ครั้งแรก "จิสด้า"ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพ "สตอร์ม เซิร์จ"จากพายุปาบึก

ภัยพิบัติ
4 ม.ค. 62
16:30
6,132
Logo Thai PBS
ครั้งแรก "จิสด้า"ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพ "สตอร์ม เซิร์จ"จากพายุปาบึก
ผอ.จิสด้า เผยพบ "สตอร์ม เซิร์จ" หรือคลื่นพายุซัดฝั่ง ในหลายจุดที่พายุโซนร้อนปาบึกเคลื่อนเข้าชายฝั่ง เช่น นครศรีธรรมราช เกาะสมุย คลื่นสูง 3-5 เมตร คาดจะสงบลงในช่วงค่ำนี้ พร้อมเตรียมใช้ดาวเทียม ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ประเมินพื้นที่เสี่ยง

วันนี้ (4 ม.ค.2562) ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส รายงานว่าหลังจากพายุโซนร้อนปาบึก ขึ้นฝั่งที่จ.นครศรีธรรมราชแล้ว พบว่ายังน้ำทะเลที่หนุนสูงต่อเนื่อง ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมถนนเส้นทางเชื่อมระหว่าง อ.หัวไทร มายังอ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ทำให้ถนนเลียบชายฝั่งถูกตัดขาดแล้ว ขณะที่ชาวบ้านเกาะทัง ตำบลท่าพญา อำเภอปากพนัง ต้องอพยพด่วน 

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) กล่าวว่า จากการประเมินมาตรการรับมือพายุโซนร้อนปาบึกที่เข้าชายฝั่งแล้ว ถือว่าเป็นไปตามมาตรการรับมือจากทุกภาคส่วนที่ค่อนข้างเตรียมความพร้อมได้ดี 

ถ้ามองเฉพาะในส่วนของพายุ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ถือว่าทำได้ดี และถึงแม้จะพูดกันว่าจะขึ้นที่ชุมพร เพราะเป็นปกติที่พายุเคลื่อนที่ช้าแกว่งไปแกว่งมา แต่กรณีพายุโซนร้อนปาบึก ถือว่าเคลื่อนตัวเร็วมาก จาก 10 กิโลเมตรกว่าเป็น 25 กิโลเมตร และเป็นสาเหตุที่ทำให้ขึ้นฝั่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และหลังจากขึ้นฝั่งจะอ่อนกำลังลง แต่หลังจากเคลื่อนลงทะเลไปอีกก็จะมีกำลังแรงขึ้น

 

 

เตรียมถ่ายภาพดาวเทียม"สตอร์ม เซริ์จ"ครั้งแรก

ผอ.จิสด้า กล่าวว่า นอกจากนี้จากภาพคลื่นที่พัดเข้าชายฝั่งในหลายจุดที่สื่อนำเสนอมา เช่น จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ถือว่าเป็น"สตอร์ม เซิร์จ" หรือคลื่นพายุซัดฝั่ง ซึ่งมีความสูงประมาณ 3-5 เมตร

ภาพจากมุมสูงจะเห็นว่าคลื่นจะมีขนาดใหญ่เมื่อเข้าใกล้ชายฝั่ง และพอสัมผัสกับพื้นทะเลได้จะยกตัวได้ ประมาณ 5-6 เมตร ซึ่งกรณีที่เกาะสมุย ห่างจากจุดศูนย์กลางพายุประมาณ 100 กิโลเมตร และหลังจากช่วงค่ำคลื่นก็จะเบาลงเพราะพายุพ้นขึ้นฝั่ง

นอกจากนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่เราจะได้ใช้ดาวเทียมของจิสด้า มาใช้ถ่ายภาพสตอร์ม เซิร์จ หลังจากพายุลินดาที่เคยเกิดสตอร์ม เซิร์จ แต่เราไม่มีภาพถ่ายที่จะนำมาใช้ในการนำมาประมวลผล ซึ่งครั้งนั้นเทคโนโลยีการเตือนภัย และเทคโนโลยีเหล่านี้ยังไม่มี ซึ่งปัจจุบันใช้การประเมินเชิงพื้นที่ โดยใช้ความสูงภูมิประเทศที่ต่ำและสูงมาประเมินความเสี่ยงเท่านั้น ถ้ามีภาพถ่ายดาวเทียม ก็จะใช้มาถอดบทเรียน และพื้นที่เสี่ยงได้ชัดเจนขึ้น หลังจาก 2-3 ทุ่มน่าจะหมดแล้ว เพราะพายุขึ้นฝั่งไปอีกทางด้านหนึ่งแล้ว 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

พท.ต่ำกว่า 0.5 เมตรเสี่ยง "สตอร์ม เซิร์จ"- เตือน 10 จว.ดินถล่ม

ประจวบฯ-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี เสี่ยงเจอ "สตอร์ม เซิร์จ"

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง