ทช.เร่งรักษา "โลมาลายแถบ" เกยตื้นหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต

Logo Thai PBS
ทช.เร่งรักษา "โลมาลายแถบ" เกยตื้นหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
สัตวแพทย์ ศูนย์วิจัยอันดามันของ ทช. ต้องดูแลโลมาลายแถบ สัตว์ทะเลหายากที่เกยตื้นหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต อย่างใกล้ชิด โดยยังต้องใช้เสื้อชูชีพโลมาในการประคองตัวไว้ เพราะสภาพอ่อนแรง ไม่สามารถว่ายน้ำและทรงตัวได้ พบบาดแผลที่หางและรอยขีดข่วนตามลำตัว

วานนี้(6 ก.ค.2560) นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพ ยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือ ทช. กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากเครือข่ายในพื้นที่ว่าพบโลมาลายแถบเกยตื้น จากการตรวจสอบเบื้อต้นพบว่าโลมาตัวดังกล่าวเป็นเพศผู้ โตเต็มวัย ความยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนัก 87 กิโลกรัม และคาดว่าเป็นโลมาตัวเดียวกับที่เกยตื้นเมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา

 

 

โดยโลมาตัวนี้มีสภาพอ่อนแรงแต่ยังมีการตอบสนอง ไม่สามารถว่ายน้ำและทรงตัวได้ มีบาดแผลที่บริเวณหาง มีลักษณะเป็นแผลเปิดกว้าง มีเนื้อตายปกคลุม มีแผลขีดข่วนตามลำตัวและครีบหลัง คาดว่าเกิดจากการเกยตื้น ส่วนอัตราการหายใจในขณะเกยตื้นเฉลี่ย 7 ครั้งต่อนาทีและอัตราการเต้นของหัวใจในขณะเกยตื้น เฉลี่ย 89 ครั้งต่อนาที

 

 

นายก้องเกียรติ ขณะนี้โลมาถูก เพื่อนำกลับมาพักฟื้นไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน สัตวแพทย์ให้ยากันชัก ออกฤทธิ์เป็นยาซึมอย่างอ่อนและยากันช็อก รวมถึงให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือด แต่เนื่องจากโลมาตัวนีมีสภาพอ่อนแรง จึงต้องใช้เสื้อชูชีพโลมาในการประคองตัวไว้ ซึ่งอัตราการหายใจในขณะพักฟื้นอยู่ที่ 1 - 5 ครั้งต่อนาที และมีอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพักฟื้น 70 - 100 ครั้งต่อนาที หลังจากนี้เจ้าหน้าที่จะได้เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป 

สำหรับโลมาลายแถบ เป็นสัตว์ทะเลหายาก และอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2535  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง