ยอมรับรพ.เอกชน-ชาวบ้าน สับสนหลักเกณฑ์และสิทธิผู้ป่วย "ยูเซป"

สังคม
4 เม.ย. 60
11:18
725
Logo Thai PBS
 ยอมรับรพ.เอกชน-ชาวบ้าน สับสนหลักเกณฑ์และสิทธิผู้ป่วย "ยูเซป"
3 วันโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือ ยูเซป มีผู้เข้าเกณฑ์เพียง 29 คน รัฐมนตรีสธ.ยอมรับโรงพยาบาลเอกชนยังสับสนหลักเกณฑ์ รวมทั้งประชาชนยังไม่เข้าใจสิทธิและเงื่อนไข

หลังจากตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับย้ายผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินหลัง 72 ชั่วโมง หรือนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือ UCEP มีผลใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้สิทธิประชาชนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ภายใน 72 ชั่วโมง หรือพ้นวิกฤตโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน หลังผ่านมาเพียง 3 วันพบว่า ประชาชนยังไม่เข้าใจสิทธิและเงื่อนไขจำนวนมาก โดยเฉพาะการประเมินผู้ป่วยวิกฤตสีแดง 

วานนี้(3เม.ย.2560) ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า โครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือ ยูเซป เริ่มใช้วันแรก วันที่ 1  เม.ย.นี้ หลังมีผลใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 3 วันที่ผ่านมา แต่พบว่าประชาชนยังไม่เข้าใจสิทธิและเงื่อนไขและกังวลในหลายประเด็นโดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยภายใน 72 ชั่วโมง ถ้าหากผู้ป่วยยังวิกฤตไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้จะมีการช่วยเหลืออย่างไรหากยังไม่พ้นวิกฤต

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ทุกครั้งที่มีปัญหาบอก 24 ชั่วโมงต้องย้าย คงไม่ใช่ แต่ 72 ชั่วโมงเราประเมินอาการ สพฉ.จะลงไปเป็นตัวที่บอกว่ายังย้ายไม่ได้ และสพฉ.สำนักงานเป็นผู้ชี้ขาดว่า วิกฤตสีแดงหรือไม่ 

ทั้งนี้ พบว่ามีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้าระบบแล้ว 73 คน เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินเพียง 29 คนเท่านั้น ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนยังมีการสับสนหลักเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยวิกฤตสีแดง ปัญหานี้ทำให้กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดให้สพฉ.ทำหน้าที่ชี้ขาดว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์รักษาหรือไม่

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขมี 3 กองทุนสุขภาพ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม สวัสดิการรักษาข้าราชการพยาบาล และโรงพยาบาลเอกชน ประชุมหารือร่วมกันอีกครั้ง เพื่อ ประเมินผลนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต 

นโยบาย UCEP คือ นโยบาลของรัฐบาลที่คุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ที่ไม่ได้ขึ้นกับทั้ง 3 กองทุน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมง หรือพ้นวิกฤต โดยประชาชนที่จะได้รับสิทธิรักษา จะต้องมีอาการเข้าข่าย 6 อาการ คือ หมดสิติ ไม่รู้สึกตัว ซึมลงเหงื่อแตก เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน แขนขาอ่อนแรงครึ่งฉีก พูดูไม่ชัด ชักไม่หยุด และมีการอื่นร่วมด้วยที่มีผลต่อการกายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

ส่วนขั้นตอนจากนั้นผู้ป่วย หรือญาติ แจ้งใช้ิสทธิ UCEP โรงพยาบาลเอกชนประเมินภาวะ ฉุกเฉิน และแจ้งผลประเมินให้ผู้ป่วยทราบ ถ้าเข้าเกณฑ์จะได้รักษาตามสิทธิ แต่ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ หากต้องการรักษาผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

 ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์รับส่งกลับโรงพยาบาลราชวิถีโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกจังหวัด รับผิดชอบย้ายผู้ป่วยสิทธิข้าราชการจากโรงพยาบาลเอกชนหลังครบ 72 ชั่วโมง พร้อมกำหนดแนวทางรับย้าย ตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ โดยในกทม.มีโรงพยาบาลเข้าร่วมรับย้าย 28 แห่งในกทม.และปริมณฑลอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง