ชาวบ้านครศรีธรรมราช-พัทลุงบุกค้าน 3 เขื่อนภาคใต้

สิ่งแวดล้อม
17 ธ.ค. 61
13:11
1,099
Logo Thai PBS
ชาวบ้านครศรีธรรมราช-พัทลุงบุกค้าน 3 เขื่อนภาคใต้
ตัวแทนชาวบ้าน จ.นครศรีธรรมราช และพัทลุง เข้ายื่นหนังสือคัดค้าน 3 เขื่อนภาคใต้ คือโครงการวังหีบ -อ่างเก็บน้ำคลองสังข์ -อ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว เนื่องจากทั้ง 3 โครงการไม่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชุมชน

วันนี้ (17 ธ.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ยื่นหนังสือกับนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้ยกเลิกโครง การวังหีบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โครงการอ่างเก็บน้ำคลองสังข์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช และโครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง ของกรมชลประทาน 

หนังสือดังกล่าว ระบุว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ไม่เห็นด้วยกับโครงการเพราะในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการ และเห็นว่าอ่างเก็บทั้ง 3 โครงการ มีวัตถุประสงค์ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่

ตอนนี้การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เปลี่ยนไปจากเดิม ไม่มีความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์ กระทบต่อทรัพยากรทำลายวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม โดยเฉพาะพื้นที่อ่างเก็บน้ำคลองสังข์ ที่ชาวบ้านเคยเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากดินโคลนถล่มและการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำกะทูน อ่างเก็บน้ำดินแดน และต้องอพยพย้ายมาอยู่ที่คลองสังข์

 


ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านเคยมายื่นหนังสือกับนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วม ที่มีตัวแทนชาวบ้านร่วมด้วย เพื่อสำรวจพื้นที่หาทางเลือก และให้เกิดการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริง ชาวบ้านเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าว แต่ต่อมาได้เปลี่ยนผู้รับผิดชอบไป จึงไม่มีความต่อเนื่อง 

ขอให้ยกเลิก-หาทางเลือกจัดการน้ำรูปแบบอื่น


ที่ผ่านมา ชาวบ้านทั้ง 3 พื้นที่ ได้มีการยื่นหนังสือคัดค้าน ไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมน ตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หวังเพื่อให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐกับตัวชุมชน ลดความขัดแย้ง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริงในพื้นที่ มีการร่วมกันหาทางออก

ข้อเสนอของชาวบ้านเห็นว่า การจัดการน้ำในพื้นที่ไม่จำเป็นจะต้องสร้างอ่างเก็บน้ำที่ส่งผลกระทบมากเป็นวงกว้าง เปลี่ยนเป็นการจัดการน้ำขนาดเล็ก อาทิเช่น การทำฝายมีชีวิต น่าจะเป็นรูปแบบการจัดการน้ำที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด 


สำหรับข้อเสนอของชาวบ้านมีดังนี้ 1.ให้ยกเลิกโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 3 โครงการ 2.ให้คณะทำงานบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่อำเภอทุ่งสงและลุ่มน้ำวังหีบ และคณะศึกษาข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำภายใต้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เป็นคณะทำงานที่มีตัวแทนของชาวบ้าน ในพื้นร่วมอยู่ด้วย กลับมาดำเนินงานต่อให้แล้วเสร็จ เนื่องจากที่ผ่านมาชาวบ้านได้ศึกษาข้อเท็จจริงในพื้นที่และทางวิชาการรวมไปถึง การศึกษาถึงแนวทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของชาวบ้าน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง