ข่าวดี “นกกระเรียน” คืนถิ่นออกลูกเพิ่ม 1 ตัว

สิ่งแวดล้อม
8 ธ.ค. 59
14:19
2,345
Logo Thai PBS
ข่าวดี “นกกระเรียน” คืนถิ่นออกลูกเพิ่ม 1 ตัว
องค์การสวนสัตว์ เผยข่าวดี นกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่เคยปล่อยคืนธรรมชาติออกลูกเพิ่ม 1 ตัว อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก จ.บุรีรัมย์ คาดปีหน้าปล่อยอีก 12 ตัว พร้อมปรับเลื่อนบัญชีใหม่

วันนี้ (8ธ.ค.2559) นายสุเมธ กมลนรนาถ ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิต ในฐานะรักษาการรองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ กล่าวว่า หลังจากองค์การสวนสัตว์ได้ปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ จำนวน 72 ตัวตั้งแต่ปี 2554 – 2559 ขณะนี้ เหลือรอดชีวิต 42 ตัว และมีลูกนกเกิดใหม่ในธรรมชาติ 1 ตัว ที่มีชีวิตอยู่รอด ในพื้นที่ชุ่มน้ำ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

นกกระเรียนพันธุ์ไทยเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 16 ชนิด ที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของไทย
ถือเป็นนกบินได้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ และนาข้าวที่อุดมสม บูรณ์  เมื่อองค์การสวนสัตว์ฯ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกันทำโครงการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ จากการเพาะเลี้ยง ขณะนี้ทำให้มีประชากรนกกระเรียนพันธุ์ไทยเพิ่มขึ้นในธรรมชาติ โดยคาดว่าต้นปี 2560 น่าจะปล่อยเพิ่มอีก 12 ตัว เพราะโครงการนี้ช่วยให้นกกระเรียนพันธุ์ไทยมีโอกาสกลับมาอาศัยและทำรังวางไข่ในธรรมชาติอีก

 

 

นายสุเมธ บอกอีกว่า จากการเพิ่มของประชากรนกกระเรียนพันธุ์ไทยในธรรมชาติ ทำให้สถานะของนกกระเรียนพันธุ์ไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอยู่ในสถานะสูญพันธุ์จากธรรมชาติของประ ไทย เป็นอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ(ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ) คาดว่า จะเสนอให้สำนัก งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)พิจารณาปรับสถานะต่อไป

นอกจากนี้ นายเสริมยศ สมมั่น รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า องค์การสวนสัตว์ ได้รับซื้อข้าวจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านสวายสอ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเกษตรกรได้ร่วมอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย ปลูกข้าวอินทรีย์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทำให้นกกระเรียนยังมีชีวิตรอด และดำรงชีวิตอยู่ในถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของระบบนิเวศได้ โดยนำร่องรับซื้อข้าว 30 ตัน หรือ 30,000 กิโลกรัม เพื่อใช้เป็นของขวัญของฝากในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ถือเป็นการช่วยสร้างรายได้ ให้กับชุมชน และสนับสนุนชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง