"ศุลกากร" ส่งคืนขยะพิษ 40 ตู้คอนเทนเนอร์กลับประเทศต้นทาง

สังคม
14 มิ.ย. 61
11:38
5,139
Logo Thai PBS
"ศุลกากร" ส่งคืนขยะพิษ 40 ตู้คอนเทนเนอร์กลับประเทศต้นทาง
กรมศุลกากร เผย 5 เดือน ไทยนำเข้าเศษซากพลาสติกและซากอิเล็กทรอนิกส์ กว่า 2.6 แสนตัน หลังจีนบังคับใช้กฎหมายห้ามนำเข้าซากชิ้นส่วนวัตถุดิบ พร้อมวาง 6 มาตรการสกัดนำเข้าผิดเงื่อนไข สามารถกักตรวจสอบ 73 ตู้ เตรียมผลักดันกลับประเทศต้นทาง 40 ตู้

ปัญหาการลักลอบนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ เศษซากพลาสติกเข้ามาในประเทศไทย มีข้อมูลจากกรมศุลกากร พบว่า 5 เดือน สูงกว่า 260,000 ตันตัน มากกว่ายอดการนำเข้าทั้งปี 2560  โดยส่วนหนึ่งเป็นผลภายหลังจีนบังคับใช้กฎหมายห้ามนำเข้าเศษซากชิ้นส่วนพลาสติกและอิเล็กทรอนิกส์เข้าประเทศ

นายชัยยุทธ คำคุณ โฆษกกรมศุลกากร ยอมรับว่าเพียง 5 เดือน ปริมาณนำเข้าเศษซากวัตถุดิบทั้ง 2 ประเภทมาเข้าในไทย เพิ่มขึ้นสูงกว่าปริมาณนำเข้าทั้งปี 2560 ซึ่งขณะนี้นำเข้าเศษซากพลาสติก กว่า 210,000 ตัน และเศษซากอิเล็กทรอนิกส์อีก 52,200 ตัน รวมทั้งสิ้นกว่า 260,000 ตัน

 

ชัยยุทธ คำคุณ  โฆษกกรมศุลกากร

ชัยยุทธ คำคุณ โฆษกกรมศุลกากร

ชัยยุทธ คำคุณ โฆษกกรมศุลกากร

 
การนำเข้าเศษซากวัตถุดิบทั้ง 2 ประเภท จากจีนและฮ่องกง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้คณะทำงานร่วมระหว่างกรมศุลกากร และกรมโรงงาน กำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าเศษซากภายใต้อนุสัญญาบาเซล 6 มาตรการ ตั้งแต่ร่วมกันจัดทำฐานข้อมูล หรือ บิ๊กเดต้า กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่กรมโรงงานประจำท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อร่วมตรวจสอบกรณีพบตู้สินค้าต้องสงสัย หลังปรับวิธีการตรวจปล่อยจากเดิมจะดำเนินการสุ่มตรวจ เป็นให้เข้าเครื่องเอ็กซ์เรย์ทุกตู้ที่มีการนำเข้าเศษซากฯ


ขณะนี้กรมศุลกากร ดำเนินการตรวจสอบตู้สินค้าต้องสงสัย จำนวน 73 ตู้คอนเทนเนอร์ และอยู่ระหว่างผลักดันกลับประเทศต้นทาง 40 ตู้คอนเทนเนอร์ หลังโรงงานคัดแยกเศษซากวัตถุดิบ จำนวน 5 แห่ง จากทั้งหมด 7 แห่ง ถูกพักใบอนุญาตชั่วคราว เนื่องจากทำผิดเงื่อนไขการนำเข้า และกฎหมายกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม 

 

 
นายชัยยุทธ กล่าวว่า สำหรับตู้สินค้านำเข้าซากพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าอยู่ที่ท่าเรือคลองเตย จำนวน 21 ตู้ และจะผลักดันกลับประเทศต้นทาง 1 ตู้ ส่วนท่าเรือแหลมฉบัง 43 ตู้ ผลักดันกลับประเทศต้นทาง 3 ตู้ และอยู่ระหว่างตรวจสอบ 40 ตู้ ทั้งนี้พบว่ามีการสำแดงเป็นโลหะ 33 ตู้

ทั้งนี้ การนำเศษพลาสติก ขยะอิเล้กทรอนิกส์เข้ามาจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าผลดีประเทศ และถ้าไม่อนุญาตให้นำเข้า พร้อมปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ ส่วนข้อเสนอให้ยกเลิกผลผูกพันอนุสัญญาบาเซล ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2557 นั้น เป็นเรื่องของผู้กำหนดนโยบาย

 

 

นอกจากนี้ กรมศุลกากร ยังเพิ่มความเข้มงวดและการผลักดันเศษซากพลาสติก และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้อาจมีการลักลอบนำเข้าปะปนกับการนำเข้ากลุ่มเศษโลหะ แต่ไม่สามารถตรวจสอบออย่างเข้มงวดเหมือนกลุ่มที่มีสำแดงนำเข้าเป็นเศษซาก

เนื่องจากติดขัดกฎหมายกรมโรงงานที่มีเงื่อนไขยอมรับการนำเข้าเศษซากที่ปะปนมากับกลุ่มเศษโลหะ จึงดำเนินการป้องปรามได้เพียงใช้การข่าว และปฏิเสธข่าวเจ้าหน้าที่กรมฯ อาจเรียกรับสินบน เพื่อตรวจปล่อยตู้สินค้าที่นำเข้าเศษซากพลาสติก และอิเล็กทรอนิกส์ แต่พร้อมตรวจสอบหากมีหลักฐาน

 

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

ลุ้น "1 แสน" รายชื่อ ดึง "ห้าง-ร้านดัง" คิดค่าถุงพลาสติก

ปลดล็อกผังเมือง ผุดโรงงานขยะพิษ

พักใบอนุญาต 5 บริษัท นำเข้า "ขยะพิษ"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง