"ลำไย-ตะมุตะมิ-โดนเท"คำศัพท์ยอดฮิตวัยรุ่นปี 60

สังคม
26 ก.ค. 60
11:01
8,233
Logo Thai PBS
"ลำไย-ตะมุตะมิ-โดนเท"คำศัพท์ยอดฮิตวัยรุ่นปี 60
กระทรวงวัฒนธรรม เผยผลโพล “วันภาษาไทย” ประชาชนร้อยละ 65 ทราบ 29 ก.ค.วันภาษาไทยแห่งชาติ เผย “ลำไย-ตะมุตะมิ-นก-โดนเท-จุงเบย-สายเปย์” คำศัพท์ฮิตวัยรุ่นยุคปี 60

วันนี้(26 ก.ค.2560) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม บอกว่า กระทรวงวัฒนธรรม  ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็น เยาวชนและประชาชน ในหัวข้อ “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จากกลุ่มตัวอย่าง 3,306 คน ทั่วประเทศ

ผลสำรวจพบว่า เด็ก เยาวชน และประชาชน ร้อยละ 65.43 ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 ก.ค.ของทุกปี และ ร้อยละ 57 ทราบวัตถุประสงค์ของการจัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ในวันที่ 29 ก.ค. เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช ซึ่งพระองค์ทรงร่วมอภิปรายปัญหาการใช้ภาษาไทยในการประชุมวิ ชาการของการชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 29 ก.ค. 2505

รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม บอกอีกว่า ในสำรวจครั้งนี้ได้สอบถาม เด็ก เยาวชนและประชาชนเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ วัยรุ่นกำลังนิยมใช้ในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 39 ตอบว่า “ลำไย” หมายถึง รำคาญ รองลงมา ร้อยละ 36 “ตะมุตะมิ” น่ารักน่าเอ็นดู ร้อยละ 36 ระบุว่า “นก” หมายถึง อ่อยเขาแต่เขาไม่เอา ร้อยละ 34.67 คำว่า “จุงเบย” น่ารักแสดงความแอ๊บแบ๊วร้อยละ 34 บอกว่า “เท/โดนเท” หมายถึง โดนทิ้ง ร้อยละ 33  “อิอิ” คือ เสียงหัวเราะ ร้อยละ 30 “เปย์/ สายเปย์” หมายถึง ชอบจ่ายให้ ร้อยละ 27 “เตง/ตะเอง /ตัลเอง” คือ ตัวเอง และร้อยละ 26  บอกว่า “มุ้งมิ้ง” น่ารัก

 

สำรวจความคิดเห็นของเด็ก เยาวชนและ ประชาชนเรื่องเวลาในการอ่านหนั งสือผ่านสื่อต่างๆ ในแต่ละวัน พบว่า ร้อยละ 56 สื่อออนไลน์ โดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมา ร้อยละ 37 หนังสือ/เอกสาร ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1.30 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 36 อ่านหนังสือพิมพ์ ใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 20 วีดีโอ/ซีดี/ดีวีดี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 18 อ่านวารสารทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน

 

 

 

 



 



ข่าวที่เกี่ยวข้อง