สพฉ.แจง 1669 ไม่เฉื่อย-เหตุอดีตนักบอลเสียชีวิต

สังคม
23 ก.พ. 60
11:08
523
Logo Thai PBS
สพฉ.แจง 1669 ไม่เฉื่อย-เหตุอดีตนักบอลเสียชีวิต
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน-โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของนายบุญธรรม บูรณธรรมานันท์ อดีตกองหลังทีมชาติไทย เตรียมหาจุดอ่อนระบบฉุกเฉิน หลังถูกถล่มในโซเชียลว่าเข้าถึงผู้ป่วยล่าช้า

ความคืบหน้ากรณีการเสียชีวิตของนายบุญธรรม บูรณธรรมานันท์ อดีตกองหลังทีมชาติไทย มีอาการวูบ ขณะที่กำลังฝึกซ้อมฟุตบอลอยู่ที่สนามกีฬาภายในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอาคารสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. ที่ดูแลระบบสายด่วน 1669 ทำ ให้มีการวิจารณ์ถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการช่วยเหลือผู้ป่วยในสื่อออนไลน์อย่างมากที่เข้าถึงตัวผู้ป่วยล่าช้า ทั้งๆที่เกิดเหตุภายในพื้นที่กระทรวงสาธารณสุข


วันนี้ (23 ก.พ.2560) นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินหรือ สพฉ. กล่าวว่า จากการตรวจสอบ พบว่าสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติมีการบันทึกเวลาไว้ชัดเจน ซึ่งศูนย์สั่งการได้รับแจ้ง ในเวลา 17.23 น. และแจ้งไปยังโรงพยาบาลบำราศนราดูร รถฉุกเฉินออกจากโรงพยาบาล 17.27 น. ถึงจุดเกิดเหตุในเวลา 17.30 น. ซึ่งคาดว่ารถน่าจะสวนทางกับรถเพื่อนผู้ป่วยที่นำส่งโรงพยาบาล ซึ่งต้องหาสาเหตุเพิ่มเติมว่ามีความผิดพลาดอย่างไร

ส่วนนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลเบื้องต้นกรณีเพื่อนผู้เสียชีวิตขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สถาบันการแพย์ฉุก เฉินแห่งชาติ ผ่านทางสายด่วน 1669 โดยเจ้าหน้าที่ได้รับสายและได้ประสานไปยังสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งส่งรถฉุกเฉินมาช่วยเหลือแต่ไม่พบผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยถูกนำตัวส่งโรงพยา บาลแล้ว ซึ่งข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ครั้งนี้ จะนำไปวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงาน และข้อจำกัด เพื่อนำมาปรับปรุงระบบการแพทย์ฉุกเฉินต่อไป

 


สำหรับนายบุญธรรม เป็นกองหลังทีมชาติไทยชุดบี ที่ได้รองชนะเลิสฟุตบอลเพรสซิเดนท์คัพปี 2524 ที่บังคลาเทศ รุ่นเดียวกับวิลาส น้อมเจริญ และ สมชาย ทรัพย์เพิ่ม

ทั้งนี้มีข้อมูลจาก สพฉ.ว่า ในปี 2559 ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มากถึง 495 คน และ พบผู้ป่วยจากภาวะเจ็บแน่นทรวงอก หรือ มีปัญหาด้านหัวใจอีกกว่า 12,304 คน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก โดยในต่างประเทศ การรับมือนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่กู้ชีพแล้ว ก็คือ การที่ประชาชนสามารถใช้เครื่่องเออีดี ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยสลับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน หรือ ซีพีอาร์ ก่อนที่ทีมแพทย์จะเดินทางเข้าไปช่วยเหลือซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต


กรณีการเสียชีวิตของนายบุฯธรรม ทำให้มีการวิจารณ์ถึงระบบสายด่วน 1669 ในโลกโซเชียล เพราะวเหตุที่เกิดขึ้นใกล้กับอาคารของ สพฉ. ที่มีเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ เออีดี แต่ไม่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่อาคารให้นำออกมาใช้ ทั้งๆที่ผ่านมา สพฉ. ได้มีการผลักดันติดตั้งเครื่องเออีดี ในพื้นที่สาธารณะมาโดยตลอด 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง