รู้จัก “กาลักน้ำ” พระเอกในภารกิจกู้น้ำล้นเขื่อน

ภัยพิบัติ
8 ส.ค. 61
12:34
2,933
Logo Thai PBS
รู้จัก “กาลักน้ำ” พระเอกในภารกิจกู้น้ำล้นเขื่อน

น้ำท่วมจากการระบายน้ำอูน จ.สกลนคร และเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี"ระบบกาลักน้ำ"ถูกนำมาติดตั้งควบคู่กับการปั้มน้ำลงในลำน้ำ หลักการนี้มีคำอธิบายว่าถูกนำมาใช้ เพื่อให้การพร่องน้ำที่ล้นระดับสปิลเวย์ ทำให้เร็วขึ้นสำหรับรองรับฝนใหม่ที่จะตกเข้ามาเติมเขื่อน 

วันนี้(8 ส.ค.2561) นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการลุ่มน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า หลักการปีนี้น้ำเต็มเขื่อนเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะแถวพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้ง จ.เพชรบุรี หน้าฝนยังไม่ใช่ช่วงเดือน ส.ค.แต่เมื่อน้ำเต็มเขื่อนเร็วผิดปกติ พอถึงช่วงหน้าฝนเขื่อนจะไม่มีพื้นที่รองรับน้ำ และถ้าฝนลงมา และน้ำจะไหลลงมาตูมเดียว เหมือนกับเทน้ำที่เต็มจนล้นแก้ว จะควบคุมไม่ได้ และทำให้เกิดอันตรายกับเขื่อน

เราถึงต้องทำ กาลักน้ำ เพื่อพร่องน้ำออกจากเขื่อน เมื่อปริมาณน้ำสะสมจนถึงสันเขื่อนอีก ก็ต้องนำน้ำออกเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รับน้ำฝนจริงๆ หลักการมีแค่นี้เอง

บุญสม อธิบายว่า จริงๆที่ทำกาลักน้ำจริงๆ เราปล่อยให้น้ำไหลล้นสปิลเวย์ก็ได้ เพราะไหลล้นแล้วมันถึงระดับสปิลเวย์ก็จะหยุดไหล ก็จะไม่มีพื้นที่รับน้ำในอ่าง พอฝนตกลูกใหญ่ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 150 ล้านลูกบาศก์เมตรภายในวันเดียวก็จะไหลลงมาทั้งก้อน 150 ล้านลูกบาศก์เมตรก็จะท่วมเมืองเพชร 

ตอนนี้ที่เขื่อนแก่งกระจาน มีการติดตั้งกาลักน้ำ จำนวน 12 ชุด และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ Hydro
Flow 5 เครื่อง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำรวม 4 เครื่องและท้ายเขื่อนเพชร 9 เครื่อง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

นายกฯ ลงตรวจแผนจัดการน้ำ คาดท่วม "เมืองเพชร" 12 ส.ค.นี้

5 อำเภอเพชรบุรี น้ำท่วมสูงสุดแค่ไหน?

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง