ประธานสนช.เชื่อข้อขัดแย้งกฎหมายลูก หาข้อสรุปได้

การเมือง
20 พ.ค. 60
12:01
159
Logo Thai PBS
ประธานสนช.เชื่อข้อขัดแย้งกฎหมายลูก หาข้อสรุปได้
ประธาน สนช.ประธานสภานิติบัญญัติเชื่อว่า หากเกิดข้อขัดแย้งเห็นต่างในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรมนูญ จะมีกระบวนการที่ได้ข้อยุติ ทั้งการตั้งคณะกรรมการรร่วม หรือ ที่ประชุมใหญ่ สนช.

วันนี้ (20 พ.ค.2560) ก่อนการสัมมนานอกสถานที่ จ.จันทบุรี ต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระบุว่า ในการประชุมวันนี้จะเป็นการหารือรับฟังความเห็นจากสมาชิก ซึ่งร่างกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับยังมีบางประเด็นที่กรรมาธิการยังไม่ได้ข้อยุติ หากมีประเด็นที่ยังกรรมาธิยังไม่ได้ข้อยุติและยังเห็นขัดแย้งด้วยเหตุผลสำคัญของทั้ง 2 ฝ่าย ท้ายที่สุดจะมีกระบวนการยุติข้อขัดแย้งทั้งโดยที่ประชุมใหญ่ สนช. หรือ การตั้งคณะกรรมาธิการร่วม

ในการประชุมชั้นกรรมาธิการยังมีหลายประเด็นที่ยังถูกแขวนไว้ นายพรเพชร พิชิตชลชัย ประธาน สนช.ยืนยันว่า จะพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญด้วยหลักผลประโยชน์ของประชาชน ประเทศชาติและให้เป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับหลักการของรัฐธรรมนูญและการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้ยึดถือว่าเป็นกฎหมายฝ่ายใด เช่น กฎหมายเลือกตั้งพิจารณาให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิยุติธรรม เกิดประสิทธิภาพ

ตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 267 วรรค 5 กำหนดไว้ว่า ให้นำร่างกฎหมายลูกที่พิจารณาแล้วส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องว่าตรงตามพิจารณาว่าตรงตามเจตนารมณ์หรือไม่ หากเห็นว่าไม่ตรงให้แจ้งประธาน สนช.เพื่อตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมา 11 คน นายพรเพชรระบุว่า มีความเข้าใจว่าในเจตนารมณ์ของบทเฉพาะกาลให้เร่งรัดการออกกฎหมายลูกให้ทันโรดแมป ซึ่งไม่มีขั้นตอนที่กำหนดให้ส่งกฎหมายไปยังศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่ทั้งนี้ไม่ได้ปิดกั้น พร้อมขอว่าอย่างมองว่าเป็นปัญหา หากเกิดกรณีการแก้ไขร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะพิจารณากฎหมายให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ

หากไม่ได้ข้อยุติและมีแนวโน้มนำไปสู่การตั้งคณะกรรมการร่วม นายพรเพชร ระบุว่า ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ไม่ใช่สิ่งไม่ได้น่ากลัว ขออย่างมองว่าเป็นความขัดแย้ง พร้อมย้ำว่าจะไม่มีการยืดเวลาในการยกร่างกฎหมาย จะเป็นตามกรอบเวลา 240 วัน หากเกิดกรณีตั้งกรรมการร่วมฯ โดยปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกรณีความเห็นต่างเรื่องการจัดการเลือกตั้งภายใน 150 วัน ตามมาตรา 268 ของรัฐธรรมนูญปี. 2560 แต่ระบุว่า หากมีความเห็นแย้งก็จะมีกระบวนการดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติ

ส่วนการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ คตง. ประธาน สนช.ระบุว่า สนช.เป็นหนึ่งในการรมการสรรหาให้ความเห็นชอบ แต่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการสรรหา โดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการในการดำเนินการสรรหาคณะกรรมการองค์การอิสระตามที่รัฐธรรมนูยกไหนดไว้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง