วิเคราะห์ทางเลือกเจาะถ้ำช่วย 13 ชีวิต

สิ่งแวดล้อม
4 ก.ค. 61
19:52
1,291
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ทางเลือกเจาะถ้ำช่วย 13 ชีวิต
นักวิชาการประเมินทางเลือกแผน 2 หาทางเจาะโพรงถ้ำใกล้จุดที่พบทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง ระบุเป็นทางเลือก แต่ต้องหาจุดตำแหน่งที่ชัดเจนก่อน เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องการขนย้ายอุปกรณ์ พร้อมขอให้หน่วยซีลช่วยดูร่องรอยระดับน้ำจุดเนินนมสาวว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยหรือไม่

วันนี้(4 ก.ค.2561) นายสุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอส เกี่ยวกับทางเลือกในการสำรวจโพรงถ้ำบนดอยผาหมี เพื่อหาช่องทางเข้าถึงจุดที่พบทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 คนติดอยู่บริเวณเนินนมสาว ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ซึ่งแม้ว่าจะเจอเด็กๆทั้งหมดแล้ว

แต่วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ระบุว่า การเร่งดำเนินการช่วยเหลือนำทั้ง 13 คนออกมาจากถ้ำหลวง ให้เร็วที่สุด ซึ่งนอกจากการดำน้ำออกมาทางด้านหน้าของถ้ำแล้ว นายกรัฐมนตรี บอกให้มีทางเลือกที่ 2 คือหาช่องทางเจาะโพรงจากด้านบนถ้ำลงมา  

ทั้งนี้ นักวิชาการ ระบุว่า เดิมวัตถุประสงค์การค้นหาโพรงถ้ำบนดอยผาหมี ตั้งสมมติฐานจากปล่องโพรงข้อมูลตำแหน่งถ้ำ แต่มาจากฐานเดียวกันที่ของนายมาร์ตินเคยสำรวจไว้ เดิมครั้งแรกที่จะเจาะเป็นการส่งเสียงเพื่อส่งเสียงให้เด็กๆ 7-8 วัน และยังไม่มีความหวัง แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนเจอเด็กๆแล้ว และสมมติฐานอกว่าเจ้าทางไหนออกทางนั้น 


ทำไมถึงต้องขึ้นไปข้างบนถ้ำ ตำแหน่งค่อนข้างใกล้หน้าผา และถ้าที่จะเจาะที่หน้าผาลงมาความหนาจะเยอะมาก แต่ถ้าเจาะแบบด้านข้าง ก็ไม่ใช่ใกล้พื้นดิน และข้อจำกัดคือเฮลิคอปเตอร์ต้องส่งของลงมาให้ด้วยหากลงหุบจะยากต่อการขนส่งอุปกรณ์ ยอดเขาสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ตัวถ้ำสูงประมาณ 400-450 เมตร แต่ถ้าจากด้านข้างตอนที่มีข้อมูล 400-500 เมตร 

แต่สถานการณ์ที่ดีวันนี้คือหน่วยซีลเจ้าไปถึงจุดที่เด็กๆอยู่ ทำอย่างไรถึงหาตำแหน่งโถงงใกล้เคียง ถ้าซีลสามารถบอกว่ามีโถงใกล้พัทยาบีช ก็จะหาทางเจาะโถง และนำเด็กๆไปไว้จุดที่ใกล้นั้นนำเด็กๆออกมา

นักวิชาการบอกว่า ข้อจำกัดอีกอย่างคือการไลน์สายเข้าไฟการสื่อสารยังยาก แต่ยังมีเทคนิคทางด้านธรณีฟิสิกส์คือการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือสนามคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และถ้าไปทำในโถงในถ้ำที่จะส่งเด็กๆไปและสามารถนำเด็กไปอยู่ในโถงเพื่อจับสัญญาณ และให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสองตัวจับกัน แต่ในข้อจำกัดจะทำได้อย่างไร เพราะปกติจะใช้ในการหาสายแร่ที่มีการเหนี่ยวนำไฟฟ้า 


เมื่อถามว่าการหาทางเจาะเข้าทางถ้ำ เดินหน้าไปอย่างไร พยายามสื่อสารกับคนในถ้ำที่เข้าไป การเจาะ ไปแล้ว 15 เมตรเจอโพรงด้านล่าง เพราะหินปูนเป็นโพรงถ้ำ และการเจาะ 15 เมตรเจาะโดยการกระแทกและอัดลมเข้าไป แต่พอ 15 เมตรแล้วอัดลมแล้วหายไป หรือโพรงนี้อาจจะไกลมากจากจุดที่เด็กๆอยู่ หรือถ้าเราเจาะและไปตัดระบบโพรงต่างๆ ซึ่งในโพรงที่เจาะแล้วหาตำแหน่งเสียง

ถ้าตำแหน่งเอื้ออำนวยต่อการนำเครื่องเจาะขึ้นข้างบน เพราะการเจาะตัวแรกเป็นการเจาะที่สื่อสาร แต่เครื่องเจาะอีกตัว จะพยายามตำแหน่งที่ชัดเจน เพื่อทำแพลตฟอร์ม  

แผนตอนนี้ หลังจากนี้สแตนบายพร้อมที่จะขึ้นไปเจาะและตอนนี้กำลังต้องหาตำแหน่งการเจาะที่ถูกต้องและต่อไปกำหนดว่าจะเจาะอย่างไร เพราะการวางแผนการเจาะและการหาตำแหน่ง เป็นคนละเรื่องกัน  นอกจากนี้ยังฝากประเด็นที่อยากให้หน่วยซีล ช่วยดูตำแหน่งที่เนินนมสาว และช่วยให้สำรวจระดับน้ำว่าขึ้นสูงสุดมากแค่ไหน เพื่อดูว่าจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่ 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

วิเคราะห์ความเป็นไปได้ "เจาะถ้ำ"ยากหรือง่าย?

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง