การสร้างอาชีพของบล็อกเกอร์

Logo Thai PBS
การสร้างอาชีพของบล็อกเกอร์
สมัยนี้จะเป็นคนดังก็เป็นได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว แต่สิ่งสำคัญต้องมีคอนเทนต์โดนใจและกล้าแตกต่าง สร้างบล็อกและเพจจากโซเชียลมีเดียจนเป็นที่รู้จัก หลายคนเริ่มจากความชอบ พัฒนามาจนสร้างรายได้เป็นอาชีพ ซึ่งการจะอยู่ได้ยาว แต่ละเพจก็มีกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน

จับไมค์ร้องเพลงมาก็เยอะ แถมยังแต่งเพลงให้ศิลปินมานับไม่ถ้วน แต่เกือบ 10 ปีในวงการกลับไม่เคยขึ้นเวทีรับรางวัลเลยสักครั้ง พอหันมาทำเพจท่องเที่ยวสนุกๆ ในชื่อ "อาสา พาไปหลง" กลับเป็นครั้งแรกที่ทำให้ฝันของ "ว่านไฉ" เป็นจริง เพราะได้รับรางวัล Best Travel Blog จากงาน Thailand Best Blog Award 2018 ยอดผู้ติดตามไม่ธรรมดา เพราะเพียง 6 เดือนมีผู้ติดตามแล้วเกือบ 6 แสนคน ด้วยสไตล์การท่องเที่ยวแบบเพื่อนพาทัวร์ มีทั้งรีวิวที่เที่ยวเวลาอกหัก หรือประสบการณ์ทำพาสปอร์ตหาย ยิ่งได้ภาพหรือคลิปประกอบสวยๆ ยิ่งทำให้เพจไปได้ไกลขึ้น ซึ่งแนวคิดในการทำเพจ คือคนทำต้องมีความสุขและอยู่ได้ เป็นเหมือนพีระมิด 3 มุม ที่ยอดบนสุดคือความสุขของคนทำงาน ขณะที่อีก 2 มุมคือผู้ติดตามและลูกค้าที่ต้องบาลานซ์ความต้องการของทั้ง 2 ฝั่งให้ดี

 

 

 

อคิร วงษ์เซ็ง หรือว่านไฉ นักร้อง-นักแต่งเพลง-บล็อกเกอร์เพจ อาสา พาไปหลง บอกว่า อยากให้คนดูได้มี Inspired มากกว่าการที่เราไปเที่ยว ซึ่งนั่นมันทำให้แตกต่างกว่าคนอื่น เริ่มจากการที่ไม่รู้อะไรเลย เริ่มจากศูนย์ แต่ลองทำให้เข้าถึงง่าย

 

อคิร วงษ์เซ็ง

อคิร วงษ์เซ็ง

อคิร วงษ์เซ็ง

 

 

วโรรส โรจนะ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย บอกว่า บล็อกเกอร์มีเยอะขึ้นแล้วจะได้เปรียบเพราะว่าถ้าคุณทำมีเดียได้ดี ไม่ว่าจะบทความ รูปภาพ หรือวิดีโอ แต่ต้องอยู่ที่ว่าคอนเทนต์คุณคือยังไง ถ้ารีวิวอาหาร ภาพต้องดี วิดีโอต้องมาถูกไหม ซึ่งพฤติกรรมคนเปลี่ยน หลายปีก่อนเน้นไปทางพันทิป ตั้งกระทู้ เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็เฟซบุ๊ก นั่นหมายความว่าคนเข้าถึงง่ายมาก คนเลยทำเยอะ

 

วโรรส โรจนะ

วโรรส โรจนะ

วโรรส โรจนะ

 

ขณะที่รางวัลใหญ่ Blog Of The Year ตกเป็นของเพจน้องใหม่ The Supporter ที่ควบรางวัล Best New Blog ไปได้อีกรางวัล แม้ผู้ติดตามมีเพียงหลักหมื่น หากก็โดดเด่นด้วยเนื้อหาที่ทั้งสนุกและได้ความรู้ ด้วยการถ่ายทอดเรื่องเล่าคนเบื้องหลังในสายอาชีพต่างๆ

 

 

เทคโนโลยีที่ง่ายขึ้น ทำให้ช่วงหลังมีเพจน้องใหม่เกิดขึ้นนับไม่ถ้วน การจะเป็นที่รู้จักนอกจากคอนเทนต์ต้องแตกต่างอย่างสร้างสรรค์แล้ว การสร้างภาพจำให้เพจก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย อย่างเพจสายฮา "ปังปอนด์ ออนทัวร์" ที่เจ้าของเพจวัย 25 ปี วางคาแรคเตอร์ตัวเองไว้เป็นจุดขาย คือทุกภาพหน้าต้องนิ่ง ยกนิ้วโป้งโชว์ความยอดเยี่ยม และมีแคปชั่นประจำตัวก่อนพูดทุกครั้งว่า "ขออนุญาต" จึงทำให้ระยะที่เปิดเพจได้ไม่ถึงปีติดตลาดมีงานเข้ามาต่อเนื่อง

วชิร ละอองเทพ บล็อกเกอร์เพจปังปอนด์ออนทัวร์ บอกว่า ใส่ความเป็นตัวเองเข้าไป เริ่มจากการทำในสิ่งใกล้ตัวที่อยากเล่าให้เพื่อนให้ใครฟัง ก็เลยเอาใกล้ๆ ทำง่ายๆ แล้วมีคนชอบ ก็ต้องศึกษาต่อว่ายังไง เพราะก็ไม่รู้ว่าพฤติกรรมคนอ่านเป็นยังไง

 

วชิร ละอองเทพ

วชิร ละอองเทพ

วชิร ละอองเทพ

 

กชกร จวนทองรักษ์ - ศิวัช อินทร์ประสิทธิ์ บล็อกเกอร์เพจ The Supporter บอกว่า ช่วงแรกก็ยากนะ แต่ใช้วิธีการดูก่อนว่าทำอะไรได้ง่าย ก็หาทำจากสิ่งใกล้ตัวจากงานที่ทำ แล้วถนัดงานสารคดีอยู่แล้วก็เลยนำเสนอออกมาเป็นวิดีโอสัมภาษณ์ ต่อมาหลังๆ จะเริ่มตั้งคำถามว่าเรื่องราวแบบไหนที่เราและคนดูอยากรู้ ก็จะตามอันนั้น

 

กชกร จวนทองรักษ์ - ศิวัช อินทร์ประสิทธิ์

กชกร จวนทองรักษ์ - ศิวัช อินทร์ประสิทธิ์

กชกร จวนทองรักษ์ - ศิวัช อินทร์ประสิทธิ์

 

นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ - บล็อกเกอร์ บอกว่า เราว่ามันต้อง collaborate กัน เพราะว่าแน่นอนคือมันจะทำให้เกิดความแปลกใหม่ การทำให้คนดูรู้สึกว่าเห้ยอันนี้แปลกนี่คือสิ่งที่เขาอยากเห็น แล้วการเป็นตัวของตัวเองคือดี มันจะสร้างรายได้

 

นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

 

บล็อกเกอร์หลายคนอยากแจ้งเกิดไว ใช้การเรียกยอดวิวยอดไลค์ด้วยคำหยาบและรูปภาพไม่เหมาะสม มืออาชีพหลายคนแนะนำว่าในช่วงเวลาสั้นๆ อาจได้ผลมีผู้ติดตามก็จริง แต่ในระยะยาวการจะอยู่ได้และมีงานจ้างเป็นเรื่องยาก เพราะขาดเครดิตและความน่าเชื่อถือ จนสินค้าและโฆษณาไม่เข้าหา

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง