ทช.สรุปสัตว์ทะเลหายากตายคงที่กว่า 400 ตัวต่อปี

สิ่งแวดล้อม
22 ธ.ค. 60
16:11
2,420
Logo Thai PBS
ทช.สรุปสัตว์ทะเลหายากตายคงที่กว่า 400 ตัวต่อปี
ทช.สรุปเฉลี่ยสัตว์ทะเลหายากตายคงที่ 419 ตัวยังไม่ถือว่าวิกฤต สาเหตุมาจากการแจ้งข่าวสารจากเครือข่ายเพิ่มในระบบสถิติ คาดปี 2561 วาฬบรูด้าเข้าบัญชีสัตว์สงวนตัวที่ 16 สำเร็จ พร้อมเล็งใช้นิติวิทยาศาสตร์ หาคนผิดทำสัตว์หายากตายจากเครื่องมือประมง -ขยะพลาสติก

วันนี้ (22 ธ.ค.2560) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่าภาพรวมสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากปีนี้ ยังไม่น่าเป็นห่วงว่าจะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ถึงแม้จะมีรายงานพบการเกยตื้นและตายถี่ขึ้น ทั้งกลุ่มเต่าทะเล โลมา วาฬเพิ่มมากขึ้น สาเหตุมาจากเครือข่ายประชาชนที่ส่งข้อมูลเข้ามาเป็นสถิติกับทช.แต่ยอมรับว่าช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการจัดการสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นเฉลี่ยปีละ 419 ตัว จำนวนนี้เป็นเต่าทะเลร้อยละ 57 โลมาและวาฬร้อยละ 38 พะยูนร้อยละ 5 โดยสาเหตุอันดับต้นๆเต่าทะเล และยูน มาจากติดเครื่องมือประมงร้อยละ 75 และร้อยละ 87 ส่วนโลมาและวาฬจากการป่วยตายตามธรรมชาติร้อยละ 63 แต่สิ่งที่น่าห่วงคือจากการผ่าพิสูจน์ซากสัตว์ทะเล จะเจอปัญ หาขยะพลาสติกที่อยู่ในท้อง เช่น กรณีเต่าตัวที่ตายล่าสุด และมีถุงพลาสติกในกระเพาะอาหาร 

อธิบดีทช.กล่าวว่า สิ่งที่ทช.กำลังวางแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยนำเสนอสัตว์ทะเลหายากขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิดครอบคลุมวาฬบรูด้า วาฬโอมุระ เต่ามะเฟือง และสัตว์คุ้มครอง 16 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ขณะนี้อยู่ในขั้นการพิจารณาของกฤษฎีกาคาดว่าในปี 2561 จะประกาศในบัญชีรายชื่อเป็นสัตว์สงวนตัวที่ 16 

 

เล็งใช้นิติวิทยาศาสตร์หาคนผิดทำสัตว์ทะเลตาย

นอกจากนี้ ยังมองว่าการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นเป็นแนวทางหนึ่งช่วยฟื้นฟูจำนวนประชากรเพื่อช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นให้มีโอกาสรอดสูงขึ้น ทช.ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหาขึ้นที่จ.ภูเก็ต พร้อมกับสร้างหน่วยรถเคลื่อนที่อีก 5 แห่งหน่วยครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งหมด ด้วยการทำงานร่วมกับแนวร่วมเครือข่ายองค์กรในพื้นที่ มหาวิทยาลัย และชุมชนมากกว่า 25 แห่ง 

ปัญหาสัตว์ทะเลเกยตื้นและติดเครื่องมือประมง พบว่าโอกาสรอดเพียงร้อยละ 1 ที่ผ่านมาไม่สามารถเอาผิดใครได้ว่าจงใจทำร้าย หรือไม่ตั้งทำร้ายสัตว์ทะเลหายาก ดังนั้นในอนาคตทช.จะต้องใช้นิติวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ชี้ให้ได้ว่าใครเป็นคนทำให้สตว์ทะเลตาย เหมือนกับการพิสูจน์หาผู้ต้องหา ขณะเดียวกันยังเดินหน้าสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล ซึ่งได้ออกระเบียบตามพ.ร.บ.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแล้ว  โดยจะไม่จำกัดทั้งคนไทยและคนต่างชาติในการช่วยเป็นหูเป็นตาแจ้งและช่วยชีวิตสัตว์ทะเล 

 

เร่งประกาศพื้นที่คุ้มครองแหล่งอาศัย  

นายจตุพร กล่าวว่า นอกจากนี้ยังอยู่ร่วมกับกรมประมงลดการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อลดอัตราตายของสัตว์ทะเล และยังเตรียมศึกษาข้อมูลของสัตว์ทะเลหายากอีกหลายชนิด ประกาศคุ้มครองเพิ่มเติมในอนาคต รวมทั้งทช.จะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสำรวจสถานภาพสัตว์ทะเลหายากเพื่อการอนุรักษ์ เช่น ระบบฐานข้อมูลภาพเพื่อระบุตัวตน ระบบรับฟังสัญญาณเสียงใต้น้ำ การติดตามด้วยเครื่องส่งสัญ ญาณดาวเทียม และการใช้อากาศยานไร้คนขับ ใช้ในการจัดทำแผนที่แหล่งที่อยู่อาศัย

ด้านนายอุกฤต สดภูมินทร์ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเและป่าชายเลน ทช. กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่าสัตว์ทะเลที่เกยตื้นและตายจากจำนวนปีละกว่า 400 ตัวแบ่งเป็นจำพวกเต่าทะเล ร้อยละ 57 โลมาและวาฬร้อยละ 38 และพะยูนร้อยละ 5 จากข้อมูลนียังมีการสำรวจประชากรสัตว์ทะเลหายาก โดยพบมีพะยูนเฉลี่ย 200-250 ตัว ส่วนเต่าทะเล ที่ได้จากการประเมินระมาณการขึ้นมาวางไข่ และและการปล่อยลูกเต่ามีประชากร 1,500-3,000 ตัว ส่วนโลมาและกลุ่มวาฬรวมกันประมาณ  2,000 ตัว

 

 

ถ้าจะลดความเสี่ยงคือต้องคุ้มครองพื้นที่แหล่งอาศัยและหยุดเครื่องมือประมง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสัตว์ทะเลหายากในทะเลให้ได้ นอกจากนี้ยังมีกรณีอนุรักษ์แหล่งวางไข่ที่หาดไม้ขาว จ.ภูเก็ต ขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงแรม งดใช้พื้นที่ชายหาดเพื่อให้เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ในช่วงเดือนธ.ค.-ก.พ.ของทุกปี 

ทั้งนี้นักวิชาการระบุว่า จากการสำรวจพบว่าในท้องทะเลไทยมีสัตว์ทะเลหายากจำนวน 28 ชนิด จากทั่วโลกมี 84 ชนิด และเต่าทะเล 5 ชนิด 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง