คพ.จ่อขึ้นทะเบียนกิจการคัดแยก “ขยะไฮเทค” ตกค้าง 3 แสนตันต่อปี

สิ่งแวดล้อม
29 เม.ย. 60
14:36
768
Logo Thai PBS
คพ.จ่อขึ้นทะเบียนกิจการคัดแยก “ขยะไฮเทค” ตกค้าง 3 แสนตันต่อปี
กรมควบคุมมลพิษ เตรียมขึ้นทะเบียนกิจการคัดแยกขยะอิเล็กทรอกนิกส์ ทั่วประเทศ หลังกม.ใหม่มีผลบังคับใช้อีก 1 ปี ล้อมคอกมลพิษ หลังพบจ.กาฬสินธ์ุ-บุรีรัมย์ คัดแยกระดับครัวเรือนผิดกฎหมาย ชี้ไทยผลิตขยะไฮเทค 3 แสนตันต่อปี

วันนี้ (29 เม.ย.2560) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือคพ. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทางเว็บไซต์โดยหลังจาก รับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์แล้วเสร็จ จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยเนื้อหาในกฎหมายฉบับนี้ คพ.จะไม่มีการปรับแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติม แต่ต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชนในวงกว้าง ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บัญญัติให้รับฟังความเห็น ก่อนประกาศกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า หากมีการประกาศบังคับใช้กฎหมาย ผู้ประกอบการรายใหญ่และประชาชนที่ทำการคัดแยกขยะ อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกหลักวิชา การ โดยคพ. จะออกประกาศแนบท้ายเป็นกฎกระทรวง หลังออกพระราชบัญญัติแล้ว ผู้ที่มีอา ชีพคัดแยกขยะหรือผู้ประกอบการรายย่อยถึงรายใหญ่จะต้องมาขึ้นทะเบียน เพื่อบังคับให้ดำ เนินกิจการตามหลักการที่อย่างถูกหลักวิชาการ ไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

คุมเข้มกาฬสินธุ์-บุรีรัมย์พบคัดแยกในครัวเรือน 

 

นอกจากนี้ในกฎหมายยังบังคับให้ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ต้องเป็นผู้รับผิดชอบกำจัดซากผลิตภัณฑ์ของตัวเองด้วย โดยผู้ผลิตต้องจัดตั้งศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์เองด้วย หรือจัดตั้งร่วมกับ ผู้ประกอบการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องขึ้นทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการคพ. ประกาศเท่านั้น โดยมีการกำหนดโทษทั้งจำ ทั้งปรับไม่มีการละเว้นหากมีผู้ที่ฝ่าฝืนตามกฏหมายฉบับนี้

" ตามกฏหมายฉบับนี้ จะครอบคลุมถือว่าผู้ประกอบการทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ที่มีการคัดแยกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผ่านมาไทยเราไม่มีกฎหมายเอาผิด จะมีก็แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารอันตรายเท่านั้น หากกฎหมายฉบับนี้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีเวลาอีก 1 ปีให้ผู้ประกอบการรายย่อยๆที่มีอยู่ทั่วประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจ.กาฬสินธุ์ และบุรีรัมย์ ที่มีผู้คัดแยกขยะกว่า 800 ครัวเรือน ต้องเข้าสู่ระบบ โดยขึ้นทะเบียนและ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กำหนด" นายจตุพรกล่าว

หารือเอกชน- กสทช.ล้อมคอกขยะมือถือ

 

นอกจากนี้ ระหว่างที่รอขั้นตอนทางกฎหมาย คพ.ได้ขอความร่วมมือและทำข้อตกลงกับบริ ษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ กำหนดรองรับการรับคืนซากมือถือ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลใหม่และเชิญคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เข้ามาหารือถึงแนวทางให้ผู้ที่มาขอใช้คลื่นความถี่ต่างๆ ต้องมีแผนความรับผิดชอบในการจัดการ ซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทั้งระบบด้วย


ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นใหม่ 606,319 ตันต่อปี แบ่งเป็นขยะเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 393,070 ตันต่อปี ขยะอันตรายชนิดอื่นๆ อีก 213,249 ตันต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าซากโทรทัศน์มีสัดส่วนมากที่สุดในบรรดาซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 108,781 ตันต่อปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง