วิเคราะห์"จุดปิดตาย"ระบายน้ำท่วมลุ่มปากพนัง

ภัยพิบัติ
11 ม.ค. 60
08:03
463
Logo Thai PBS
วิเคราะห์"จุดปิดตาย"ระบายน้ำท่วมลุ่มปากพนัง
พบอุปสรรคการระบายน้ำท่วม เมืองนครศรีธรรมราช ปัจจัยทางภูมิศาสตร์เทือกเขาบรรทัดขวาง เจอน้ำค้างทุ่งสะสม ฝนตกมาเติมในพื้นที่

น้ำท่วมจังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ เป็นระลอกที่ 2 ในรอบ 2 เดือน ผู้ประสบภัยต่างบอกว่า หนักที่สุดในรอบ 50 ปี

เหตุผลเป็นเช่นนี้ ถ้ามาดูปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ก็จะเข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้จากการวิเคราะห์อุปสรรคของการระบายน้ำ จากแผนที่ จะเห็นว่า ด้านซ้ายมือ คือเทือกเขาบรรทัด ถัดมาทางขวา นั่นคือลุ่มน้ำปากพนัง ครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอของ จ.นครศรีธรรมราช

ซึ่งปกติน้ำจะหลากจากเทือกเขาลงทะเล แต่พื้นที่นี้ น้ำจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะไหลขึ้นไปทางทิศเหนือ ในลุ่มน้ำปากพนังนี้ยังมีคลองสาขากว่า 2,000 สาย ดังนั้น เมื่อฝนตกที่เทือกเขาบรรทัด ฝนจะไหลลงสู่อ.ร่อนพิบูลย์ และจุฬาภรณ์ ไหลย้อนขึ้นไปทางอ.เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่หัวไทร และปากพนัง

มีคำถามว่าในเดือนธ.ค.2559 มีฝนตก ทำให้มีน้ำค้างทุ่งในพื้นที่อยู่แล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่มีฝนตกบริเวณเทือกเขาบรรทัด จึงหลากลงสู่อำเภอต่างๆ สมทบกับน้ำค้างทุ่งเดิม และยังมีฝนตกลงมาเติมทุกจุด

ส่วนการแก้ปัญหา มีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยระบายน้ำ ทั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ บริเวณประตูระบายน้ำต่างๆ รวมกว่า 100 เครื่อง นอกจากนี้กองทัพเรือติดตั้งเรือผลักดันน้ำ 2 จุดคือสะพานปากคลองฉุกเฉิน 20 ลำ สะพานคลองชะอวด-แพรกเมือง อีก 30 ลำ และวันนี้  จะติดตั้งเพิ่มอีก 20 ลำ ที่สะพานคลองหน้าโกฏิ รวมทั้งหมด 70 ลำ

ทั้งนี้มีการประเมินว่าปริมาณน้ำที่ท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ที่รอการระบายลงทะเลนั้น มีมากกว่า 800 ล้านลูกบาศก์เมตร 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง