แนวคิด "แบตเตอรี่แห่งเอเชีย" เร่งสร้างเขื่อนปัจจัยเกิดภัยพิบัติ

ภูมิภาค
25 ก.ค. 61
18:31
5,197
Logo Thai PBS
แนวคิด "แบตเตอรี่แห่งเอเชีย" เร่งสร้างเขื่อนปัจจัยเกิดภัยพิบัติ
แนวคิดเพื่อให้ลาวเป็นประเทศที่ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ ที่ได้ชื่อว่า "แบตเตอรี่แห่งเอเชีย" อาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดเขื่อนจำนวนมากในประเทศลาว ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เสนอให้เหตุการณ์นี้เป็นบทเรียนสำคัญที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีก

แนวคิดเพื่อให้ลาวเป็นประเทศที่ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ ที่ได้ชื่อว่า "แบตเตอรี่แห่งเอเชีย" อาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดเขื่อนจำนวนมากในประเทศลาว ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เสนอให้เหตุการณ์นี้เป็นบทเรียนสำคัญที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีก

การเร่งก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในลาวเป็นบทเรียนสำคัญจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ ครั้งนี้ และแนวคิดให้ลาว เป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย ของเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดภัยพิบัติ จึงต้องทบทวนเรื่องพื้นที่โครงสร้างเขื่อน เพื่อการประเมินภัยพิบัติและเตือนภัย รวมทั้งการจัดการหลังเกิดภัยพิบัติ

นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า "ต้องเรียนรู้จากบทเรียน แต่ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องการเรียนรู้ ต้องไปดูเรื่องการช่วยชีวิตก่อน แล้วก็ป้องกันมวลน้ำอีก 200 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่กำลังไหลเพิ่มเติมลงมาตามลำน้ำที่น้ำจะไหลต่อจากนี้ลงไปซึ่งเป็นเรื่องใหญ่กว่า แล้วจึงค่อยมาทบทบบทเรียน ใครช่วยอะไรได้ก็ช่วย ไม่ใช่เวลามาโทษกัน แต่หลังจากนี้ก็ควรจะทบทวนโดยเฉพาะเรื่องความพร้อมในการรับเหตุฉุกเฉิน ซึ่งตอนนี้เขาได้เลือกไปแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไม่ควรสร้าง"

แม้ลาวจะมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง มีศักยภาพเหมาะกับการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า การเดินหน้าสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ตามแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นที่เกิดขึ้นและเขื่อนไม่ได้นำไปสู่ภัยพิบัติอย่างเดียว แต่ทำให้เกิดลงทุนและมีเงินหมุนเวียนไปพัฒนาเรื่องอื่นๆ ในลาว ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการเขื่อน

การบริหารจัดการเขื่อนคือความรอบคอบ ความชำนาญและการตัดสินใจของทีมประเมินซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ปัจจัยหลักคือ ผู้บริหารและการเมือง และก็การสื่อสาร ซึ่งไม่มีใครรู้หรอกว่าเมื่อไหร่จะพลาด มันพร้อมที่จะพลาดได้ทุกครั้ง และพร้อมที่จะปลอดภัยได้ทุกครั้ง

ส่วนแนวคิดการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในไทย ขณะนี้อยู่ในช่วงการทบทวนระหว่าง 2 แนวคิด ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์กับการพัฒนา จึงเชื่อว่าจะไม่มีแนวคิดเรื่องเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในไทย มีเพียงเรื่องการดูแลรักษา ตรวจสอบสภาพเขื่อนที่มีอยู่ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ให้ได้มาตรฐาน

ขณะที่ นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรียกร้องให้บริษัทที่เป็นผู้ร่วมทุนก่อสร้างเขื่อน แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการชดเชยเยียวยาให้กับชาวลาวที่ประสบภัยพิบัติ

ทุนไทย ทุนเกาหลี และทุนของรัฐบาลลาวจะต้องชดเชยความเสียหายทั้งหมด คือ ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทย มันมีกลไกในกระบวนการยุติธรรมที่ทำให้เกิดการฟ้องคดีกันตามมา และในประเทศไทยมันเคยเกิดขึ้นแล้ว และศาลเคยตัดสินให้เจ้าของเขื่อน หรือ ผู้ก่อสร้างต้องจ่ายค่าชดเชยที่พอสมควรให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ แต่ในกรณีของลาวผมไม่แน่ใจกลไกที่ทำให้เกิดความเป็นธรรมกับคนที่ได้รับผลกระทบเพราะฉะนั้นคนไทยก็ต้องช่วยกันกดดันให้บริษัทเอกชนของไทยที่ไปถือหุ้นแสดงความรับผิดชอบและจะต้องให้ชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบได้รับการฟื้นฟูขึ้นมา

นอกจากนั้น การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ต้องยึดหลักของการเคารพสิทธิมนุษยชน รวมถึงคำนึงการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง