพอหรือยังผมคำนวณดูแล้วว่าถ้าหากฝนยังตกแบบนี้เรายังพอจะรับมือไว้ได้ แต่เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเราอาจจะต้องเตรียมพื้นที่สำรองเพิ่มเติมไว้ล่วงหน้า

บางส่วนนั้นอาจจะต้องใช้พื้นที่ของรัฐ ของประชาชน อยู่บ้างของรัฐนั้นเตรียมให้อยู่แล้วบางครั้งต้องใช้ของประชาชน ก็คือพื้นที่ที่แล้วซ้ำซาก หรือพื้นที่ที่ท่วมซ้ำซาก ทำยังไงเราจะใช้ประโยชน์ได้ ช่วยกันเป็นพื้นที่รับน้ำได้บ้างไหม เราก็จะให้ฃได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุดและมีมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ในกรณีที่หากน้ำลงไปแล้ว แล้วก็ไม่สามารถจะทำการเกษตรได้มีวิธีการคิดใหม่ๆ หลายอย่างด้วยกันซึ่งผมจะเล่าให้ฟังวันหลัง กำลังให้ทุกหน่วยงานไปหามาตรการเหล่านี้มาใหม่ๆ ทำยังไงประชาชนจะร่วมมือกับเราขณะเดียวกันเขาก็ได้ประโยชน์ไปด้วย แล้วไม่ต้องไปเหน็ดเหนื่อยกับการปลูกพืชหลายครั้ง ปลูกแล้วก็เสีย ปลูกแล้วก็ตาย ปลูกแล้วก็ท่วม เพราะฉะนั้นถ้าเขาแปรสภาพเป็นที่เก็บน้ำไปก่อนได้ไหม ในบางระยะเวลา รัฐบาลก็จะช่วยเหลือให้ในช่วงเวลาเหล่านั้น ไม่ให้เขาสูญเสียรายได้

สิ่งสำคัญวันนี้ก็คือว่าในพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าวนั้น ทุกคนมักจะปลูกในเวลาเดียวกัน คือหน้าฝนใกล้เคียงกันเพราะสัมพันธ์กับเรื่องของการใช้เครื่องมือในการเก็บเกี่ยว ในการเพาะปลูกใดๆ ก็ตาม ไถ คราด อะไรก็แล้วแต่เวลาเดียวกันหมดเพราะว่าใช้การบริการจากภาคเอกชน เช่าเขามาบ้าง อะไรเขามาบ้างเพราะฉะนั้น จะเป็นพื้นที่ๆ ไป ถ้าเราปลูกพร้อมกัน ใกล้เคียงกันมากแล้วก็รอเก็บเกี่ยวด้วยกันทั้งหมด แล้วน้ำมาจะทำยังไงโดยเฉพาะพื้นที่ ที่น้ำท่วมเป็นประจำอยู่แล้วนี่ ทุกหน้าฝนนี่ เราจะทำยังไง เราต้องบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เหล่านี้ให้ได้ ทำยังไงจะไม่เกิดความเสียหายในวงกว้าง ถ้าหากว่าน้ำระบายไม่ได้เลยทุกคนให้กักเก็บไว้หมด มวลน้ำทางเหนือ ทางกลาง ก็ไปผสมกันลงมาทางใต้ พอดีก็มีฝนตกลงมาอีก มากขึ้นอีก ในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งบางครั้งก็ไม่เคยตกตรงนั้น

ทั้งหมดก็สะสมลงมาทั้งน้ำในเขื่อน น้ำนอกเขื่อน น้ำในทุ่ง น้ำสะสม น้ำฝนตก ทั้งหมดก็ต้องไหลลงที่ต่ำทั้งสิ้น ถ้าไหลลงเขื่อน อาจะเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณรับน้ำไว้ได้เพียงพอ ก็จบ ถ้าไม่เพียงพอ ล้นออกมาจะทำอย่างไร ก็อั้นน้ำทั้งหมดเพราะฉะนั้นเราต้องบริหารจัดการระบายน้ำ และกักเก็บน้ำอย่างเป็นระบบ ที่เกื้อกูลกันเป็นขั้นเป็นตอนไม่อยากให้สะสมมากขึ้น เป็นก้อนๆ ไป ทุกที่ไป หากว่าถึงเวลานั้นแล้วเคยเกิดขึ้นมาแล้วเราต้องระบายทุกพื้นที่พร้อม ๆ กัน ผมถามแล้วจะระบายไปที่ไหน ถ้าเราไม่ทยอยระบายทยอยพร่องน้ำไปบ้าง เพราะฉะนั้นเราต้องบริหารน้ำทั้ง 3 ก้อน ไม่ให้เกิดการความสมดุลไม่ให้เกิดการอั้นน้ำ ตั้งแต่แต่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ไม่อย่างนั้นก็เกิดปัญหาดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา คือท่วมไปทั้งหมด

อย่างไรก็ตามเราจึงจำเป็นต้องมีมาตรการรองรับไว้ล่วงหน้าอะไรที่เป็นหน้าที่ของส่วนราชการ ข้าราชการ เขาก็ต้องทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าผมต้องไปคอยสั่งว่าเปิดประตูน้ำ ปิดประตูน้ำ ระบายน้ำเท่าไรยังไง ผมเอาเฉพาะหลักการ นโยบาย แล้วก็มาตรการเร่งด่วน การช่วยเหลือประชาชนมาตรการเรื่องกักเก็บน้ำ พร่องน้ำ ควรจะเป็นยังไง การเตรียมพื้นที่สำรองไว้จะทำยังไง ชดเชยอะไร ใคร ยังไง นั่นคือหน้าที่หลักของรัฐบาล

และหากสามารถลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยามาได้ วันนี้ก็อยู่ในระดับประมาณ 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งก็ยังพอประคับประคองไว้ได้แต่ถ้าสูงไปกว่านี้จะทำยังไง ถ้าเรายังคงต้องกักเก็บไว้เพื่อรอการเก็บเกี่ยวทั้งหมด อยากให้เข้าใจตรงนี้นะก็จะมีผลกระทบไปทั้งสิ้น ถ้าเราลดมากก็ไปเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตร แต่ไม่ทั้งหมดก็เฉพาะพื้นที่ที่จำเป็น ก็ดูแลตรงนั้นให้ตรงไหนที่สามารถรอได้ เราจะไปปล่อยให้ท่วมทำไมเราก็จะปล่อยเท่าที่จำเป็น เห็นใจ เกษตรกร จำนวนมากกำลังเพาะปลูกแล้วกำลังรอเก็บเกี่ยว พวกนี้จะดูแลเป็นพิเศษ

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่กำลังเจอปัญหาฝนตกมากกว่าปกติ การระบายน้ำ ระบบระบายน้ำยังแก้ไขไม่ได้ครบทั้งหมดยังท่วมอยู่บ้าง แต่ก็พยายามเร่งรัดระบายให้เร็วที่สุดเท่าที่เราสามารถทำได้ เราปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้วันหน้าก็ต้องไปแก้ไขในเรื่องของระบบการระบายน้ำใหม่อีกทีเพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนคิดร่วมกัน ทั้งรัฐ ข้าราชการ ประชาชน ทุกหมู่เหล่า

อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ และเตรียมมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมไว้ สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมาก หรือมากเป็นพิเศษ ก็ต้องดูว่าอันไหนท่วมมาก ท่วมน้อย ท่วมจากธรรมชาติ หรือท่วมจากการบริหารจัดการน้ำ พร่องน้ำ ระบายน้ำของรัฐบาล ก็มีความแตกต่าง เราก็กำลังจะเร่งหารือใน ครม.โดยด่วน โดยมาตรการเหล่านี้ ปกติแล้วในพื้นที่ประกาศภัยน้ำท่วม ได้รับความช่วยเหลืออยู่แล้ว แต่จำนวนไม่มากนักต้องไปหาความแตกต่าง มาตรการ จำนวน วิธีการ

ข้อสำคัญคือ ต้องเก็บข้อมูลตั้งแต่วันนี้แล้วก็รักษาสิทธิ์อย่าให้ใครเขามาหาช่องทางทุจริตได้เวลาเงินช่วยเหลือลงไปแล้วนะบอกฝากทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบท.ต่างๆ ที่ใกล้ชิดประชาชนจะต้องเป็นหัวเรือให้กับประชาชน ไม่ใช่เป็นหัวเรือในการต่อต้านอย่างเดียว เป็นหัวเรือในการรักษาสิทธิ์ให้กับเขาโดยไม่ให้เกิดการรั่วไหล เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลอยากให้ประชาชนชาวเกษตรกรต้องช่วยเราเข้าใจว่ารัฐบาลไม่ต้องการให้ใครเดือดร้อนทั้งสิ้น ไม่ใช่ว่ารักคนกรุงเทพฯ แต่ให้น้ำท่วมอยุธยาไม่ใช่เลย เพราะผมบอกไปแล้วว่าน้ำมีกี่ก้อน ต้องระบายไปทางไหนบ้าง ไม่ลงข้างล่างก็ไปทางซ้ายทางขวา ถ้าไม่ไปไหนเลยก็เอ่อท่วมทั้งหมด ทั้งประเทศนั่นแหละคือหลักการง่ายๆ เราอาจจะต้องใช้คำว่าเสียสละกันบ้าง ผมไม่อยากให้ใครต้องเสียสละแต่ก็จำเป็น

ทั้งนี้ขอให้ประชาชนติดตามแล้วก็เข้าใจ ติดตามสถานการณ์น้ำ รวมถึงวันนี้ก็คาดว่าอาจจะมีลมมรสุม อาจจะมีมรสุมหลายลูก เข้าพัดผ่านในด้านอาเซี่ยนแล้วก็ประเทศไทยด้วยก็ขอให้ระมัดระวังในช่วงนี้ไม่ว่าจะเรื่องการปลูกพืช การสัญจรไปมา อุบัติเหตุ อุบัติภัย ต่างๆ มาด้วยกันทั้งหมดข้อสำคัญคือถ้าเราเข้มแข็งเพียงพอ รวมกลุ่มกันได้ ก็ต่อสู้ได้ทั้งหมดทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นเราต้องช่วยกันให้ความร่วมมือ

สำหรับเรื่องแรกอยากจะขอร้องเราสามารถทำได้กันไหม ในการกำหนดห้วงเวลาในการปลูกพืชต่างๆ แต่ละพื้นที่ซึ่งทางกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทยก็แนะนำไปแล้วอาจจะแล็ปกันบ้างเป็นรายสัปดาห์คงไม่ใช่เป็นเดือนๆ หรอกเพื่อให้มีการทยอยใช้น้ำกันตามลำดับตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ท้ายน้ำ ทำนองนี้ถ้าเราสามารถแล็ปกันได้บ้าง ก็แบ่งเบาในเรื่องของการขาดแคลนน้ำแล้วก็สามารถระบายน้ำได้ ไม่ใช่พอหน้าแล้งก็ข้างบนไม่ให้ระบายลงมา เพราะข้างบนจะปลูกพืชข้างล่างก็แล้ง เพราะไม่มีน้ำจะลงมา ถึงเวลาน้ำท่วมมากๆ ข้างบนก็เร่งปล่อยลงมา กลัวท่วมข้างบนแต่ก็ปล่อยมาท่วมข้างล่างคือการบริหารจัดการน้ำที่ไม่ได้ง่านหากเราไม่เข้าใจกัน

นอกจากนี้ในเรื่องการทำเกษตรแปลงใหญ่การปลูกพืชเสริม หรือเปลี่ยนการปลูกพืชบ้างปลูกพืชผสมผสาน ที่เรียกว่าไร่นาส่วนผสม หรือให้กำหนดพื้นที่ดูซิว่าตรงนี้เหมาะสมจะปลูกข้าว ก็สนับสนุนการปลูกข้าวที่มีคุณภาพ เป็นเกษตรอินทรีย์หรือปลูกพืชชนิดใดก็ตามที่มีมูลค่าแลกเปลี่ยนกันได้ นี่ปลูกข้าวไว้ขาย นี่ปลูกข้าวไว้กิน แล้วก็ขายได้บ้าง แล้วก็เสริมด้วยอาชีพอื่นๆ ที่มีรายได้ที่เพียงพอ ต้องคิดแบบนี้ไม่ใช่ปลูกข้าวก็ตามกันไปหมด เวลาข้าวเสีย น้ำท่วม ข้าว ฝนแล้ง ก็ไม่มีผลผลิตออกมา แล้วทำยังไงรัฐบาลก็ต้องหาเงินจำนวนมากไปอุดหนุนเราต้องช่วยกันทั้งคู่รัฐบาลเป็นหน้าที่ต้องช่วยอยู่แล้วท่านก็ต้องช่วยของท่านเองด้วย

สำหรับการปลูกพืชในพื้นที่ที่เหมาะสม ที่ดินดี น้ำดี ไม่เคยแล้ง ไม่เคยท่วมตรงนี้ต้องส่งเสริมแล้วจะได้ลดความเสียหายให้มากที่สุด ลดการใช้น้ำให้มากที่สุดในพื้นที่ที่ใช้น้ำน้อย ตอนนี้เราน้ำมากในการทำนานี่แหละหลายเท่าของต่างประเทศเขานะ เพราะเราไม่ได้ติดตามเรื่องการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อยากให้ทุกคนได้พิจารณา ผมไม่บังอาจไปบังคับใครเป็นเรื่องที่จะดีขึ้นเปลี่ยนแปลงของท่านเอง ของเกษตรกรเองท่านต้องใช้ทุกอย่างนอกจากประสบการณ์แต่เพียงอย่างเดียว

สิ่งเหล่านี้นั้นกระทรวงเกษตรฯ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เขาก็แนะนำไปมากแล้วหลายคนก็ทำเป็นผลสำเร็จแล้ว มีรายได้มากขึ้นจากไร่ละ 3,000 เป็นไร่ละ 30,000 ลองไปดูว่าเขาทำยังไงกัน ถ้าไม่ดูกันเลยนี่เราก็จะปลูกข้าวแบบเดียวไปทั้งหมดน่ะแล้วก็มีคุณภาพบ้างไม่มีคุณภาพบ้าง พอน้ำจะท่วมก็ต้องรีบเก็บเกี่ยว ข้าวยังไม่สุกดีข้าวมีความชื้นก็ถูกลดราคาอีก แล้วรัฐบาลจะต้องไปอุดหนุนอีกจะได้ไหมล่าครับแบบนี้ต่อไปจะไปไม่ไหว

ดังนั้นเพื่อความง่ายเราจะได้รู้ปริมาณที่สอดคล้องต้องกัน ระหว่าง ดีมานด์ ซัพพลาย เราผลิตเท่าไร ขายในประเทศเท่าไร ขายต่างประเทศเท่าไร ในการผลิตของภาคการเกษตรแต่ละชนิดๆ จะได้หาตลาดง่ายขึ้นจะได้แข่งขันเขาได้ง่ายขึ้น ข้อสำคัญคือคุณภาพต้องดีกว่าเขาถ้าราคาจะสูง ต้องมีคุณภาพ ต้องไร้สารเคมี เกษตรอิทรีย์ พัฒนาคุณภาพไปสู่ข้าวคุณภาพ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ไปเป็นเครื่องสำอางบ้างไปเป็น ครีม อะไรต่างๆ เหล่านี้ ข้าวก็มีทั้งนั้นทำได้ทั้งนั้นเพียงแต่ว่าตลาดเข้าถึงได้หรือยัง นวัตกรรมเพียงพอไหมเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญ

ในเรื่องการใช้เครื่องมือทันสมัยรัฐบาลก็พยายามจะหาทางช่วยเราคงต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ถ้าให้ทุกพื้นที่มีความเท่าเทียมกันทั้งหมดคงยังไม่ได้ในตอนนี้ เพียงแต่ว่าอาจจะไปรวมเป็นพื้นที่ๆ ไป ในท้องถิ่นดูแลกันให้ไปแล้วซ่อมแซมกันเองมีค่าใช้จ่ายบ้าง ถูกกว่าที่ต้องไปเช่าเขามาในวันนี้จะได้มีอำนาจต่อรองกับคนที่เขาให้เช่าเครื่องมือด้วย

นอกจากนี้สิ่งที่ผมห่วงอีกอันหนึ่งก็คือเรื่องรายได้จากการเช่านาในเมื่อข้าวเสียหาย ผู้ให้เช่านาก็อย่าไปเก็บประชาชน ในพื้นที่การเกษตรที่เสียหาย ในเมื่อเขาปลูกข้าวไม่ได้ อันนี้แหละเป็นน้ำใจ เป็นสิ่งที่จะทำให้เกษตรกรเขาเข้มแข็ง ไม่อย่างนั้นหนี้เขาก็สะสมไปเรื่อย วันหน้าเขาก็ต้องขายนาท่านก็เอานาเขาไปอีก แล้วให้เขาเช่าอีกก็เป็นอยู่อย่างนี้ นี่คือวงจรที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตรของเรา

อย่างไรก็ตามอยากให้เห็นใจเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยบ้างอีกอันหนึ่งก็อยากให้มาร่วมกันคือ ขอให้มาขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้เท่าไหร่ รายได้น้อยกว่า 1 แสน มันก็มีมาตรการมีแรงจูงใจ มีสิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลกำลังคิดว่าจะทำอย่างไร สำหรับคนเหล่านี้ได้มากขึ้นวันนี้มาขึ้นแล้วประมาณ 8 ล้านกว่าคน ก็มีตั้งหลาย 10 ล้าน เพราะฉะนั้นมันก็ต้องทยอยเป็นปีๆ รัฐบาลก็จะหามาตรการช่วยเหลือให้ได้ตรงตามข้อเท็จจริงตามที่เดือดร้อนจริงๆ สำหรับคนที่ไม่ได้ก็อยากเรียกร้องเลยเพราะมีรายได้สูงกว่าคนเหล่านี้แล้ว รัฐบาลต้องบริหารงบประมาณอย่างนี้

ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพเลี้ยงนักกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ขอขอบคุณนักกีฬาทุกคน และหน่วยงานส่วนราชการ และภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน เราได้ตั้ง 18 เหรียญ 6-6-6 มากกว่าที่ประมาณการไว้ ซึ่งตั้งไว้ก่อนไป เขาสัญญากับผมไว้ว่า 4 เหรียญทอง นี่ได้มา 6 ไง และมีเหรียญเงิน เหรียญทองแดงมาด้วย ถือว่าได้มากที่สุดจากห้วงที่ผ่านมารัฐบาลก็จะพยายามสนับสนุนดูแลให้มากขึ้นทั้งระบบ อย่างไรก็ตามมันต้องใช้เวลาใช้งบประมาณ ปรับกฎหมายแหล่งเงิน ที่มาต่างๆ สัดส่วนการดูแล ทุกคนก็ขอผมว่าให้รัฐบาลให้ข้าราชการทุกคนให้กำลังใจแก่คนเหล่านี้ ผมก็ให้ตลอดเวลาอยู่แล้วหละนะรัฐบาลก็ให้กำลังใจเขาต่อไป

อีกเรื่องหนึ่งขอแสดงความยินดีกับคณะหุ่นละครเล็กนาฏยบูรพา (อจ.เด่น หาเลิศ) ที่พาเยาวชนไทย อายุ 7 -25 ปี กว่า 30 คน ไปคว้ารางวัล Grand Prix “ชนะเลิศ” หุ่นโลกมาครองได้เป็นผลสำเร็จ จากเวทีการประกวด WORLD PUPPET CARNIVAL 2016 (หุ่นเชิดโลก) ซึ่งจัดขึ้นในปลายเดือน กันยายน ที่ผ่านมา ณ เมืองวูช ประเทศโปแลนด์ ด้วยการแสดงในชื่อภาษาไทยว่า “หนึ่งในโลกา” ที่มีทั้งคติสอนใจ เป็นแบบอย่างในการเป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์” ซึ่งจะต้องประกอบด้วย ความกตัญญูรู้คุณ ความเสียสละ ความมีระเบียบวินัย และมีความอดทนอดกลั้น ซึ่งเหมาะสมกับบ้านเราในเวลานี้นะกับโลกด้วย

ทั้งนี้ คณะหุ่นละครเล็กนาฏยบูรพา เป็นเพียงตัวแทน “หนึ่งเดียว” ของไทยที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 54 ทีมสุดท้ายจากการคัดเลือก 900 ทีมทั่วโลกจำนวนมาก ก็น่าภูมิใจนะ เพื่อเข้าทำการแข่งขันในครั้งนี้ นอกจากนั้นเรายังได้รับเกียรติ ให้เป็นการแสดงหลัก ในการพิธีเปิดและปิดอีกด้วยนะครับ เป็นที่น่าสนใจ ทั้งนี้ขอขอบคุณทุกคน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในความสำเร็จของคนไทย รวมทั้งขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับความสำเร็จของคณะนักกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ที่ผ่านมาด้วย ช่วงที่ผ่านมาเนี่ยกีฬาเป็นสิ่งที่นำความสุขมาสู่สังคมไทย ทำให้บ้านเมืองมีความสุขสงบ มีความรักความผูกพันกันมากขึ้นเราจะได้ประกาศศักยภาพของ “คนไทย” ในเวทีโลก ให้มากยิ่งขึ้นต่อไปในทุกสนามการแข่งขันด้วย

เดินหน้าปฎิรูปจัดทำงบฯขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

นอกจากนี้ เกือบ 2 ปีที่รัฐบาลปฏิรูปการจัดทำงบประมาณของประเทศ เพื่อเป็นการวางรากฐานของการบริหารประเทศ ให้สามารถขับเคลื่อนประเทศใน “ระยะยาว” ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี การปฏิรูปงบประมาณของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนปฏิรูป นโยบายรัฐบาลนี้ และต่อๆไป ตลอดจนแผนพัฒนาหลักอื่นๆ ของประเทศ อีกด้วย ในการปฏิรูปงบประมาณของรัฐบาลนี้ ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

“ส่วนแรก” คือ การผลักดันกฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ คือ (1) พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ (ฉบับใหม่)โดยสำนักงบประมาณ และ (2) พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ โดยกระทรวงการคลัง ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประเด็นที่สำคัญมีดังนี้

1.ประเด็นที่มาของงบประมาณรายจ่ายที่ต้องคำนึงถึงฐานะทางการคลังของประเทศจะต้องพิจารณาจากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งความจำเป็นในการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลเร่งด่วนเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทุก 5 ปี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐ “สูงสุด” มีประสิทธิภาพ โดยมี 4 หลักงานหลัก ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย กำลังร่วมกันจัดทำงบประมาณประจำปี ทั้งนี้ต้องมีการกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี ประกอบด้วยประมาณการ “รายได้” และยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ “รายจ่าย” ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 ปี เพราะโลกมันเปลี่ยนแปลง

2. ประเด็นหน่วยรับงบประมาณซึ่ง “เพิ่มเติม” ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายได้ “โดยตรง” เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ให้มากที่สุดไม่มีการรั่วไหล และประเด็นที่ 3.จำแนกงบประมาณแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ งบประมาณ Function คือตามภารกิจของหน่วยงานเดิมเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร และการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ งบประมาณต่อไปคือ งบประมาณบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda)ตามนโยบายรัฐบาล อาทิเช่น ในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ ยาเสพติด การพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย การยกระดับคุณภาพการศึกษาและให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ประชารัฐ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาที่ต้องนำสู่การผลิตและจำหน่าย และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เหล่านี้เป็นต้น

นอกจากนั้นก็คืองบประมาณบูรณาการเชิงพื้นที่ (Area based) ของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจำเป็นต้องปรับจากแผนงานเดิมที่ผ่านมาเราทำมาตลอด บางอย่างก็ทำเสร็จแล้วบางอย่างก็ยังทำไม่เสร็จแต่พื้นที่มันเปลี่ยนแปลงไปแล้วไงอาจจะเคยทำถนน มันอาจจะต้องเป็นยกระดับ มันอาจจะต้องเป็นทางข้าม ทางลอด เหล่านี้ มันต้องปรับให้ทันสถานการณ์ วันนี้รถมันติด การจราจรแออัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาล ในช่วงวันทำงานก็ตาม

งบต่อไปคืองบกลาง ทั้งนี้มีไว้เพื่อให้เกิดความอ่อนตัว ในการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน ภัยแล้ง ภัยภิบัติ อะไรต่างก็แล้วแต่ หรือเหตุการณ์สำคัญที่จำเป็น ตลอดจนงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐทั้งนี้ สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ “ข้ามหน่วยงาน” จากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานได้ ภายใต้แผนงานบูรณาการเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การบริหารราชการมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับหน่วยงานโครงการที่มีความพร้อมก็จะได้ไม่เสียโอกาส

“ส่วนที่ 2” คือ การปฏิรูปการจัดทำงบประมาณ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมานั้น มีปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายทั้งหมด ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลนี้นะครับ มีผลการเบิกจ่าย ร้อยละ 92.35 ในปีงบประมาณ 58 และร้อยละ 94.29 ในปีงบประมาณ 59 ซึ่ง “สูงกว่า” ปีงบประมาณ 56 และ 57 โดยการกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณต้องมีการเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งระบบเก่า ระบบใหม่ มีการตรวจสอบตั้งแต่ก่อนเริ่มปีงบประมาณ 60 นี้ และปีต่อไปด้วย

ถ้าเราแบบนี้ได้มันก็จะทำให้เราสามารถเซ็นสัญญาได้เร็วขึ้นอาจจะทำได้ในไตรมาสแรก ไตรมาส2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ตามลำดับ ไม่งั้นมันไปกองอยู่ไตรมาส 4 ทั้งหมด เพราะมันทำไม่ได้ ใช้เวลาในการอะไรกว่าจะผ่านขั้นตอน อีกเยอะแยะไปหมดจาก 1 กลายเป็น 3 กลายเป็น 4 หรือไม่ก็ ผูกพันเป็นปีหน้าใหม่ และอันเก่าก็เข้ามาใหม่อีกแบบนี้ไม่ได้

วิธีที่ดีทีสุดก็คือกิจกรรมที่มันร่วมกันหลายกระทรวงคิดพร้อมๆกัน ประชุมซะพร้อมกันจะทำถนน ถ้ามันเดือดร้อนใครบ้างมหาดไทย ผังเมือง เกี่ยวกับเรื่องของ การลงทุนทางด้านเศรษฐกิจสองข้างทาง หรือแม้แต่การจะหาที่อยู่ให้ประชาชนใหม่ หาที่ประกอบการค้าให้เขาใหม่ รวมความไปถึงรองรับเศรษฐกิจใหม่ด้วย นักลงทุนใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มันต้องคิดซะทีเดียว ไม่งั้นมันจะมาทีละกระทรวง สร้างรถไฟคือสร้างรถไฟ แล้วก็ต้องมาแก้ปัญหาสองข้างทางทำประโยชน์ไม่ได้ต้องไปเคลื่อนย้ายประชาชน อีกทีก็มาขอเร่งว่าจะดูแลเขาอย่างไร ปรากฏว่าประชาชนไปหมดแล้ว แล้วเขาก็ร้องเรียนกันอยู่แบบนั้น เพราะฉะนั้นนี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ท่านคงเข้าใจเราต้องคำนึงถึงผู้ที่มีรายได้น้อยด้วย หรือผู้ที่เดือดร้อนจากการที่แล้วทำแผนพัฒนาประเทศแต่ไม่ทำมันก็ไม่ได้ แต่ถ้าทำแล้วต้องดูแลเขาอันนั้นเป็นหลักการของรัฐบาล

ทั้งนี้เราจะต้องมีการดำเนินการอย่าง “จริงจัง” ให้ทันตามกรอบเวลาเบิกจ่ายให้ได้ สำหรับหน่วยงานที่ไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันตามแผน ในกรอบเวลาตามกฎหมายตามระเบียบได้จะต้อง “ส่งคืน” งบประมาณดังกล่าว มาตั้งไว้ที่ “งบกลาง” ไปทำอย่างอื่น หรือปรับไปให้โครงการอื่นที่สำคัญกว่า ผมจะทำตั้งแต่ปีงบประมาณ 60 คือปีนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อจะจัดสรรให้กับภารกิจที่มีความเร่งด่วนจำเป็นมากกว่าเพื่อจะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ถ้าไม่พร้อมอย่าเสนอขึ้นมา

การปฏิรูปงบประมาณที่ได้กล่าวมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศของรัฐบาลจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ ความจริงใจ จากทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร ตามลำดับชั้นลงมา ประธานบอร์ด บอร์ดกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ต้องร่วมกันดำเนินการและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนปฏิรูป นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาหลักอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นแผนเกี่ยวกับด้านความมั่นคง แผนแก้ปัญหาภาคใต้ ต้องเชื่อมโยงกันให้ประสบความสำเร็จ และแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้อย่างยั่งยืน ประเทศก็จะมีเสถียรภาพ ไม่มีความขัดแย้ง และมีความมั่นคง เสริมสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำที่ว่าทางสังคม รายได้ไม่เท่าเทียมจะเท่ากันไม่ได้หรอกครับ ขยันมากก็ได้มากทุนมากก็ต้องได้มาก

เพราะฉะนั้นเราไม่ใช่ประเทศที่มีการปกครองแบบอื่นนอกจากเสรีประชาธิปไตยภายใต้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพราะฉะนั้นอันนี้เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรเราจะลดความเหลื่อมล้ำให้ได้มากที่สุด พัฒนาศักยภาพคน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทุกด้านให้กับคนให้กับประเทศเพื่อสร้างรายได้ มีการเสริมสร้างการเจริญเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่ดีพอและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราไปทำเกษตรอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำอุตสาหกรรมด้วยแต่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหน่วยงานต่างๆ ก็ต้องจริงจังในการตรวจสอบ ในการอนุมัติ ในการไปติดตามผลประกอบการ การปล่อยน้ำเสีย ปล่อยอากาศเป็นพิษ ผมจะไล่ทั้งหมดในปีนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝนเรื่องการตรวจสอบถ้าบกพร่องขึ้นมาผมก็จะต้องลงโทษ เพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนทำงานให้เต็มที่ในปีที่เราจะส่งผ่านหรือเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากลให้เกิดความยั่งยืนขึ้น

นอกจากนั้นเรื่องสำคัญอีกอันผมได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วให้ จัดทำยุทธศาสตร์ 20 ปี ของตนเองที่ว่าคือเป็นเหมือน “แผนแม่บท” แล้วทำแผน “รายปี” และ “5 ปี” แล้วก็เสนอไว้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีแผนแม่บทเรื่อง รถไฟทั้งประเทศ มันจะเป็นยังไง รถไฟฟ้าทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑลหรือตามเมืองใหญ่มันจะเป็นยังไงรถรางเหล่านี้ วาดภาพ วางแผนไว้ก่อน เสร็จแล้วก็ค่อยๆ ทำไปตามนี้ ทุกคนก็ได้เห็นเมื่อเขาเห็นเขาก็มีอนาคต เขาก็วางแผนชีวิตว่าเขาจะไปลงทุนอะไร เขาจะไปเปลี่ยนอาชีพจากเกษตร ไปขายของ ไปทำนี่โน่นมามั้ย ไปแปรรูป ทั้งคนทำแผนกับคนจะได้ประโยชน์เพราะมันมืดไปหมดมันไม่เห็น

วันนี้ต้องทำทั้งหมดผมสั่งไปแล้วเป้าหมายเดือนหน้าวันที่ 15 ต้องออกแผนแม่บทมาให้ผมทั้งหมด ที่ใช้จ่ายงบประมาณทั้งสิ้นไม่ต้องมาเขียนร่ายยาว มีแผนที่มีระยะเวลาห้วงไหนถึงห้วงไหน ห้วงไหนจะต้องเกิดก่อนห้วงไหนจะต้องเชื่อมต่อที่มันขาดอยู่ปัจจุบันอะไรเร่งด่วนทำก่อนปีนี้ ไม่เกินปีหน้า ที่เหลือก็ไปทำทยอยไปอยู่ในกรอบแผนแม่บท ถ้าไม่มีตัวนี้เราก็ส่งต่อให้รัฐบาลต่อไปทราบไม่ได้ว่าเราทำอะไรไปแล้ว แล้วเขาจะทำต่อหรือไม่ทำต่อก็สุดแล้วแต่เขา ประชาชนเป็นคนเลือกท่านมา รัฐบาลก็จะได้บริหารจัดการภาพรวมได้อย่างเหมาะสมประชาชนก็จะเกิดความเชื่อมั่นทั้งในประเทศและต่างประเทศถ้าเราเห็นทิศทาง อนาคต ร่วมกัน มันก็จะเกิดความมั่นคงในชีวิต ในการครองตน ครองเรือน ในการประกอบอาชีพ ในการลงทุนค้าขายอะไรก็แล้วแต่

สำหรับในเรื่อง การลงทุน ของรัฐวิสาหกิจ และเอกชนหลายฝ่ายก็ออกมาพูดว่าทำไมในเมื่อรัฐบาลสนับสนุนเต็มที่แล้วทำไมเขาไม่มาลงทุนคงเป็นเพราะผมอยู่มั้งผมก็อยากจะกราบเรียนว่ามันหลายอย่างเอาเฉพาะเรื่องที่มันสำคัญก่อนแล้วกัน

1. คือขึ้นอยู่กับสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศ มีเสถียรภาพมั้ย มีความปลอดภัยมั้ย มีความสงบเรียบร้อยมั้ย น่าลงทุนมั้ยกฎระเบียบเราแก้ไขหรือยัง ทันสมัยเป็นสากลหรือเปล่าแรงจูงใจพอมั้ย ถ้าสถานการณ์ภายในสงบเขาก็ไปดูสิว่า เขาจะมาเกิดเครือข่ายธุรกิจของเขาได้อย่างไร ไม่ใช่แค่วันที่เขาลงทุน หรือปีแรก หรือ 5 ปี เขาต้องมีกำหนดเป็น 20 ปีเหมือนกัน เพราะเขาต้องมีการกู้เงินมาลงทุน เขาไม่ได้เอาเงินบริษัทมาลงทุนทีเดียวหรอกก็กู้เงินเป็นโครงการมาแล้วก็ผ่อนชำระไป ส่วนหนึ่งก็เป็นรายได้เข้าบริษัทไปตอบแทนนักลงทุน ผู้ถือหุ้น อะไรก็แล้วแต่ ถ้าเป็นของรัฐมันก็เป็นรายได้กลับมาที่รัฐ เพื่อจะกลับไปสู่ประชาชนในเรื่องของรัฐสวัสดิการนั่นคืออันแรกสถานการณ์และกระบวนการในการพิจารณาการลงทุนของเขา

2.ผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องได้รับ ผมบอกแล้วรัฐบาลไม่ได้มัวเอาผลประโยชน์แต่มันจำเป็นต้องมี เพราะมันต้องไปชดเชยซึ่งกันและกันบางอันเป็นการบริการประชาชนซะเยอะ แล้วก็ขาดทุนบางอันกำไร ก็ต้องเอากำไรมาเคลียร์ให้กับขาดทุนไม่ใช่ก้อนของใครของมัน เพราะฉะนั้นในเรื่องของเอกชนเขามีบอร์ดมีกรรมการ มีผู้ถือหุ้นจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์โน่น ประชาชนเป็นหมื่นเป็นแสนคนเขาถือหุ้นอยู่ เพราะฉะนั้นเขาก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นไปอีกส่วนหนึ่ง แล้วก็ภาษีที่จะส่งให้กับรัฐ ต้องมองให้มันชัดเจนลงไปแบบนี้ ที่เขายังรีรออยู่บ้างก็คือสถานการณ์ในประเทศของเรา เราะว่าผมยืนยันกับเขาแล้วว่าประชาธิปไตยมาแน่ ยังไงก็ต้องเป็นประชาธิปไตยในระยะเวลาที่กำหนด แต่จะเป็นยังไงก็ไปว่ากันเพราะประชาชนเป็นผู้กำหนดนะ

3. อนาคตของการลงทุนระยะยาว ถ้าลงทุนมากๆ ไปแล้วเขาก็ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงว่าลงทุนไปแล้วจะไปขายใคร ถ้าขายไม่ออกสถานการณ์ภายนอกโลกหยุดภายนอกประเทศของเราหรือในประชาคมอื่นๆ เขามีปัญหาการสู้รบบ้าง เศรษฐกิจตกต่ำบ้างเขาก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อเพราะฉะนั้นนี่เป็นสิ่งที่ต้องคิดให้รอบคอบรัฐบาล ยืนยันว่าเราจะให้การสนับสนุนเต็มที่ เท่าที่สามารถกระทำได้โดยไม่เสียประโยชน์ของประเทศ หลายอย่างก็ต้องเพิ่มเติมให้หลายอย่างก็ต้องยืดระยะเวลาให้ เพราะว่ามันต้องแข่งขันไม่งั้นไม่มีใครลงทุนแต่จะลงทุนเมื่อไหร่มันแล้วแต่ภาคธุรกิจเขาแต่ภาครัฐวิสาหกิจก็เช่นกัน การลงทุนก็ต้องให้คุ้มค่าเพื่อสอดคล้องกับงบประมาณที่มีอยู่

เพราะฉะนั้นวันนี้สิ่งที่เราเตรียมไว้วันนี้เราสามารถที่จะผลักดันให้เกิดธุรกิจ Start Up ก็คือ SME ขั้นต้น นี้คือคนเดียวก็ได้จดทะเบียนขึ้นมาแล้วตัวเองก็พัฒนาด้วยสติปัญญาของตัวเอง มีการให้บริการซักผ้า ส่งของ ซื้อของ จ่ายตลาด ดูแลบ้าน อะไรต่างๆ โทรศัพท์กดเข้าไปถ้ามีการบริการก็เรียกเขามา ก็ดูความไว้วางใจดูความปลอดภัยด้วยเรียกใครเขาเข้าในบ้าน เพราะฉะนั้นตรวจสอบซะก่อน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำตรงนี้มาก็จะเกิด SME ของอันขึ้นมา อันแรกของเดิมอันใหม่คือ Start Up ก็เป็น SME แล้วขึ้นไปสู่ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ต่อไปข้างหน้า และทำอย่างไรจะเชื่อมทั้ง 2 ทาง ทั้งข้างบน ตรงกลาง ข้างล่าง มันจะเกิดเป็น 2 เท่า 3 เท่าขึ้นมา มันจะเพิ่มการจ้างงาน เพิ่มการใช้วัตถุดิบในประเทศของเรา ผลิตของเราให้มีราคาสูงขึ้นเพื่อการค้าขายของเรากันเอง คนไทยก็จะได้ใช้ของให้มันถูกลงและอีกส่วนหนึ่งก็ส่งออกไปแข่งขันกับเขาได้ ภายนอกประเทศ เช่น ยาง เช่น ข้าว อะไรต่างๆ เหล่านี้มันต้องสร้างธุรกิจแบบนี้ขึ้นมาใหม่ หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับการใช้สมอง ใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์ในเชิงธุรกิจต่อเนื่องไปด้วย เรียกว่า “ธุรกิจต่อเนื่อง” ไม่ใช่เฉพาะ ทำข้าวได้ข้าว ทำยางได้ยาง ไม่ใช่ ต้องเกิดกระบวนการอีกเยอะแยะไปหมดงานมันก็สร้างมากขึ้น

สำหรับการลงทุนแบบนี้ต้องใช้เวลาใช้งบประมาณจำนวนมากมันอาจจะต้องมีการกู้เงินทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ก็ต้องดูว่าสถานการณ์เรามันดีพอหรือยัง ไม่งั้นแหล่งเงินเขาก็ไม่ให้กู้ถ้าบ้านเมืองยังสับสนวุ่นวาย อลหม่าน ว่ากันไปว่ากันมาอยู่แบบนี้ เราต้องคำนึงถึงส่วนนี้ด้วยสถานการณ์ภายในประเทศจำนวนหนี้ที่รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจต้องรับผิดชอบว่าไปกู้มาแล้วมันคุ้มทุนหรือไม่ ถ้าทุกคนต้องการ นักลงทุนก็มากแต่ไม่มีเงินผ่อนชำระเขาจะทำอย่างไร หนี้สาธารณะมันก็สูงขึ้นบางกลุ่มก็ว่ากล่าวไปมาอาจจะด้วยบริสุทธิ์ใจ แต่ก็ขอให้เข้าใจตามนี้แล้วกัน แต่ใครจะว่าผมก็ได้อยู่แล้วผมก็รับฟังหมดอยู่แล้วแต่ก็ขอบอกว่ามีคนจำนวนมาก มีนักธุรกิจจำนวนมากสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศแต่ธุรกิจก็คือธุรกิจ เพราะเราเองเป็นประเทศที่ทำการค้าแบบเสรี เขาต้องมีกระบวนการและวิธีคิด อย่าคิดเอง คำนึงถึงผลกำไรบ้าง ผลประโยชน์บ้างเพื่อคำนวณความคุ้มค่าบ้าง ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล บุคคล และก็ผู้ถือหุ้นทั้งหมด

เรื่องระบบเศรษฐกิจใหม่ผมพูดมาหลายครั้งแล้ว New S Curve และ S Curve เดิม 5 อย่างเก่า 5 อย่างใหม่ ทำให้พัฒนาให้มากขึ้นไปสู่ความทันสมัยให้มากขึ้น เพราะวันหน้าแรงงานมันอาจจะลดลงมันจะไปเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น มันก็ต้องเปลี่ยนเครื่องจักรไปทำนวัตกรรมใหม่ๆที่มันดึงดูดใจไปแข่งขันกับเขาได้ ไม่ใช่มีแต่ของเดิมๆ มันทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นนี้คือของเก่าพูดง่ายๆ ไอ้ของใหม่ที่ผมพูดเมื่อสักครู่ มี Start Up SME มีขนาดกลาง ขนาดใหญ่ มันต้องสร้างเถ้าแก่ขึ้นมาใหม่อีกแท่งหนึ่ง

เพราะฉะนั้นการจ้างงานมันก็จะเป็น 2 เท่า 3 เท่า หรืออาจจะจ้างงานลดลง แต่เป็นการสร้างธุรกิจเชื่อมโยงทางดิจิทัลทางค้าขายอีคอมเมิสบ้างอะไรบ้าง การเงินการคลังการธนาคารแบบใหม่ เหมือนที่ต่างประเทศเขาทำที่เรียกว่า ฟินเท็ก ลองไปดูก็แล้วกัน เราต้องปรับกฎระบบกฎหมายต่างๆให้เป็นสากลตั้งแต่วันนี้ ก็เพียงแต่ว่าขอความเข้าใจ แน่นอนมันมีอะไรที่ไม่เข้าใจอีกเยอะ เพราะถ้าเราคิดใหม่ทำใหม่มันต้องมีความแตกต่างทางความคิดแต่ผมว่าอดทนนะ แต่อยากให้ทุกคนที่พอจะเข้าใจหรือเข้าใจมากก็ช่วยกันอธิบายหน่อยก็แล้วกัน มันอยู่ที่เดิมไม่ได้อยู่แล้วถ้าทำแบบเดิมก็อยู่ที่เดิม

เราจะต้องสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้รองรับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นมาใหม่ให้ได้มันจะเป็นแรงจูงใจให้เขามาลงทุนอย่างที่ว่าไม่ว่าจะถนน เส้นทาง ทางรถไฟ รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง มันเพื่ออนาคตทั้งสิ้นเราไปรอวันหน้าไม่ได้หรอกครับเราค่อยๆ ทำค่อยๆ ผ่อนชำระไปตามแผนแม่บทที่จำเป็นที่จะต้องออกมาก่อน ถ้าเรามีระบบโลจิสติกขึ้นส่งที่มีความสะดวกรวดเร็วมันก็สะดวกต่อการลงทุน ต้นทุนมันก็ลดลง เขาก็มีกำไรอย่างนี้ก็เป็นแรงจูงใจให้เขามาอีกอย่างหนึ่ง

คนของเราจะต้องเตรียมพร้อมในการจ้างงาน มีความรู้ มีความสามารถ เป็นหัวหน้างานได้ เป็นช่างเทคนิกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะทำแผนแม่บทให้ทั้งหมดอย่างวิศวกรรถไฟ รถไฟฟ้า การเชื่อม ระบบอิเล็กทรอนิก เทคนิเชียล เหล่านี้มันต้องการมากขึ้นแน่นอนและเราก็ต้องไปจ้างคนอื่นมาและก็ลำบากมันต้องพี่งเขาตลอดไป เร่งกันตั้งแต่วันนี้หลายหน่วยงานก็รับไปแล้วก็คิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา วิจัยใหม่ขึ้นมามันจะได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งในทุกระบบในธุรกิจที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ประชาชน เกษตรกร แล้วก็สายการผลิต แปรรูปไปสู่ตลาด รายได้มากขึ้นทั้งหมดนั้นแหละ เราจำเป็นต้องสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ เมื่อมีรายได้มากขึ้น รัฐก็มีรายได้มากขึ้นจากการเก็บภาษีในเวลาที่สมควร การช่วยเหลือดูแลการปฏิบัติงานของรัฐ เงินเดือยของข้าราชการมันก็สูงขึ้นไปทั้งหมด ถ้าไม่มีเงินมันก็ทำอะไรไม่ได้ทั้งหมดจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรื่องใดก็ตามที่หากเราใช้เงินไปในทางช่วยเหลือตลอดเวลาหรือเรียกว่า ซับซิได อะไรที่ว่ามันก็หมดไปก็ไม่เกิดมูลค่า เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนชั่วคราวแต่ยั่งยืนมันไม่เกิดแน่นอน มันต้องทำพร้อมกัน

เราต้องทำทั้งช่วยเหลือไปด้วยแล้วก็ประชาชนต้องแก้ไขตัวเองช่วยเหลือตัวเองอย่าไปสร้างหนี้เพิ่มหรือปรับปรุงเทคนิคหน่อยนึงใช้น้ำให้น้อยลง ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยลงมันก็จะดีขึ้นทั้งหมด ทำ 2 อย่างพร้อมกัน อย่ารอการช่วยเหลืออย่างเดียวเลย เงินอุดหนุนมันมากไปเราก็เดือดร้อน หรือประชานิยมที่ผิดๆอย่างเดียวมันก็เดือดร้อนอีก ปัญหาก็เกิดขึ้นมาแล้ว ระบบการแข่งขันเสียหายเราจะทำอย่างไร ประเทศก็จะล้มเหลวบางประเทศในโลกนี้ก็เกิดขึ้นมาแล้วเห็นอยู่ในข่าวโทรทัศน์

ห้ามต่างประเทศเข้าเคลื่อนไหว ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

สำหรับในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายผมก็อยากจะเรียนว่าไม่ว่าจะเป็น กฎหมายปกติ และกฎหมายพิเศษอะไรก็ตาม อย่ามองว่าเป็นการผมอยากจะบังคับผู้คนหรืออยากจะมีอำนาจในการใช้กฎหมายไปทำร้ายคนหรือไปละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ขอให้ด้านนี้โอเคครับผมก็รับฟังหลักการของโลกหลักการของอะไรก็แล้วแต่ แต่ผมต้องมาปรับให้มันสอดคล้องกับประเทศของเราด้วยวันนี้อยากให้ประชาชนทุกคนคำนึงถึงบ้านเมืองกันด้วยว่าเราอยู่ในสถานการณ์ใด ความขัดแย้งยังมีอยู่หรือไม่ มีผู้มีเจตนาไม่บริสุทธ์อยู่หรือไม่ ขณะเดียวกันมีคนที่หวังดีอยากให้บ้านเมืองสงบสุข อยากให้มีการปฏิรูปอยากให้ผมทำงานมีจำนวนอีกเท่าไร ไม่งั้น 2 พวกนี้ตีกันทั้งคู่ ผมก็ขอบคุณทั้งคู่นะที่สงบสุขกันไปได้เยอะแล้ว อย่าเกิดขึ้นอีกเลย ขอบคุณทั้ง 2 ฝ่ายนะ

รัฐบาลและ คสช. ไม่ต้องการให้เกิดปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้นอีกเราก็จะฟื้นฟูประเทศไม่ได้ ปฏิรูปประเทศไม่ได้เรื่องกรณีหากมีการเคลื่อนไหวของชาวต่างประเทศคนใดในประเทศไทยในการที่จะไปสร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศอื่นๆ เขามันเป็นหลักการของอาเซียนว่าเราจะไม่ให้ดินแดนของประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียนเป็นที่เคลื่อนไหวของการต่อต้านประเทศในประเทศของเราของพวกเราอันนี้คือหลักการสำคัญขอให้เข้าใจ ไม่ใช่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอะไรหรอก หรือกลัวว่าเขาจะมาพูดอะไรให้เสียหายวันนี้มันเสียหายไม่พอหรือไง ประเทศเราก็พอแล้วคนของเราก็พูดกันเพียงพอแล้ว เอาคนอื่นมาพูดอีกแล้วก็ว่าประเทศอื่นเขาไปอีกยิ่งไปกันใหญ่ไอ้ความหน้าเชื่อถือของเราก็หมดไปผมก็ต้องยอมรับความเสี่ยงอันนี้เอง

วันนี้บ้านเมืองสงบสุขก็เพราะว่าทุกคนพอใจยังไง วันนี้เราจะเริ่มขัดแย้งกันอีกแล้วอย่าเลยนะครับแยกกันให้ออก อย่ายึดไปโยงมาประชาชนเขาสับสน ช่วยกันคิดดูหลายๆคดีไม่ว่าจะฝ่ายใดฝ่ายไหนก็ตามทั้งที่เป็นคนไทยทั้งคู่นั้นแหละพอผลตรวจสอบออกมาก็ไม่เชื่อไม่ยอมรับไม่เป็นธรรม แต่พอเวลาพวกเดียวกันคดีที่เห็นชัดว่ามันผิดๆ แล้วมันหลุดทำไมไม่บ่น มันก็สถานเดียวกันนั้นแหละ ให้ความเป็นธรรมกับเขาบ้างเจ้าหน้าที่จะได้สบายใจ ผมยังไม่เคยไปกล่าวหากระบวนการยุติธรรมเลยเพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมก็ต้องว่างตัวให้เหมาะสมเพราะหลายคนก็เป็นข้าราชการด้วยนะ เพราะฉะนั้นกฎหมายของกระบวนการยุติธรรมจะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความเป็นธรรมคำว่าเป็นธรรมไม่ใช่บอกว่าผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมมีอำนาจมากกว่าแล้วผมไม่ผิดมันคงไม่ใช่นะไปตรวจสอบมา อันไหนตรวจสอบได้ก็ตรวจสอบไป พิจารณากันด้วยพยานวัตถุหลักฐาน พยาน วันนี้เราชอบใช้ความรู้สึกมาก่อนใครเขียนก่อนเชื่อก่อน ใครพูดก่อนเชื่อก่อน ไอ้คนที่เขาทำตามมารายละเอียดไม่อ่านแล้วพอแล้วตัดทิ้งไปแล้ว

นี้แหละครับสิ่งดีๆ หายไปมากมาย ทุกคนหลายคนก็ไม่กล้าที่จะทำก็เพียงแต่ว่าชี้แจ้งหน่อยได้ไหมเรื่องนี้มันเป็นอย่างไรมันถูกผิดตรงไหนถ้าไม่พอใจก็ไปเข้ากระบวนการยุติธรรม มันก็แค่นี้แหละมันก็จบทุกเรื่องผมก็ไม่ต้องมาตอบคำถามท่านทุกวันอยู่แล้วให้มันเหน็จเหนื่อยทำไม ไม่อยากให้ประโคมข่าวกันไปกันมาก่อนเข้าหระบวนการยุติธรรม ไม่งั้นมันทำไม่ได้ต้องช่วยกันแก้ไขฟังเหตุฟังผลอย่าขยายความไปเร็วนัก แล้วตัดสินออกมาไม่ยอมรับอีกจะอยู่กันอย่างไรล่ะครับกฎกติกาบ้านเมืองอยู่ตรงไหน หลายอย่างข้าราชการก็มีความผิดของเขาผิดทางวินัยก็มีก็แค่นั้น ผิดวินัยเขาเรียกว่า พากทัณฑ์ จับขัง จำขัง ไล่ออก ปลดออก เขามีตั้งหลายอย่างแต่ละคดีก็มีผิดมากผิดน้อยไม่ใช่เหมาทั้งหมดผิดก็ผิดรวดเลยมันก็ไม่ใช่อีกนะ ผมพุดด้วยข้อกฎหมายไม่ได้แก้ตัวอะไรทั้งสิน เพราะผมก็อยู่ในกระบวนการนี้ด้วย บางอย่างอาจจะไม่เหมาะสมบาง บ้างอย่างอาจจะผิดร้ายแรง บ้างอย่างผิดอาญา ผิดแพ่ง ก็ไปฟ้องกันมาในกระบวนการมันก็บ้านเมืองไม่วุ่นวายก็ขอให้เคารพกฎหมาย

อย่างไรก็ตามผมขอถือโอกาสนี้ขอโทษ สื่อ สังคม ประชาชน กับการแสดงออกของผมที่ไม่เหมาะสมในบางเวลา ต่อไปผมจะพยายามระมัดระวังตัวให้มากที่สุด ให้สื่อมวลชนไปติดตามข่าวเอาเองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่งั้นท่านไม่ฟังคนอื่นเลย ท่านก็มาฟังจากผมพอผมโมโหอารมณ์เสียมันก็กลายเป็นว่าผมมาลงกับท่านอีก ผมบอกให้ท่านไปถามคนอื่นเขาที่เขาเกี่ยวข้องผมก็ตอบแบบหลักการเท่านั้นเอง ผมจะพูดในเชิงนโยบาย ผลงาน ปัญหาของการบริหารราชการแผ่นดิน เพราะผมไม่ได้ทำคนเดียว ทุกคนก็ทำด้วย รักผมก็ต้องรักคนอื่น ถ้าเกลียดผมก็รักคนอื่นเกลียดผมคนเดียวไม่เป็นไร

อีกสิ่งที่ผมอยากกล่าวในวันนี้การเรียนรู้ของประชาชนเพื่ออนาคตของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญหากมีบางคนกลุ่มที่คอยสร้างแต่ความสับสนไร้หลักการมอง “ทุกทางออก มีแต่ปัญหา”จับผิดจับถูก แล้วก็ไม่ช่วยแนะนำไม่เคยหาทางออกให้แก้ปัญหาได้ต้องการเอาชนะ แพ้กันอย่างเดียว รัฐบาลประเทศชาติแพ้ประชาชนตายบาดเจ็บสูญเสีย ยากจนไม่สนใจไม่มองอนาคต ไม่มองให้มันไกล คิดให้ไกลมองให้ไกลแล้วทำให้มันไกลๆ ด้วย อยากมองแต่ส่วนตน มองภาพรวมเหมือนรัฐบาล ที่ผมกำลังมองอยู่วันนี้คือดูแล “ทุกคน – ทุกกลุ่ม” ทั้ง 70 ล้านคนให้มีความสุข มากบ้างน้อยบ้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ต้องทำอย่างไรให้มันสูงขึ้นให้มันเร็วขึ้น รัฐบาลต้องการสร้างความ “ยั่งยืน”ไม่ต้องการดำเนินนโยบายสาธารณะ หรือเป็นคะแนนเสียงที่ทุกคนต้องมารักผมทั้งประเทศคงไม่ใช่แบบนั้นนะ ผมหวังเพียงให้ประเทศชาติมันดีขึ้น ในวันนี้และวันหน้าและวันต่อๆไปจากรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยเต็มรูปแบบไม่อยากสร้างหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือนก็กำลังสำรวจอยู่ว่าจะช่วยเหลืออย่างไรจะบรรเทาหนี้อย่างไรจะยกหนี้ก็คงไม่ได้จะบรรเทากันได้อย่างไรแล้วก็มาดูซิว่าหนี้ที่มีอยู่เป็นหนี้อะไร หนี้ที่เกิดจากความจำเป็นหรือเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว หรือหนี้ที่ไม่มีมูลค่า ซื้อรถ ซื้อบ้าน อะไรเหล่านี้ก็คือหนี้ทั้งนั้นแหละแต่ถ้าเอาตัวเลขมารวมหนี้คือหนี้ครัวเรือน มันดูหนักหนาสาหัสกว่า 70% เมืองนอกเขาเป็นหนี้ครัวเรือนกันตั้ง 90% มั่ง แต่ของเขามีมูลค่าไง ไอ้ของเราไปดูซิมูลค่ามีจริงหรือเปล่า บางที่มันก็ไปซื้อของที่ไม่จำเป็นมาแล้วก็ไปผ่อนชำระเขา นั้นแหละคือที่เรียกว่าหนี้ครัวเรือนที่ไม่มีคุณภาพไม่มีมูลค่าไม่ก่อให้เกิดรายได้มันก็เป็นปัญหาถาวรแล้วก็รัฐบาลเข้ามาช่วยๆ เอาเงินอุดเข้าไปเอาเงินยกหนี้เข้าไปแล้วเงินมันก็ไปหมด อย่างที่ผมพูดไปทั้งหมดมันไม่เกิดทั้งสิ้นเราก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันถ้าเราไม่มีความรู้

สำหรับภาพถนนน้ำขังที่แม่ละมาดจังหวัดตากได้ดำเนินการแก้ไขไปแล้วใช้เวลาซ่อมแซม 3 วัน พอรู้เรื่องก็ซ่อม 3 วันก็เสร็จแล้วขออย่าให้ใช้วิธีการเหล่านี้อีกต่อไปเลยผมรับฟังเสมอผมย้ำไปแล้วว่าศูนย์ดำรังธรรมจะต้องเป็นผู้ที่อย่าให้เรื่องเหล่านี้มันหลุดมาถึงรัฐบาลเป็นเรื่องที่มันแก้ง่ายนิดเดียวกับงบประมาณหลายๆ อย่างมันทำได้อยู่แล้วทำไม่ได้รัฐบาลก็ขอขั้นมามหาดไทยก็พร้อมที่จะให้ใช้งบท้องถิ่นได้งบสะสมได้อะไรได้ แต่ท่านไม่ทำกันชาวบ้านไปร้องเรียนก็เดือดร้อนก็ต้องรับผิดชอบด้วยกันทั้งหมดประเด็น เรื่องนี้ก็ คือเป็นแบบอย่าง

อยากจะให้รู้ว่าถนนทั่วประเทศมี 3 หน่วยงานหลักรับผิดชอบอันแรกคือ กรมทางหลวง รับผิดชอบทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงสัมปทาน (รวมเกือบ 7 หมื่นกิโลเมตร) สำหรับกรมทางหลวงชนบท รับผิดชอบทางหลวงชนบท (รวมเกือบ 5 หมื่นกิโลเมตร) และ ในกรณีที่เกิดขึ้นที่แม่ละมาดเป็น “ทางหลวงท้องถิ่น” ซึ่งมีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดตากดูแล ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่มีงบประมาณเป็นของตนเอง อาจจะพอหรือไม่พอผมไม่ทราบคงมีแต่เห็นอ้างว่าไม่พอ แต่ท่านต้องไปจัดลำดับการใช้จ่ายที่สำคัญของท่านที่มีอยู่แล้วเดิม อะไรมันลำบากก่อน แก้ก่อน ไม่ใช้ไปทำของใหม่ของเก่าก็ยังไม่สมบูรณ์ไปปรับแค่นั้นเองตามความต้องการของท้องถิ่น เรื่องบประมาณเราก็ทำให้ท่านใหม่อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามขอขอบคุณ “องค์การบริหารส่วน จ.ตาก” ผู้ว่าราชการจังหวัดตากและผู้ที่เกี่ยวข้องก็เร่งรัดดำเนินการซ่อมแซ่มโดยทันทีผมก็ได้สั่งการลงไปจริงๆไม่ต้องหน้าจะถึงแค่ข้างล่างก็จบแล้ว ปัญหาก็คือทุกคนไม่กล้าตอบไม่กล้าไปดูแลเพราะมันเกี่ยวกับงบประมาณ ก็ อบจ.นั้นแหละที่ต้องแก้ตั้งแต่ต้น กำนัลผู้ใหญ่บ้าน แล้วก็ไปขอผู้ว่า ขอนายอำเภอไม่พอก็ขอมาถึงรัฐบาลถึงผมถึงรัฐมนตรีก็จบ

เรื่องการเป็นหูเป็นตาของประชาชน ผมขอบคุณนะครับที่ทุกคนติดตามการทำงานของรัฐบาลอะไรที่มันถูกที่มันผิด แต่ก็ขอให้ตรวจสอบด้วยนะครับว่ามันมีข้อมูลจริงๆหรือไม่ ไม่งั้นมันจะป้ายกันไปป้ายกันมาทั้งๆที่มันเป็นเรื่องของหลักการเรื่องของเหตุผล เรื่องของระเบียบข้อบังคับต่างๆ มันใช้ความรู้สึกมากไม่ได้หรอกผมขอให้ทุกคนได้เข้ากลไกการร้องเรียน ไม่ว่าจะเป็น “ศูนย์ดำรงธรรม” ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม เราก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างยิ่งให้ทุกคนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว ไปดูว่าจะคุยกับใครแจ้งกับใครที่ไหนไม่ใช่ว่าไปพูดลอยๆแล้วเขาไม่มาทำสักที แล้วก็ออกสื่อมันก็บานปลายไปทั้งหมด แต่ผมยินดีรับฟังแก้ไข

สุดท้ายนี้ หลายคนบอกว่ามีทั้งอยากให้ผมท้อแท้ กับบางคนก็ไม่อยากให้ผมท้อแท้ ผมไม่เคยคิดท้อแท้หรือยอมแพ้อะไรทั้งสิ้น โดยอย่างยิ่งอุปสรรคต่างๆในการทำงาน ไม่ใช่แพ้คนชนะคนไม่ใช่ ไม่ยอมแพ้อุปสรรคเพราะชีวิตผมมาอย่างนั้น วันนี้ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจตรงกันกับผมว่าเราอยู่กันตรงไหน เรากำลังทำอะไรอยู่และเรากำลังทำอะไรเพื่อวันข้างหน้าทุกคนจะได้ประโยชน์อะไรวันนี้อย่างไร วันหน้าอย่างไร ประเทศชาติจะมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้อย่างไร

นอกจากนี้สิ่งที่รัฐบาลและ คสช.ทำทั้งเขียนกฎระเบียบ คำสั่ง ที่ผ่านมา ทั้งพิเศษหรือไม่พิเศษก็ตามเป็นเพียงมาตรการ “ชั่วคราว” เท่านั้นเพื่อไม่ให้ประเทศไทย ตกอยู่ในที่เรียกว่า “ทศวรรษที่หายไป ว่างเปล่า” เหมือนประเทศไทยที่ไม่มีตัวตน 10 ปีที่ผ่านมา เพราะมันทะเลาะและขัดแย้งมากมาย การพัฒนาเดินหน้าไม่ได้แก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลย นั้นเขาเรียกว่า ทศวรรษที่หายไป ไร้ค่า เกิดจากการพัฒนาอ่อนแอ ขัดแย้ง ผมก็ไม่ยอมที่จะให้ทุกอย่างกลับไปเป็นอย่างเดิม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมทำคนเดียวไม่ได้ขึ้นอยู่กับประชาชนว่าจะร่วมทำกับผมไหม ถ้าไม่ร่วมทำกับผมก็รอรัฐบาลหน้าก็รอรัฐบาลต่อไปก็แล้วกัน ผมบังคับท่านไม่ได้อยู่แล้ว ผมไม่อยากให้ทุกอย่างมันกลับมาทำร้ายประเทศไทยอีกต่อไป

สำหรับอาทิตย์นี้จะมีการประชุมเรื่อง ACD วันที่ 8-11 ต.ค.2559 โดยไทยเป็นผู้นำการประชุมครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการประชุมที่สำคัญในระดับเอเชีย โดยกลุ่มประเทศ ACD ทั้ง 34 ประเทศเราจะหาศักยภาพกันให้เจอแล้วก็ขับเคลื่อนไปสู่ประชาคมอื่นๆด้วย แล้วก็พัฒนาตัวเราเองด้วยในทุกมิติ เราจะไม่หารือกันในเรื่องความขัดแย้ง หารือกันในเรื่องความร่วมมือเท่านั้น

ขอให้ทุกคนเข้าใจระมัดระวังการเดินทางในเส้นทางดังกล่าวด้วย เพราะว่าจะต้องมาการรักษาความปลอดภัย ให้เกียรติมาประชุมร่วมกับประเทศไทย ให้เป็นเจ้าบ้านที่ดี ทำบ้านเรือนให้สะอาดทำถนนให้ไม่รกรุงรังแล้วก็ดูแลความปลอดภัยให้ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศที่มาอยู่ในประเทศไทยจำนวนมากในขณะนั้นด้วย ขอร้องอย่าทำร้ายประเทศชาติอีกเลยสำหรับคนไม่ดีที่คิดจะทำ

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง