ทันตแพทยสภา เพิกถอนใบอนุญาต "ทพญ.ดลฤดี" หนีทุน

สังคม
20 ก.ย. 60
10:10
2,186
Logo Thai PBS
ทันตแพทยสภา เพิกถอนใบอนุญาต "ทพญ.ดลฤดี" หนีทุน
ทันตแพทยสภามีมติเพิกถอนใบอนุญาต "แพทย์หญิงดลฤดี" กรณีหนีทุน ตั้งคณะกรรมการพิจารณาเพิกถอนสมาชิกสภาพ เตรียมเยียวยาให้อาจารย์มหิดลและเพื่อนที่ค้ำประกันและชดใช้เงินแทน

วันนี้ (20 ก.ย.2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันตแพทย์ ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา แถลงมติของคณะกรรมการทันตแพทยสภา ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ของทันตแพทย์หญิง ดลฤดี จำลองราษฎร์ อดีตอาจารย์ภาควิชาทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.มหิดล) เนื่องจากประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538

ขณะเดียวกันได้แต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาคุณสมบัติการเป็นสมาชิกทันตแพทยสภา โดยขั้นตอนหลังจากนี้ ทันตแพทยสภาจะเสนอมติดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะสภานายกพิเศษแห่งทันตแพทยสภา เพื่อขอความเห็นชอบก่อนจัดทำเป็นคำสั่งทางการปกครอง


"การปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีข้อกำหนดทางจรรยาบรรณแตกต่างกันกับไทย ซึ่งกรณีไม่ใช้ทุนนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหวสำหรับสังคมไทยเพราะเรื่องของความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ และการไม่แสดงความรับผิดชอบทำให้ครูบาอาจารย์และเพื่อนต้องมาชดใช้เงินแทนซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก โดยอาจารย์ก็ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยต้องกู้เงินมาชดใช้เพราะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องล้มละลาย" นายกสมาคมทันตแพทยสภา ระบุ

หลังได้รับทุนจากรัฐบาล ไปเรียนต่อระดับปริญญาโทและเอก ในต่างประเทศ ทันตแพทย์หญิง ดลฤดี ขอลาออกจากราชการ ขณะที่ยังใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา จึงต้องชดใช้เงินแก่มหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานคณะกรรมการอุดมจะกว่า 24 ล้านบาท แต่ไม่นำเงินมาชำระ ทำให้ผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็น อาจารย์ของ ทันตแพทย์หญิงดลฤดี เพื่อร่วมวิชาชีพ ต้องชดใช้เงินแทน

สำหรับมติดังกล่าว ไม่มีผลต่อการประกอบวิชาชีพของ ทันตแพทย์หญิงดลฤดี ในต่างประเทศ เนื่องจากขึ้นอยู่กับกฏหมายของแต่ละประเทศ หลังจากนี้ ทันตแพทยสภา จะนำเรื่องมติเพิกถอนเข้าที่ประชุมแพทยสภาวันที่ 12 ต.ค. จากนั้นจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุข ลงนาม และออกเป็นประกาศให้สังคมรับทราบ

"เดิมมีข่าวว่า ทพญ.ดลฤดึ เป็นอาจารย์ที่ ม.ฮาวาร์ด และลาออกไปอยู่ ม.บอสตัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เราได้มาซึ่งเราได้ส่งข้อมูลแจ้งให้ชดใช้ทุนไปทั้ง 2 แห่งแต่ไม่มีการตอบรับจาก ทพ.ดลฤดี แต่การพิจารณาเรื่องนี้ของเราและต่างประเทศต่างกันทั้งด้านกฎหมาย และการให้ความสำคัญอาจต่างกันซึ่งทางนั้นอาจมองว่าเป็นเรื่องของบุคคล" ทพ.ไพศาล ระบุ

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง