ผู้เชี่ยวชาญรวบรวมข้อมูลใน-นอกถ้ำ เพื่อความแม่นยำก่อนเจาะถ้ำ

สังคม
28 มิ.ย. 61
14:18
1,372
Logo Thai PBS
ผู้เชี่ยวชาญรวบรวมข้อมูลใน-นอกถ้ำ เพื่อความแม่นยำก่อนเจาะถ้ำ
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี ระบุข้อรวมรวมข้อมูลด้านในและด้านนอกถ้ำหลวง เพื่อความแม่นยำในการพิจารณาเจาะถ้ำ

วันนี้ (28 มิ.ย.61) นายสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ว่า ในเชิงหลักการการเจาะถ้ำไปมีความเป็นไปได้ แต่ความสำคัญคือข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนว่าตำแหน่งของถ้ำอยู่ที่ใด ซึ่งเมื่ออยู่ภายในถ้ำอาจคิดว่า ถ้ำกว้างใหญ่แต่หากเทียบกับภูเขาถ้ำจะมีขนาดเล็กและมีลักษณะคดเคี้ยวคล้ายกับเส้นก๋วยเตี๋ยว

ขณะที่รวมถึงแผนที่และแผนผังที่มีการเผยแพร่ อาจมีความแม่นยำน้อย เพราะเป็นการสำรวจด้วยมือ โอกาสที่จะคลาดเคลื่อนราว 10 - 100 เมตร เป็นไปได้ในแนวราบ แต่ในแนวดิ่งนั้นไม่ได้สำรวจความสูงต่ำว่าสูงต่ำเพียงใด ฉะนั้นก่อนที่จะนำเครื่องมือขึ้นไปเจาะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนว่า ตำแหน่งของถ้ำอยู่บริเวณใด

 

 

ขณะที่ กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังสำรวจ และเข้ามาสแกนว่าโพรงถ้ำอยู่อยู่บริเวณวดซึ่งจะเข้ามาในช่วงบายวันนี้ ขณะที่พื้นผิวของภูเขาด้านนอกจะมีทีมของภาคเอกชน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือและ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ขณะนำโดรนขึ้นบินสำรวจสภาพพื้นผิวด้านบน โดยการประเมินจะประเมิน 2 ด้าน ให้สอดคล้องกันทั้งพื้นผิวภายนอกของถ้ำและโพรงภายในถ้ำ ซึ่งการเจาะด้วยหัวเจาะขนาดเล็กต้องมีความแม่นยำของจุดที่จะเจาะจากนั้นจึงจะวางแผนในการเจาะต่อไป แต่ในกรณีซึ่งมีความเร่ง จึงทำควบคู่การในการสแกนด้านนอกและสแกนด้านในถ้ำ และตอนนี้ได้รวบรวมเครื่องเจาะจากภาคเอกชน 2 รายที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว

รศ.สุทธิศักดิ์ กล่าวว่า การเจาะหินปูนซึ่งมีความแข็งแต่เปราะแต่ถ้ามวลต่อเนื่องกันก็กระทบไม่มาก แต่หากเป็นพื้นที่ที่เป็นโพรงก็อาจมีความเสี่ยงเรื่องของตัวหินที่จะแตกและติดตัวก้านเจาะอาจทำให้เจาะเป็นไปอย่างยากลำบาก ซึ่งขณะนี้ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการประเมิน และความกังวลเรื่องการสั่นที่จะทำให้หินงอกหินย้อยจะหล่นลงมาหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด

ทั้งนี้ การเจาะดังกล่าวเรียกว่า การเจาะแบบกระแทก (Perrcusion drilling) ซึ่งมีการสั่นแต่หากเทียบกับมวลหินมวลภูเขาถือว่าเล็กมาก แต่ก็ไม่ประมาทอย่างยิ่ง ซึ่งต้องพิจารณาอีกแนวทางหนึ่งก่อนที่จะเจาะซึ่งเป็นตัวเลือกหนึ่ง คือ จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี คือ ปล่องที่พบ ก็คือ ความลึกราว 70-90 เมตร ซึ่งต้องนำกล้องลงไปส่องดูก่อนว่าด้านล่างนั้นมีช่องทางที่จะเดินไปได้หรือไม่ หากด้านล่างสามารถเดินไปได้หรือไม่ การเจาะจะเป็นทางเลือกรองทันทีเพราะจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพราะจะมีการสั่นมากกว่าการหย่อนลงไปทางปล่อง ขณะนี้ต้องดูข้อมูลทุกอย่างประกอบในเวลาเดียวกัน

การเจาะโดยใช้หัวเจาะขนาดเล็ก 4-5 นิ้ว ระยะเวลา 1 ชม.สามารถเจาะได้ 10-15 เมตร หากหัวเจาะขนาดใหญ่จะใช้เวลามากขึ้น แต่เมื่อเจาะแล้วจะมีเครื่องมือในการขยายรูให้กว้างมากขึ้นได้ อย่างแรกต้องเจาะเจอก่อน และหวังว่าให้น้องได้รับรู้และสื่อสารว่ากำลังช่วยเหลือน้องๆอยู่

ทั้งนี้ ระยะเวลาในการช่วยเหลือขึ้นอยู่กับการลำเลียงเครื่องจักรไปยังพื้นที่ที่จะเจาะซึ่งต้องมีการเคลียร์เส้นทางและต้องใช้ความเชี่ยวชาญของทางทหาร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง