“บำเพ็ญ” แอปพลิเคชันควบคุมปล่อยบั้งไฟแจ้งเตือนนักบิน

Logo Thai PBS
 “บำเพ็ญ” แอปพลิเคชันควบคุมปล่อยบั้งไฟแจ้งเตือนนักบิน
จีสด้า พัฒนาแอปพลิเคชันชื่อ "บำเพ็ญ" ช่วยวางแผนควบคุมการปล่อยบั้งไฟไม่ให้กระทบการบิน หลังพบสถิติปี 2560 มีการจุดบั้งไฟมากถึง 19,520 บั้ง และมีนักบินพบเห็นบั้งไฟขณะทำการบิน มากกว่า 50 ครั้ง นำร่องใช้ จ.ศรีสะเกษ และยโสธร เดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้

วันนี้(13 พ.ค. 2561) รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การปล่อยบั้งไฟ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย และผลกระทบต่อการคมนาคมทางอา กาศได้ หลายปีมามีการแจ้งพบบั้งไฟขณะทำการบิน และนักบินไม่ได้รับแจ้งเตือนล่วงหน้า โดยเฉพาะเดือนพ.ค.-มิ.ย.ของทุกปี ช่วงประเพณีบุญบั้งไฟของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากสถิติปี 2560 มีการแจ้งการจุดบั้งไฟมากถึง 19,520 บั้ง และมีนักบินพบเห็นบั้งไฟขณะทำการบินมากกว่า 50 ครั้ง

ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด พยายามแก้ไขปัญหา โดยขอความร่วมมือสร้างความเข้าใจกับประชาชนในท้องถิ่น หรือผู้ที่ต้องการประกอบกิจ กรรมการจุดบั้งไฟ เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ควบคุม และเฝ้าระวังบริเวณโดยรอบสนามบิน และเส้นทางบินเป็นพิเศษ รวมทั้งเรื่องขั้นตอนการขออนุญาตการจุดบั้งไฟ กับทางหน่วยงานปกครองในท้องที่ก่อนการประกอบกิจกรรมฯ ทุกครั้ง แต่ยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการคมนาคมทางอากาศอย่างครบวงจร

ภาพ : จีสด้า

ภาพ : จีสด้า

ภาพ : จีสด้า

 

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือจิสด้า กล่าวว่า จิสด้าได้พัฒนาเครื่องมือภูมิสารสนเทศมาใช้บริหารจัดการด้านการคมนาคมทางอากาศและความปลอดภัยทางอากาศ หรือที่เรียกว่า GISAVIA และขณะนี้ได้ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่นชื่อ “บำเพ็ญ” เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการให้กับหน่วยงานใช้ในการควบคุมการปล่อยบั้งไฟ

แอปพลิเคชั่น “บำเพ็ญ” จะช่วยแจ้งเตือนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมทางอากาศ ได้รับทราบถึงจุดหรือพิกัดที่จะมีการปล่อยบั้งไฟ เพื่อจะได้วางแผนในเส้นทางการบิน และไม่ให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบกับการคมนาคมทางอากาศ ทั้งด้านทางทหาร ด้านพลเรือน ด้านการบินพาณิชย์ ทั้งนี้ได้นำระบบมาทดสอบใช้งานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัดคือ ศรีสะเกษ และยโสธร
ภาพ : จีสด้า

ภาพ : จีสด้า

ภาพ : จีสด้า

 

นอกจากนี้จะช่วยให้ประชาชนที่ลงทะเบียนใช้งาน ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องกรอกเอกสารบนกระดาษ ประหยัดเวลายื่นเอกสาร สามารถติดตามคำขอของตนเองได้ด้วย โดยลักษณะการใช้งานของระบบดังกล่าวสามารถแจ้งชื่อกิจกรรม ประเภทของวัตถุที่จะปล่อย เส้นผ่านศูนย์กลาง น้ำหนัก และจำนวนของวัตถุที่ต้องการจะปล่อยสู่น่านฟ้าได้ ก่อนจะนำไปสู่กระบวนการจัดการของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในการวิเคราะห์ และประเมินด้านความปลอดภัยในการคมนาคมทางอากาศ จนกระทั่งสู่การออกใบอนุญาตในที่สุด 

 

ภาพ : จีสด้า

ภาพ : จีสด้า

ภาพ : จีสด้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง