"ชุดตรวจมะเร็ง" ทีม สจล.คว้าแชมป์สุดยอด STARTUP 2018

Logo Thai PBS
"ชุดตรวจมะเร็ง" ทีม สจล.คว้าแชมป์สุดยอด STARTUP 2018
สจล.คว้าแชมป์แชมป์สุดยอด STARTUP THAILAND LEAGUE 2018 ระดับมหาวิทยาลัยจากผลงาน "ชุดตรวจหาเชื้อมะเร็งมดลูกได้ภายใน 5 นาที" ส่วนระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด จ.ระยอง คว้าแชมป์จากผลงานอุปกรณ์ขุดมันสำปะหลัง

วันนี้(21 พ.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จัดงาน “STARTUP Thailand 2018” โดยมีการแข่งขันชิงชนะเลิศสุดยอดสตาร์ทอัพระดับประเทศ ประจำปี 2561 ระดับมหาวิทยาลัยโดยมี 4 ทีมสุดท้ายที่เป็นแชมป์ แต่ละภาคมาแข่งขันหาสุดยอดประเทศ

ผลการแข่งขัน พบว่าผู้ที่คว้าชัยเป็นแชมป์สุดยอด STARTUP THAILAND LEAGUE 2018 ได้แก่ Bionanomer (ไบโอนาโนเมอร์) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งจาก 158 ทีม จากผลงาน LADYKIT "ชุดตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูก ได้ภายใน 5 นาที" โดยการตรวจจับตัวเชื้อไวรัสชนิดที่มีความเสี่ยงทีมีความเสี่ยงสูง ที่เป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ FIFTH GEAR จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์  รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ดิ การ์เดี่ยน จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และรางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม EASY GAS จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร

นอกจากนี้ ยังมีการแข่งขันชิงแชมป์สตาร์ทอัพ ระดับอาขีวศึกษา มี 800 ทีมเข้าแข่งขัน ปรากฎว่า "อุปกรณ์ขุดมันสำปะหลัง" จากวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด จ.ระยอง คว้าแชมป์ได้รางวัลชนะเลิศ ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ "ซอสเบต้าแคโรทีน" วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่และรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ "อิฐบล็อคประสานจากเศษแก้ว" จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฏร์ธานี จ.สุราษฎร์ ธานี ซึ่งทั้ง 3 ทีมจะได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ และสนับสนุนต่อยอดการลงทุนเป็นสตาร์ทอัพต่อไป

 

 

สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ ทีมเยาวชนในภาคต่างๆ มีดังนี้แชมป์ภาคใต้ ได้แก่ ทีม Fifth Gear มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เอาชนะคู่แข่งจาก 120 ทีม จากผลงาน "อุปกรณ์เสริมติดตั้งรถจักรยานอัจริยะ" ที่สามารถบันทึกการเดินทางของผู้ขี่จักรยาน พร้อม GPS ระบุพิกัด อีกทั้งสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุตามท้องถนน และแจ้งเตือนหากมีคนพยายามขโมยจักรยาน รวมถึงสามารถเคลมประกันจากบริษัทประกันชั้นนำ

สวนแชมป์ภาคเหนือ ทีม Easy Gas มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ เอาชนะคู่แข่งจาก 150 ทีม จากผลงาน "การผลิตแก๊สหุงต้มชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน" โดยนำแก๊สมีเทน จากการย่อยสลายจากเศษอาหารมาแปรรูปใช้งานแทนปิโตรเลียมเหลวหรือ LPG และติดตั้งเซนเซอร์แจ้งเตือนเมื่อปริมาณแก๊สในถังใกล้หมด

ส่วนแชมป์ภาคกลาง ได้แก่ ดิ การ์เดียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่เอาชนะคู่แข่ง จาก 167 ทีม จากผลงาน "ระบบเฝ้าระวังอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ" ซึ่งระบบจะทำการส่งการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินไปยังผู้ดูแลของผู้สูงอายุและผู้พิการผ่านทางการโทรและการส่งข้อความ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วต่อการให้ความช่วยเหลือและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

“400 สตาร์ทอัพ” ระดับโลกโชว์เวทีไทย 17-20 พ.ค.นี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง