ครั้งแรก ! นาซาเผยภาพ " อัลติมา ธูลี” วัตถุไกลสุดขอบสุริยะ

Logo Thai PBS
ครั้งแรก !  นาซาเผยภาพ " อัลติมา ธูลี” วัตถุไกลสุดขอบสุริยะ
"นาซา" เผยภาพถ่ายที่ชัดเจนขึ้นของ "อัลติมา ธูลี" วัตถุที่ลอยอยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ มีรูปร่างเหมือนมนุษย์หิมะ มีขนาดประมาณ 30 กิโลเมตร ถ่ายได้เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา

วานนี้ (3 ม.ค.2562) เพจเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page เผยแพร่ข้อมูลวัตถุที่ไกลจากโลกที่ถูกเรียกชื่อว่า “อัลติมา ธูลี” Ultima Thule โดยนายธนกร อังค์วัฒนะ เจ้าหน้าที่สาร สนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา นาซาเผยภาพแรกของ อัลติมา ธูลี วัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะที่ยานอวกาศเดินทางไปสำรวจ ถ่ายโดยยานนิวฮอไรซันส์ ขณะบินเฉียดเข้าใกล้ได้สำเร็จ โดย อัลติมาธูลี มีรูปร่างคล้ายพินโบลิ่ง ขนาดประมาณ 32x16 กิโลเมตร ซึ่งหมุนรอบตัวเองตามแกนหมุนสีแดง 

อัลติมา ธูลี คืออะไร?

อัลติมา ธูลี มีชื่อเป็นทางการว่า 2014 MU69 เป็นวัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ค้นพบครั้งแรกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในปี พ.ศ.2557 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 6.61 พันล้านกิโลเมตร มีขนาดประมาณ 30 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุรูปร่างได้แน่ชัด แต่คาดว่าจะเป็นวัตถุทรงรี หรืออาจเป็น 2 วัตถุที่โคจรรอบซึ่งกันและกัน

ยานนิวฮอไรซันส์ บินเฉียดเข้าใกล้วัตถุชื่อว่า “อัลติมา ธูลี” (Ultima Thule) เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2562 ที่ผ่านมาเวลาประมาณ 12:33 น. (ตามเวลาประเทศไทย) วัตถุดังกล่าวอยู่จากโลกประมาณ 44 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ นับเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะที่ยานอวกาศเดินทางไปสำรวจ

 

 

เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสูงถึง 51,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าใกล้เป้าหมายมากที่สุดที่ระยะห่างประ มาณ 3,500 กิโลเมตร เพื่อบันทึกภาพวัตถุให้ได้ความละเอียดสูงทีมนักวิจัยนาซาจะต้องอาศัยระบบการนำทางในอวกาศที่แม่นยำมากที่สุดเท่าที่เคยทำมา เพราะมีโอกาสในการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

แถบไคเปอร์กับจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของการกำเนิดระบบสุริยะ กล่าวคือ แถบไคเปอร์ คือ บริเวณที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ตั้งแต่ 30 ถึง 50 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (อยู่ถัดจากวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป)

บริเวณแถบนี้เต็มไปด้วยวัตถุขนาดเล็กที่กำลังโคจรรอบดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่เป็นหินและน้ำแข็งจากสารประกอบมีเทน แอมโมเนีย และน้ำ เป็นซากที่หลงเหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะในยุคแรกเริ่ม การศึกษาวัตถุในแถบไคเปอร์จะสามารถตอบคำถามได้ว่าระบบสุริยะก่อกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร

ขณะที่ทวิตเตอร์ของนาซาได้เผยแพร่คลิปและภาพดังกล่าวนี้ไว้ มีผู้สนใจเข้ามาดูจำนวนมาก บางคนก็บอกว่ารุปร่างของ อัลติมา ธูลี คล้ายกับมนุษย์หิมะ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง