วิกฤต “ทีวีดิจิทัล”

สังคม
22 ธ.ค. 60
11:04
1,008
Logo Thai PBS
วิกฤต “ทีวีดิจิทัล”
สถานการณ์สื่อโทรทัศน์ตลอดปีนี้ ต้องเผชิญกับความท้าทายชัดเจน ที่ผู้คนเปลี่ยนไปรับชมเนื้อหาต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทำให้หลายสื่อต้องปรับโครงสร้าง

แม้เปิดดำเนินการได้กว่า 4 ปี แต่สถานีโทรทัศน์ช่อง "นาว" ในเครือบริษัทเนชั่น ผู้ผลิตรายการข่าว ก็ถูกประกาศขายกิจการ ซึ่งบริษัทเนชั่น กรุ๊ป ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา แม้เป็นการขายกิจการที่ "ช่องนาว" มีเรตติ้ง สูงกว่า ช่อง "เนชั่น ชาแนล" ก็ตาม แต่เมื่อดูจากผลประกอบการภาพรวมแล้ว ทำให้เนชั่นกรุ๊ปจำเป็นต้องตัด และเมื่อต้องแข่งขันกับสถานีโทรทัศน์อีกกว่า 20 ช่อง ก็ทำให้ผู้บริหารเนชั่นตัดสินใจขายช่องนาว

นาย เทพชัย หย่อง ปธ.จนท.บริหาร บมจ.เนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป กล่าวว่า ธุรกิจสื่ออยู่ในช่วงที่มีการแข่งขันกันสูง และรายได้จากการโฆษณาลดลง โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก ซึ่งเครือข่ายเนชั่นมีสื่อครบวงจรทั้ง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และเป็นสื่อที่ชัดเจนว่าช่วงนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก จากนี้ไปต้องปรับตัวตามสถานการณ์มากกว่าเมื่อก่อนอีกมาก จึงยังไม่เห็นความจำเป็นต้องปรับโครงสร้าง ถ้ามีก็ปรับเล็กน้อยเท่านั้นให้กระชับขึ้น

 

 

ตลอดปีที่ผ่านมา บริษัทเนชั่น ได้ทะยอยปรับโครงสร้างลดพนักงานในเครือเป็นระยะประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนพนักงานที่มีทั้งหมด 2,000 คน และมั่นใจยังเดินหน้าธุรกิจสื่อที่อยู่ในเครืออีก อีก 3 ฉบับ คือ คมชัดลึก เดอะเนชั่น และกรุงเทพธุรกิจ ซึ่งเนชั่นกรุ๊ป มีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจสื่อมานานถึง 50 ปี และช่วงนี้อยู่ในช่วงที่ท้าทายจากปัจจัยต่างๆ

ขณะที่ สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ปัจุจบันที่มีพนักงานประมาณ 400 คน ขณะนี้ได้ปรับโครงสร้างเตรียมลดจำนวนพนักงานให้เหมาะกับงานที่ดำเนินการ โดยจะจ่ายชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

ขณะที่บริษัทอัมรินทร์ และไบรส์ทีวี ต่างก็มีพนักงานหมุนเวียนเข้าออกกันเป็นระยะๆ โดยเฉพาะพนักงานที่มีอายุงานน้อย เพื่อเข้ามาประสบการณ์และผันตัวไปอยู่สังกัดอื่น ที่รู้สึกมั่นคงกว่า

สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี แม้อยู่ในภาวะขาดทุนแต่ก็ถือว่ายังอยู่รอดได้ 

 

 

ขณะที่การบริหารถือว่าปรับเปลี่ยนใหญ่ด้วยเช่นกัน เพราะระดับบิ๊กเนมอย่าง นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ ผู้บริหารเบอร์หนึ่งที่เคยคุมงานข่าวของไทยรัฐทีวีทั้งหมดได้ลาออก และเมื่อเดือน ต.ค.เพื่อกลับมาบริหารงานข่าวและรายการที่บ้านเก่าอย่าง "สปริงนิวส์" ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นงานที่ท้าทายมากกว่า ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นกับธุรกิจทีวีดิจทัล ซึ่งรวมถึงสปริงส์นิวส์

สถานการณ์ทีวีดิจิทัล ไม่ได้ใช่แค่เพิ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างกันช่วงนี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ร่วมประมูล 24 ช่อง เริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่ปี 2557 เมื่อบริษทไทยทีวี ผู้ประกอบการ 2 ช่อง ตัดสินใจคืนใบอนุญาต กับ กสทช. เมื่อทำธุรกิจผ่านไปปีเศษ โดยให้เหตุผลว่า แบกรับภาระไม่ไหว แต่ท่ามกลางภาวะที่การแข่งขันสูง ยังมีอีกหลายช่อง เช่น เวิร์คพ้อยท์ ช่อง 8 อาร์เอส และ ช่อง 7 ที่ประคองตัวอยู่รอดได้ด้วยดีจากจำนวนผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณา และแทบไม่เคยเห็นการออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น กสทช. ดำเนินการช่วยเหลือ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง