ข้อเสนอแนวทางการพัฒนา หลังลงทุนรถไฟความเร็วสูง

เศรษฐกิจ
23 ก.ค. 60
18:56
3,025
Logo Thai PBS
 ข้อเสนอแนวทางการพัฒนา หลังลงทุนรถไฟความเร็วสูง
รถไฟความเร็วสูง เส้นทางแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา ท่ามกลางความหวัง จะนำพาประเทศ ไปสู่สถานะศูนย์กลางระบบรางในภูมิภาค ขณะที่บางฝ่ายวิเคราะห์ว่า การลงทุนอาจไม่ตอบโจทย์ประเทศ และยังมีการเสนอว่า รัฐต้องไม่ลืมการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับการลงทุนรถไฟความเร็วสูง

กว่า 20 ปี ที่จีนใช้เวลาในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง โดยเรียนรู้ข้อดี - เสียจากต่างประเทศ เริ่มจากยุค 1990 ที่เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ จนกระทั่งปี 2011 จีนสามารถปรับใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศมาพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้เอง ปัจจุบันจีนมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงยาวที่สุดในโลก ประมาณ 24,000 กิโลเมตร และมีแผนจะเพิ่มเส้นทางอีกไม่ต่ำกว่า 15,000 กิโลเมต โดยในอีก 8 ปีข้างหน้าจะมีความยาวถึง 38,000 กิโลเมตร

เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีนถือว่าไม่น้อยหน้าชาติใดในตลาดโลกแต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อย ที่มองว่า การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยครั้งนี้เสี่ยงที่จะเผชิญปัญหาขาดทุน แต่ถ้าหลังจากนี้ไทยสามารถตั้งโจทย์ที่ชัดเจนให้กับประเทศได้ ก็จะช่วยลดแนวคิดที่ขัดแย้งได้ การออกแบบนโยบายด้านการขนส่งภายในประเทศ เป็นอีกความท้าทายของไทย เพราะระบบขนส่งในประเทศ ซ้ำซ้อนกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะทำให้สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

สอดคล้องกับ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า การลงทุนต้องไม่ใช่ระบบรถไฟความเร็วสูงเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพัฒนาเมืองควบคู่ไปด้วย เช่น การสร้างเมืองใหม่ เมืองอุตสาหกรรมเมืองอัจฉริยะ เพื่อให้คนไปอยู่หนาแน่น และมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงมากขึ้น เหมือนกับญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง