จับพิรุธคดี "หมอยอร์น"ตำรวจ-สธ.เตะถ่วง

อาชญากรรม
15 พ.ย. 60
19:34
2,564
Logo Thai PBS
จับพิรุธคดี "หมอยอร์น"ตำรวจ-สธ.เตะถ่วง
นพ.ยอร์น จิระนคร ผู้ขับรถชน รปภ.กระทรวงสาธารณสุข ยังเข้าทำงานตามปกติ ขณะที่มีรายงานว่ายังไม่มีคำสั่งพักงาน แม้จะมีการแจ้ง 4 ข้อหาหนักจากตำรวจ ทีมข่าวไทยพีบีเอส วิเคราะห์ข้อพิรุธหลายประเด็น ทั้งความล่าช้าของกระทรวงสาธารณสุข และตำรวจ

วันนี้ (15 พ.ย.2560) นพ.ยอร์น จิระนคร สาธารณสุขนิเทศก์ เขต 12 ประจำกระทรวงสาธารณสุข กร ณีขับรถชนพนักงานรักษาความปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขและถูกตั้ง 4 ข้อหาโดยนพ.ยอร์น ยังเข้าทำงานตามปกติ แต่ปฏฺิเสธที่จะให้สัมภาษณ์

ช่วงเวลาที่ทีมข่าวเจอ นพ.ยอร์น คือช่วงวลา 10.00-11.00 น. ซึ่งยังอยู่ในเวลาทำงาน นพ.ยอร์น ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมาก กล่าวแค่เพียงว่าจะกลับบ้าน และยังไม่ชัดเจนว่าจะถูกพักราชการหรือไม่

ทีมข่าวได้สอบถามเจ้าหน้าที่ประจำอาคาร เล่าว่า ช่วงนี้ นพ.ยอร์นค่อนข้างยุ่ง ต้องเข้าเยี่ยมอาการรปภ. ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และเข้าให้ปากคำกับตำรวจ และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีคำสั่งพักงานนพ.ยอร์น จากผู้บริหารระดับสูง เพียงแต่งตั้งคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว โดยมี นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน โดยวางแนวทางตรวจสอบว่านนพ.ยอร์นได้กระทำผิดวินัยของข้าราชการหรือไม่ คาดว่าจะเริ่มสอบสวนในสัปดาห์หน้า

 

สธ.ทารั้วสีขาวสะท้อนแสง

ส่วนบริเวณประตู 1 ถนนหลวงวิเชียร ฝั่งที่ติดกับสำนักงานประกันสังคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคาร ได้ทาสีรั้วใหม่โดยใช้สีขาวสะท้อนแสง ทาสูงจากพื้นประมาณ 80 เซนติเมตร ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร 2 เส้น ในระดับสายตาของผู้ใช้รถ เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายในช่วงเวลากลางคืน พร้อมกับจะทาสีประตูอื่นๆด้วย ยกเว้นประตูฝั่งสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุเนื่องจากอยู่ระหว่างการทำแผนของตำรวจ

นอกจากนี้ ยังทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ด่วนที่สุดจากการไฟฟ้านครหลวงเขตนนทบุรี เพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างเพิ่มเติมบริเวณประตู รวมถึงตัดกิ่งต้นไม้ที่พาดสายไฟ

ขณะที่ นพ.สกล สุขพรหม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กล่าวว่า อาการของนายสมชาย ยามดี รปภ.ที่ถูกรถชน ว่าสัญญาณชีพปกติ เริ่มรู้สึกตัว ขยับแขน-ขาได้ และชูสองนิ้ว ส่วนอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกซ้ายเริ่มมีกำลังมากขึ้น แพทย์เริ่มให้อาหารทางสายยางเป็นวันแรกและเริ่มถอดเครื่องช่วยหายใจออกบ้าง เพื่อให้คนไข้ได้ฝึกหายใจเองช่วงเวลาสั้นๆ ขณะนี้ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนซึ่งต้องรอผลเพาะเชื้อในเลือด ปัสสาวะ และเสมหะ ว่ามีโรคแทรกซ้อนหรือไม่ ทราบผลภายใน 2-3 วัน

 

จับพิรุธตร.ไม่ยึดรถ-สธ.ตั้งกก.สอบล่าช้า 

ขณะที่ทีมข่าวยังวิเคราะห์คดีนพ.ยอร์น โดยตั้งข้อสังเกตว่าหากไม่มีกระแสกดดันจากสังคม ไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์เรื่องบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุข กับตำรวจ ก็คงจะเป็นอุบัติเหตุธรรมดาแล้วเงียบไปจาการลำดับเหตุการณ์ พบว่านพ.ยอร์น ขับรถชน รปภ. คืนวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ถามหาว่าใครขับ เป็นคุณหมอใหญ่ใช่หรือไม่ กระทรวงสาธารณสุข น่าจะเห็นคลิปก่อนด้วยซ้ำ แต่ไม่ได้ชี้แจงทันที ต้องให้โซเชียลมีเดียถามหาความรับผิดชอบ จึงออกมาแถลงวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมาว่าเป็นนพ.ยอร์น ไม่ได้หนีไปไหน

ขณะที่การแถลงข่าววันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา ยังไม่ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง แต่เมื่อตำรวจตั้งข้อหาหนักวานนี้ (14 พ.ย.) กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องกรรมการสอบตามมา เป็นเพราะกระแสกดดันหรือไม่ การตั้งข้อสังเกตแบบนี้เพราะมีข่าวลือว่า มีความพยายามช่วยเหลือ นพ.ยอร์น ถึงขั้นที่ปลัดกระทรวงเคลียร์ให้เอง เรื่องนี้จริงเท็จแค่ไหน คือข้อสังเกตจากการทำงานของกระทรวงที่รณรงค์เมาไม่ขับมาตลอด

หากมาดูท่าทีของตำรวจวันที่เกิดเหตุ 10 พ.ย.ข้อสังเกตที่ 1.ไม่ยึดรถไว้ตรวจสอบ แต่วันนี้เมื่อเป็นกระแส กลับเรียกรถที่เกิดเหตุกลับมา 2.ทำไมไม่ตรวจวัดแอลกอฮอล์ ตำรวจอาจจะบอกว่า นพ.ยอร์น อาจจะปฏิเสธ และ3.ก่อนที่ตำรวจตั้ง 4 ข้อหา ช่วงแรกๆ สภ.เมืองนนทบุรี ตั้งข้อหา นพ.ยอร์น ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานที่ตรวจวัดแอลกอฮอล์ แค่ข้อหาเดียวทั้งๆ ที่ตำรวจก็เห็นภาพวงจรปิดอยู่ อีก 3 ข้อกล่าวหา ทั้งเมาแล้วขับ ขับรถประมาท และพยายามฆ่า เป็นข้อหาที่เพิ่มเข้ามาหลังจากเป็นข่าวใหญ่  และต้องให้พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร.ลงไปดูคดีเอง คดีจึงจะคืบหน้า

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง