"ตลาดปลาทูออนไลน์" ยังไม่ปัง

สิ่งแวดล้อม
22 ก.ค. 62
10:23
677
Logo Thai PBS
"ตลาดปลาทูออนไลน์" ยังไม่ปัง
เชื่อขายปลาทูออนไลน์ ไม่กระตุ้นการจับลูกปลาทูมาขายเพิ่ม ชี้วัยรุ่นเมินกินปลาทู แต่นิยมปลาแซลมอน และปลาชนิดอื่น แนะภาครัฐจัดปฏิทินส่งเสริมการบริโภคอาหารหลากชนิด


ภาพของลูกปลาทู ที่วางขายในตลาด หรือบางส่วนเริ่มมีการวางขายในแอปพลิเคชันขายของออนไลน์ชื่อดัง ถูกตั้งคำถามว่า จะส่งผลต่อปริมาณการสั่งซื้อลูกปลาทูที่สังคมกำลังเป็นห่วงว่าจะยิ่งเพิ่มการจับปลาทูจากทะเลที่สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤตหรือไม่

ขอร้านค้าออนไลน์งดขายลูกปลาทู

จากกรณีที่พบว่ามีการจำหน่ายลูกปลาทูทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ชื่อดัง 2 แห่ง ล่าสุดพบว่า "Reef Guardian" ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานอนุรักษ์ทะเล ระบุว่า หากปล่อยให้มีการซื้อขายสัตว์น้ำวัยอ่อนอย่างลูกปลาทู แพร่หลายมากขึ้นจะเป็นการทำร้ายทะเลโดยตรง ซึ่งทำลายเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น จึงสร้างแคมเปญ Shopee & Lazada หยุดทำร้ายทะเล! ไม่ให้มีร้านค้าออนไลน์ขาย ‘ลูกปลาทู’ & สัตว์น้ำวัยอ่อน เพื่อขอเสียงสนับสนุนให้ผู้บริหารและทีมงานของเว็บไซต์ดังกล่าวออกนโยบายเพื่อควบคุม จัดการร้านค้าไม่ให้มีการขายสินค้าสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังโตไม่เต็มที่เพื่อนำไปสู่การทำประมงอย่างยั่งยืน และรับผิดชอบ ซึ่งมีผู้ลงชื่อสนับสนุนแล้วกว่า 90,000 คน และจากการเข้าไปค้นหาของทีมข่าวไทยพีบีเอสพบว่า เว็บไซต์ดังกล่าวได้นำร้านค้าที่จำหน่ายลูกปลาทูบางส่วนออกจากระบบแล้ว

 

 

ออนไลน์ยังไม่ตรงเป้า

 

นายวรัณทัต ดุลยพฤษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นายวรัณทัต ดุลยพฤษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นายวรัณทัต ดุลยพฤษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ขณะที่ในมุมมองของ นายวรัณทัต ดุลยพฤษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า หากมองพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าหลักอย่างแม่บ้านส่วนใหญ่จะไม่ซื้อของสด แต่จะเน้นสินค้าทั่วไปประเภท เสื้อผ้า เครื่องสำอาง รองเท้า กระเป๋า ของสด หรือของกินอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลัก และจากการลงพื้นที่ในร้านอาหารทะเล ก็พบว่า ลูกปลาทูไม่ใช่สินค้าที่ต้องวางโชว์หน้าร้านหรือเป็นสินค้าที่นิยมมากนักหากจะซื้อต้องสอบถามผู้ค้าจากนั้นจึงจะพาไปเลือกดู

ปลาขนาดเล็ก ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ซื้อจากตะวันออกกลาง เช่น อินเดียจะชอบ ปลากะตัก ปลาฉิ้งฉ้าง ซึ่งผู้แปรรูปปลากะตักบอกว่า ต้องแยกลูกปลาทูที่ปะปนออกมาก่อน เพราะทำให้ราคาตก 

คนรุ่นใหม่เมินปลาทู - กินแซลมอน

 

 

ประกอบกับกรมประมง เคยมีข้อมูลว่า ปลากะตัก จะมีลูกปลาทูปะปนมาไม่เกินร้อยละ 2-3 แต่ก็ยังไม่ชัดว่า ถ้าเทียบสัดส่วนกับลูกปลาทูและปลาทูทั้งหมดแท้จริงมีสัดส่วนเท่าไหร่ยังต้องใช้เวลาในการหาผลศึกษาทางวิชาการมายืนยัน นอกจากนี้ หากมองพฤติกรรมการบริโภคปลาทู ปัจจุบันปลาทูอาจจะไม่ใช่เป้าหมายของคนรุ่นใหม่ในการบริโภคเพราะส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานปลาแซลมอน หรือปลาชนิดอื่น ๆ มากกว่าแต่ปลาทูยังคงเป็นแหล่งคุณค่าทางโปรตีนที่ดี คุ้มค่ากับราคามาก

เมื่อไปถามเด็กสมัยนี้ น่าจะรู้จักปลาแซลมอน ปลาเทราต์มากกว่าปลาทู ปลาทูอาจจะเป็นปลาตั้งแต่ยุคเบบี้บูมเมอร์ไปจนถึงเจนเอ็กซ์ เจนวาย แต่รุ่นใหม่อาจจะไม่ใช่

แต่ปลาทูเป็นปลามีคุณค่ามาก มีโปรตีนสูง ในราคาที่ไม่แพง และด้วยความที่ทะเลไทยอยู่ในเขตร้อนมันจะฟื้นตัวเร็ว จริง ๆ ตอนนี้มันอาจไม่ได้หายไปจนไม่มีเลยแต่อาจจะสู้ปลาสายพันธุ์อื่นที่ขณะนี้เด่นกว่าหรือมีมากไม่ได้


มาตรการควบคุมการจับปลาทู


นโยบายอย่างการปิดอ่าว ควบคุมพื้นที่ มีต้นทุนในการติดตามถูกกว่า หากเป็นชนิดเครื่องมือ เรือตรวจการณ์มีต้นทุน

นายวรัณทัต ยังกล่าวถึง มาตรการควบคุมดูแลการจับปลาทูว่า นอกเหนือจากการปิดอ่าว และกำหนดพื้นที่ในการออกเรือ ยังมีวิธีการอื่น ๆ ที่สามารถใช้เป็นทางเลือกได้ เช่น มาตรการด้านภาษี แต่ในความเป็นจริงจะบังคับใช้ค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องมีเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบบริเวณท่าเรือทุกท่า เมื่อเทียบกับจัดการเป็นปิดอ่าวถือว่าเป็นต้นทุนที่ต่ำที่สุด ขณะที่มาตรการด้านภาษีอีกรูปแบบคือ การจ่ายเงินอุดหนุนโดยรัฐบาลเพื่อลดการจับปลาแต่ปัญหาคือรัฐบาลอาจไม่มีงบประ มาณมากพอหรือการหาข้อสรุปว่าจะต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าใดจึงจะเพียงพอและเหมาะสม

 

 

รวมถึงการกำหนดโควต้าซื้อ-ขาย (Individual Transfer Quota) ที่มีการบังคับใช้ในต่างประเทศ เนื่องจากเหมาะสมสำหรับปลาฝูง แต่ทะเลไทยซึ่งมีความหลากหลายของปลาจึงทำให้กำหนดโควตาค่อนข้างยากรวมถึงยังมีปลาชนิดอื่นที่ปะปน

ขณะที่แนวทางที่ค่อนข้างดี และมีการดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ การรวมกลุ่มโดยชาวประมงพื้นบ้านที่มีความรู้จักกันในพื้นที่ ต้นทุน ดูแลโดยสังคม ขณะนี้กำลังพัฒนาแนวทางดังกล่าวเพื่อสร้างจิตสำนึก คนรุ่นใหม่ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ถ้าไม่กินปลาทู จะกินอะไร

 

 

นายวรัณทัต กล่าวว่า หากปลาทูลดลงจะหาปลาชนิดบริโภคทดแทนได้แต่เพราะปลาทูเป็นที่นิยมมีราคาถูก ข้อเสียคือปลาทูเป็นปลาธรรมชาติเมื่อมีความต้องการสูงและปริมาณที่ลดลงจึงทำให้หายากขึ้น ในทางกลับกันปลาจากการเพาะเลี้ยง ทั้งปลาน้ำจืด ปลาน้ำกร่อย ก็ได้รับความนิยม และปริมาณการบริโภคสูง จนแซงปลาธรรมชาติมานานแล้ว ดังนั้นไม่ควรตื่นตระหนก เพราะยังมีแหล่งโปรตีนชนิดอื่นมาทดแทนได้

มองให้กว้างกว่าการบริโภคปลาทู กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรจะทำปฏิทินส่งเสริมการบริโภค อาหาร ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์บก พืช ว่าแต่ละช่วงมีอะไร ที่เยอะ อร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อวางแผนการตลาด ที่เหมาะสม แก้ปัญหาความขาดแคลน และส่งเสริมการบริโภคเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

 

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

“ปลาทูไทย” ลดลง 7 เท่า

 

"เพาะพันธุ์ปลาทู" ความหวังยังห่างไกล 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง