สนช.เดินหน้ากฎหมาย "ภาษีที่ดิน" คาดบังคับใช้ปี 2563

เศรษฐกิจ
31 ต.ค. 61
18:54
4,235
Logo Thai PBS
สนช.เดินหน้ากฎหมาย "ภาษีที่ดิน" คาดบังคับใช้ปี 2563
เตรียมเสนอร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ค้างในคณะกรรมการธิการวิสามัญ นานกว่า 1 ปีเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติ วาระ 2 และ 3 ในกลางเดือนพ.ย.นี้ คาดบังคับใช้ 1 ม.ค.2563

วันนี้ (31 ต.ค.2561) นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.กระทรวงการคลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง ในฐานะประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กล่าวว่า เตรียมเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ในช่วงกลางเดือน พ.ย.นี้ หลังจาก กมธ.ได้พิจารณารายละเอียดของกฎหมายแล้ว คาดว่ามีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2563 

นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับ กมธ.ปรับปรุงจากหลักการตามคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2560 แต่ยังคงยกเว้นภาษี บ้านหลังแรกที่มีราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนบ้านหลังที่ 2 จะถูกเก็บภาษีตั้งแต่บาทแรก สูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.3 ต่อปี

ที่ดินเกษตรกรรมของบุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้นภาษีทุกราคาใน 3 ปีแรก เพื่อให้ปรับตัวและปีที่ 4 จะเริ่มเก็บภาษี โดยราคาที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นภาษี

หลังจากนั้นจะเก็บเป็นขั้นบันไดในอัตราร้อยละ 0.01 แต่สูงสุดไม่กิน ร้อยละ 0.15 โดยคำนวณภาษีเฉพาะในส่วน 10 ล้านบาท แต่ที่ดินเกษตรกรรม ของนิติบุคคล จะเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก

 

 

พร้อมออกกกฎหมายลูก ซึ่งกำหนดรายละเอียดการจัดเก็บ รวมทั้ง มาตรการบรรเทาภาระภาษี ซึ่งได้รับการลดหย่อนสูงสุด ถึงร้อยละ 90 ของภาระภาษี เช่น โรงเรียนเอกชน โรงพยาบาล สนามกีฬา และ ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินรอการขาย หรือ เอ็นพีเอ และ ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพัฒนา หรือ แลนด์แบงก์ ของดีเวลล็อปเปอร์ จะได้รับการยกเว้นภาษี 5 ปีแรก หลังจากนั้นก็จัดเก็บตามประเภทการใช้ประโยชน์

อะไรที่เคยเก็บแล้วเกินที่เคยเสียภาษีโรงเรือน จะผ่อนปรนให้ 4 ปี เช่นเคยเสียแพงกว่าเดิม 1,000 บาทและใครถุกกว่าก็ได้รับประโยชน์ไป แพงกว่า 1,000 บาท ปีแรกจ่าย 250 บาท ปีที่สองเพิ่ม 500 ปีที่ 3 จำนวน 750 และปีที่ 4 ถึงจะคิดราคาเต็ม 

 

 

ทั้งนี้หากเป็นการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม จะเสียภาษีแบบขั้นบันไดในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 1.2 ต่อปี เช่นเดียวกับ ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ทุกๆ 3 ปีสูง สุดไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี เพื่อให้ทุกฝ่ายมีเวลาปรับตัว ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 2,500 ล้านบาท บนสมมติฐานที่รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาท

ก่อนหน้านี้ นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะรองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เคยยื่นหนังสือเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ต่อประธาน สนช. เมื่อวันที่ 26 ก.ย.2560 เพื่อขอให้ทบทวนอัตราจัดเก็บภาษี และกำหนดมาตรการลดหย่อน ผ่อนปรนให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ และมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง