"มหาเธร์" กับการแก้ปัญหาชายแดนใต้

ภูมิภาค
24 ต.ค. 61
12:37
456
Logo Thai PBS
"มหาเธร์" กับการแก้ปัญหาชายแดนใต้
การเดินทางเยือนประเทศไทยในวันนี้ (24 ต.ค.) ของ ดร.มหาเธร์ มูฮัมหมัด ผู้นำมาเลเซีย หลังชนะการเลือกตั้งและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งการเดินทางมาเยือนครั้งนี้จะมีการหารือกันร่วมกันด้านความมั่นคงและสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

การเยือนไทยครั้งนี้ผู้นำมาเลเซียในครั้งนี้น่าจับตาเป็นอย่างยิ่งว่า จะทำให้กระบวนการการพูดคุยสันติสุขมีการพัฒนาก้าวหน้าและจะทำให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เนื่องจาก ดร.มหาเธร์ ก็ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทในการทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเจรจาเพื่อยุติความรุนแรงในภาคใต้มาตั้งแต่ปี 2547 แล้ว ซึ่งทำให้เกิดการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการมาหลายครั้ง

ก่อนหน้านี้ไม่นานมาเลเซียได้แต่งตั้งผู้อำนวยความสะดวกคนใหม่ ขึ้นมาทำหน้าที่แทนคนเดิม ซึ่งมีความใกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัคของมาเลเซีย ซึ่งผู้อำนวยความสะดวกคนใหม่คืออับดุล ราฮิม นูร์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 

"เข้ามาเกี่ยวข้องในช่วงก่อนหน้านี้การที่จะทำให้เกิดการพูดคุยกันประมาณปี 2547 - 2548 ซึ่งมีการขยายตัวของความรุนแรงมากขึ้นในช่วงแรก ในภาคใต้ก็มีการจัดให้มีการพูดคุยกัน ระหว่างแกนนำของกลุ่มขบวนการต่างๆ ที่ต่อสู้กับรัฐบาลไทยโดยมานัดคุยกันที่ลังกาวี ก็มีตัวแทนที่ไม่เป็นทางการโดยมีฝ่ายความมั่นคงของไทยไปอยู่ด้วย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความพยายามในการจัดให้มีการพูดคุยกันระหว่างฝ่ายของขบวนการที่ต่อสู้กับรัฐบาลไทย หลังจากนั้นก็มีการพูดคุยกันอีกหลายครั้ง การพูดคุยหลายครั้งในสมัย ดร.มหาเธร์ น่าจะเป็นหมุดหมายที่สำคัญเหมือนกันในจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการพูดคุยอย่างเป็นทางการเป็นระบบขึ้นมา" ผศ.ศรีสมภพ ระบุ 

 

ผศ.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มองว่า คนนี้คือบุคคลที่มีทั้งประสบการณ์และความรู้ความสามารถ เรียกได้ว่าเป็นคนที่เหมาะสมกับงานนี้ ประกอบกับผู้นำของมาเลเซียก็มีความตั้งใจที่จะคลี่คลายปัญหาในภาคใต้ด้วย

ในขณะที่ฝ่ายไทยเองก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนตัวผู้อำนวยความสะดวกเช่นเดียวกัน นั่นคือ พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 4 ที่ อ.ศรีสมภพ มองว่าเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับหน้าที่นี้

แม้ดูเหมือนว่าองค์ประกอบเรื่องผู้อำนวยความสะดวกน่าจะทำให้การพูดคุยสันติสุขมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีรายงานว่าอับดุล ราฮิม นูร์ ผู้อำนวยความสะดวกของมาเลเซีย เริ่มเจรจากับฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปบ้างแล้ว ถือเป็นการปูพื้นฐาน ก่อนที่การเจรจาพูดคุยสันติสุขจะกลับมาพูดคุยกันใหม่อีกครั้ง และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีข้อเสนอใหม่เพิ่มเข้ามาในการพูดคุยด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง