ใครบ้าง? 14 รัฐมนตรี เตรียมรับมืออภิปรายแถลงนโยบายรัฐบาล

การเมือง
24 ก.ค. 62
16:23
696
Logo Thai PBS
ใครบ้าง? 14 รัฐมนตรี เตรียมรับมืออภิปรายแถลงนโยบายรัฐบาล
วันนี้ (25 ก.ค.) นอกจากจะมีการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภาแล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่ามีจะรัฐมนตรี 14 คน ที่จะถูกอภิปรายในเรื่องของคุณสมบัติและความเหมาะสมในการเป็นรัฐมนตรี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เป็นผู้บัญชาการทหารบกและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ศสช.) ในการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 และครองอำนาจมานานกว่า 5 ปี เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 

พล.อ.ประยุทธ์ เป็น 1 ในพี่น้อง 3 ป. ได้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ส่วนประเด็นที่คาดว่า จะถูกอภิปรายจากฝ่ายค้าน คือการสืบทอดอำนาจ และคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่ง ส.ส.ฝ่ายค้าน 110 คน ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตรวจสอบคุณสมบัติผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ในช่วงที่เป็นหัวหน้า คสช.แล้วมาสมัครเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในนามพรรคพลังประชารัฐ โดยศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา และ พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องส่งคำชี้แจงภายใน 15 วัน หรือสิ้นสุดในวันที่ 8 ส.ค.นี้

ส่วน 12 นโยบายเร่งด่วน ครม.ประยุทธ์ 2/1 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมแถลงต่อรัฐสภาในวันนี้ (25 ก.ค.) ได้แก่ 1.การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน 2.การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 3.มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก 4.การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม 5.การยกระดับศักยภาพของแรงงาน 6.การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต

7.การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 8.การแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการประจำ 9.การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 10.การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน 11.การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย และ 12.การสนับสนุนให้มีการศึกษา การรับฟังความเห็นของประชาชน และการดำเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

แกนนำสำคัญในการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ครบ 5 ปี ในรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีใน ครม.ประยุทธ์ 2/1

พล.อ.ประวิตร เป็นหนึ่งในรัฐมนตรี ที่ถูกตรวจสอบมากที่สุดในช่วง คสช. ทั้งจากสื่อมวลชน และประชาชน กรณีนาฬิกาข้อมือราคาแพง ที่ไม่ได้แจ้งในบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. และไม่สามารถตอบคำถามได้ว่ามาจากที่ใด ท้ายที่สุด ป.ป.ช. ระบุว่า ไม่มีมูลความผิด ขณะที่เจ้าตัวอ้าว่ายืมเพื่อนมา นอกจากนี้ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ กรณีโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ และรถถังจากประเทศจีน

หนึ่งในประเด็นที่ถูกกล่าวถึงก่อนสิ้นสุดรัฐบาล คสช. เป็นเรื่องที่ชาวบ้านบุกร้อง พล.อ.ประวิตร ให้ช่วยเหลือกรณีถูกยึดโฉนดคืน หลังรับมอบคืนแล้ว จากโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

แม้จะมีคำอธิบายความสำเร็จในการยึดและคืนทรัพย์สินที่คืนให้ประชาชน มีโฉนดที่ดิน 661 ฉบับ มูลค่า 2,896 ล้านบาท รวมเนื้อที่ 1,050 ไร่ แต่ก็ถูกมองว่าเป็นการจัดฉาก

และรอบนี้ พล.อ.ประวิตร จะถูกฝ่ายค้านจ้องอภิปรายประเด็นคุณสมบัติรัฐมนตรี และการสืบทอดอำนาจรัฐบาล คสช. แต่พล.อ.ประวิตร ระบุว่าไม่กังวลที่ฝ่ายค้านเตรียมอภิปรายคุณสมบัติของในฐานะรองนายกรัฐมนตรี เพราะยืนยันว่าคุณสมบัติครบ พร้อมถามกลับว่าจะอภิปรายทำไม

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นอดีตสมาชิก คสช. และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยที่ 1 เป็นอดีตรัฐมนตรีในกลุ่ม “3 ป.” คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ,พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ,พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา หรือ “บิ๊กป๊อก” โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตลอดรัฐบาล คสช. 5 ปี ซึ่งฝ่ายค้านเตรียมที่จะอภิปรายคุณสมบัติของ พล.อ.อนุพงษ์ ในฐานะที่เป็นสมาชิก คสช. และรัฐมนตรี ในประเด็นการสืบทอดอำนาจ รวมไปถึงคดีค้างเก่าที่เกิดขึ้นในสมัยที่ พล.อ.อนุพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และสมัยที่เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก

ทั้งนี้ พล.อ.อนุพงษ์ สมัยที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก ปี 2550 – ปี 2553 ยังเกี่ยวข้องกับการอนุมัติโครงการสำคัญของกองทัพบก เช่น ปี 2552 มีการจัดซื้อเรือเหาะ 260 ล้านบาท และกล้องตรวจการณ์ 70 ล้านบาท เพื่อใช้ตรวจพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีปัญหาในการปฏิบัติงานจริง และถูกสั่งปลดประจำการเมื่อ ปี 2560 ยุครัฐบาล คสช. ที่มี พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท เป็น ผบ.ทบ.

ยุคพล.อ.อนุพงษ์ เป็น ผบ.ทบ. ช่วงปี 2550-2552 กองทัพบกยังมีการจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด GT200 มูลค่ากว่า 680 ล้านบาท ซึ่งตรวจสอบภายหลังพบว่าเครื่องมือดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้จริง จนนำไปสู่การตรวจสอบในชั้นศาล และศาลมีคำตัดสินว่าผู้มีส่วนในการจัดซื้อไม่มีความผิด

คดีดังกล่าวกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง เมื่อศาลอังกฤษมีคำพิพากษาให้บริษัทผู้ผลิต GT200 ชดใช้ค่าเสียหายจากกรณีที่เครื่องมือดังกล่าวใช้ไม่ได้จริงในปี 2559 ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้เสียหาย แต่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ระบุว่า การเรียกค่าเสียหายเป็นไปได้ยาก เพราะประเทศไทยไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เตรียมผลักดันนโยบายเด่นของพรรคอย่างการขึ้น “ค่าแรงขั้นต่ำ” เป็น 400 บาท นโยบายเอาใจผู้ใช้แรงงาน เพิ่มรายได้ให้มีการจัดการค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่มีต้นทุนเพิ่ม จนอาจนำไปสู่การขึ้นราคาสินค้า และอาจกระทบกับค่าครองชีพ นอกจากนี้ยังมีนโยบายเกี่ยวกับการประกันราคาสินค้าการเกษตร ซึ่งต้องมีการแถลงความชัดเจนถึงความเป็นไปได้และทิศทางการจัดการงบประมาณ

นอกจากนี้ นโยบายเด่นที่พรรคพร้อมสานต่ออย่างบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคน ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในการปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามกรอบ 12 นโยบายเร่งด่วน นั้น อาจกลายเป็นประเด็นที่ฝ่ายค้านหยิบยกขึ้นมาอภิปราย เนื่องจากเดิมสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ตั้งงบประมาณไว้รองรับจนถึงสิ้นเดือน ก.ย.2562 และจะเหลืองบฯ ในกองทุนเพียง 1,400 ล้านบาทเท่านั้น

นอกจากจัดสรรงบประมาณแล้ว ประเด็นที่หลายฝ่ายจับตามองในขณะนี้คือการปรับโครงสร้างรายได้ภาครัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้พรรคพลังประชารัฐได้หาเสียงว่าจะดำเนินการการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10% ซึ่งหากทำจริง รายได้ของรัฐบาลจะลดลงทันที และอาจกระทบกับฐานเก็บภาษีของประเทศ จึงอาจเป็นประเด็นหลักที่ฝ่ายค้านจะหยิบยกขึ้นมาอภิปรายได้

อีกประเด็นที่ยังเป็นที่จับตามอง คือ กรณีนายอุตตม ได้ร่วมลงชื่อในฐานะกรรมการธนาคารกรุงไทย อนุมัติเงินกู้ฯ ให้เครือกฤษดามหานคร เป็นจำนวน 9.9 พันล้านบาท ที่แม้ว่าคดีจะถึงที่สุดไปแล้ว แต่ยังมีการร้องเรียกจากหลายฝ่าย ซึ่งฝ่ายค้านอาจอภิปรายในครั้งนี้ด้วย

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

กลับมานั่งเก้าอี้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นครั้งที่ 4 ท่ามกลางวิกฤตเศษฐกิจทั่วโลก ส่งผลให้การลงทุนในประเทศชะลอตัว กระทรวงอุตสาหกรรมจึงเร่งผลักดันนโยบายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรมครึ่งปีหลัง 62 ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)

แต่เหมือนความหวังของรัฐบาลไม่ใช่ความต้องการของเครือข่ายภาคตะวันออกและประชาชนจากหลายจังหวัดภาคตะวันออก ที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ อีอีซี ซึ่งได้เดินทางมาร่วมชุมนุมที่อาคารรัฐสภาชั่วคราวเพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมการยุติการดำเนินการดังกล่าว เพราะเกรงว่าอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่และเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน โดยประเด็นนี้อาจได้รับการอภิปรายจากฝ่ายค้านด้วย

เช่นเดียวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือขยะพิษในภาคอุตสาหกรรมที่มีการลักลอบทิ้งและลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างที่ จ.สระแก้ว ซึ่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาจต้องเตรียมตอบคำถามแนวทางการจัดการขยะพิษเหล่านี้ให้ชัดเจน

นอกจากนี้ คดีเก่าของนายสุริยะ ในปี 2550 แต่คดีโรลส์-รอยซ์ ที่ยอมรับให้สินบนเจ้าหน้าที่การบินไทย ในสมัยที่นายสุริยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบจาก ป.ป.ช. จึงอาจเป็นอีกประเด็นที่ฝ่านค้านจะหยิบยกขึ้นมาอภิปรายเกี่ยวกับคุณสมบัติของรัฐมนตรีได้ รวมถึงยังมีคดีเก่าที่ส่งผลถึงภาพลักษณ์นายสุริยะ คือ คดีจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX 9000 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งต่อมา ป.ป.ช.มีมติยกคำร้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จากบทบาทของผู้วางยุทธศาสตร์เลือกตั้ง ให้พรรคพลังประชารัฐ จนคว้าชัยเหนือพรรคเพื่อไทยในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ จากนั้นเป็นผู้ประสานสิบทิศในการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ

งานแรกของ ร.อ.ธรรมนัช ในฐานะ รมช.เกษตรฯ คือลงพื้นที่ดูแลปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ภาคเหนือและสั่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในทันที เนื่องจากปัญหาภัยแล้งถูกยกเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคพลังประชารัฐโดยมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร เช่น ระบบน้ำชุมชนเพื่อการเกษตร ด้วย

นอกจากนี้นโยบายด้านการเกษตร ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญ โดยเฉพาะนโยบาย 3 เพิ่ม 3 ลด โดยเพิ่มราคาสินค้าเกษตร คือ ลดภาระหนี้ พักชำระหนี้ ให้เงินกู้เพิ่ม ดอกเบี้ยต่ำ ,ลดความเสี่ยง ประกันพืชผลเกษตร ลดต้นทุนการผลิต

อย่างไรก็ตาม ร.อ.ธรรมนัช มีประเด็นที่ถูกจับตามากมาย ทั้งการกี่ยวพันคดีฆาตกรรมชายคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาในปี 2546 ศาลสั่งยกฟ้อง คดียาเสพติดที่ประเทศออสเตรเลียที่สุดท้ายศาลก็ยกฟ้องเช่นกัน ไปจนถึงเป็น 1 ใน "5 เสือกองสลาก" แต่หลังการจัดระเบียบเจ้าตัวก็ชี้แจงว่า ได้สลายกลุ่ม 5 เสือที่รับโควต้ากองสลากฯไปหมดแล้ว

นอกจากนี้ ร.อ.ธรรมนัช ยังบริหารกิจการตลาดคลองเตย และตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งภาพลักษณ์ที่ถูกมองว่าเป็นผู้มีอิทธิพล จนเจ้าตัวต้องออกมาชี้แจงและระบุว่า ไม่มีความกังวลใจ เพราะเรื่องต่าง ๆ ได้ชี้แจงไปหมดแล้ว

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

เป็นโควต้าของพรรคภูมิใจไทย เป็นประธานบริหารบริษัท แป้งมันเอี่ยมเฮง จำกัด ซึ่งมีโรงงานอยู่ 3 แห่ง คือ อ.เสิงสาง อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา และ จ.อุบลราชธานี ทำผลงานเด่นในการเลือกตั้ง 2562 ด้วยการนำทัพกวาดที่นั่ง ส.ส. 4 คน จาก 14 เขตเลือกตั้ง จ.นครราชสีมา กระทั่งได้รับจัดสรรโควตานั่งเก้าอี้ รมช.พาณิชย์

อย่างไรก็ตาม นายวีรศักดิ์ถูกตั้งคำถามกรณีบริษัทดังกล่าว เคยถูกดำเนินคดีบุกรุกที่ดิน ส.ป.ก. 1,200 ไร่ และศาลมีคำพิพากษา ว่ามีความผิดและให้แก้ไข ซึ่งเจ้าตัวยืนยันว่า คดีจบไปแล้ว และไม่มีเรื่องใดค้างในศาล เชื่อมั่นมีคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี

ส่วนนโยบายที่คาดว่าจะถูกฝ่ายค้านอภิปราย เป็นเรื่อง “การประกันราคาพืชผลเกษตร” ซึ่งพรรคพลังประชารัฐหาเสียงไว้ว่า ชาวนาจะต้องขายข้าวได้ตันละ 10,000 กว่าบาท, ภูมิใจไทย ชู “แบ่งปันกำไร-profit sharing” เช่น การขายข้าว ชาวนาได้กำไร ร้อยละ 70, โรงสี ร้อยละ 15 และส่งออก ร้อยละ 15 และพรรคประชาธิปัตย์ ประกันรายได้พืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ ยางพาราต้องขายได้ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท, ปาล์มราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 4 บาท และข้าวหอมมะลิราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 15,000 บาท

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

น้องสาวนายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย เป็นอดีตนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี ส่วนประเด็นที่จะถูกฝ่ายค้านพุ่งเป้าโจมตีเรื่องคุณสมบัติรัฐมนตรี มาจากโครงการก่อสร้างบำบัดน้ำเสีย มูลค่าโครงการ 501 ล้านบาท จากปัญหาก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ และมีการแก้ไขสัญญา 5 ครั้ง โดยขยายสัญญา สมัย น.ส.มนัญญา เป็นนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี และถูกปล่อยทิ้งร้างมานานกว่า 10 ปี สร้างความเสียหายเกือบ 300 ล้านบาท และมีรายงานข่าวว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่งเรื่องต่อไปให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการไต่สวนต่อ

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และยังเป็นเงื่อนไขสำคัญในการร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐของพรรคประชาธิปัตย์ โดยได้กำหนดให้สนับสนุนให้มีการศึกษาโดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหลายช่องทาง ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล 

แต่นายนิพนธ์มีประเด็นที่ถูกจับตาคือคุณสมบัติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบ 5 โครงการหลัก ทั้งโครงการประมูลซื้อรถซ่อมบำรุงทางเอนกประสงค์ชนิด 10 ล้อ, โครงการเงินอุดหนุนสมาคมกีฬาจังหวัด, โครงการจัดซื้อจัดจ้างรถอุบัติเหตุฉุกเฉิน โครงการสร้างสวนสาธารณะเมืองสงขลาเพื่อการท่องเที่ยว, อนุมัติงบโครงการให้ 4 อำเภอในสงขลามากกว่าอำเภออื่น ๆ จนนายนิพนธ์ต้องออกมาแถลงต่อสื่อมวลชน และก็ถูกจับตาว่าในการแถลงนโยบายรัฐบาลนายนิพนธ์จะถูกอภิปรายถึงเรื่องเหล่านี้หรือไม่

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายณัฏฐพล เริ่มต้นการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนจะลาออกจากการเป็น ส.ส.และสมาชิกพรรค เพื่อร่วมเป็นแกนนำ กปปส.ในช่วงวิกฤตการเมืองปี 2556-2557 เพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ และเรียกร้องให้เกิดรัฐประหาร ขณะนั้นกลุ่ม กปปส.ได้จัดเวทีชุมนุมตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพฯ โดยนายณัฏฐพลเป็นแกนนำเวทีบริเวณแยกอโศก ก่อนที่จะถูกศาลอาญาอนุมัติหมายจับพร้อมกับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2557 ในคดีกบฏและความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา แต่คดียังไม่ถึงที่สุด

หลังการรัฐประหาร นายณัฏฐพลมีบทบาทในรัฐบาล คสช. และเมื่อมีการเลือกตั้งได้เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค อีกทั้งยังเคยเป็นโต้โผจัดเลี้ยงโต๊ะจีนระดมทุนเลือกตั้ง โดยได้เงินบริจาคทะลุเป้า 600 ล้านบาท ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ขณะที่การเลือกตั้งเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา นายณัฏฐเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับที่ 1 กระทั่งได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

แม้ที่ผ่านมานายณัฏฐพลจะไม่เคยมีปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน แต่มีการคาดการณ์ว่าในวันนี้ (25 ก.ค.) นายณัฏฐพลจะถูกฝ่ายค้านอภิปรายประเด็นสืบทอดอำนาจรัฐบาล คสช.

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

เส้นทางการเมืองของนายพุทธิพงษ์ เริ่มต้นกับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2544 และเป็นโฆษก กทม. ในสมัยที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ กทม. ต่อมาเป็นรองผู้ว่าฯ กทม.ในปี 2549 จากนั้นได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 2553 และลาออกในเวลาต่อมา

นายพุทธิพงษ์ เป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส.และเป็นผู้ต้องหาคดีกบฏจากวิกฤตการเมืองในช่วงนั้น พร้อมกับนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ก่อนที่ในปี 2561 นายพุทธิพงษ์ จะเข้าร่วมงานกับรัฐบาล คสช. และมีบทบาทในฐานะรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) และได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในปีเดียวกัน

ภายหลังได้ลาออกจากตำแหน่งข้าราชการการเมือง เพื่อลงสมัครเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยเป็นกรรมการบริหารพรรคและประธานยุทธศาสตร์ กทม. กระทั่งได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นเป้าที่ฝ่ายค้านจะอภิปรายเรื่องการสืบทอดอำนาจ คสช.

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) อาจถูกฝ่ายค้านอภิปรายถึงคุณสมบัติ กรณีถือครองหุ้นบริษัท เจ.ซี.ฟู๊ด คอร์ทส จำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า กระดาษ เครื่องเขียน แบบเรียน แบบพิมพ์ หนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องวินิจฉัยปมถือหุ้นสื่อ แต่ไม่เข้าเงื่อนไขให้ยุติปฏิบัติหน้าที่

ส่วนนโยบายที่ถูกจับตา คือ การปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ เพราะนายจ้าง ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะรายกลาง รายเล็กหรือเอสเอ็มอี ภาคอุตสาหกรรม ผู้ส่งออก อสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมา ภาคท่องเที่ยวและบริการ ฯลฯ วิตกกังวลว่าต้นทุนค่าแรงจะเพิ่มภาระ เป็นอุปสรรคในการแข่งขัน และซ้ำเติมปัญหาที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ รวมทั้งตลาดโลกที่ชะลอตัวจากปัญหาสงครามทางการค้า การแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งเจ้ากระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ในวันแรกของการทำงานว่า เรื่องนี้ต้องคณะกรรมการไตรภาคีพิจารณาก่อน ต้องค่อยเป็นค่อยไป ยังไม่สามารถขึ้นได้ทันที มองว่าตัวเลขค่าจ้าง 400 บาท แม้จะเป็นเงินไม่มาก แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ลงเล่นการเมืองท้องถิ่นเป็น ส.จ.ระยอง ที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้น ต่อมาลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และตั้งแต่ปี 2544 ได้เป็น ส.ส.ระยอง ถึง 4 สมัย

นายสาธิต เป็นหนึ่งใน 32 รายชื่อ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ที่ถูกร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีถือครองหุ้นสื่อ เข้าข่ายขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องไว้ไต่สวน กรณีถือครองหุ้น บริษัท พี.ที.รุ่งเรืองคอนกรีต จำกัด และบริษัท เก่งกล้า จำกัด จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ “ประกอบกิจการโรงพิมพ์ รับพิมพ์ หนังสือ พิมพ์หนังสือจำหน่าย และออกหนังสือพิมพ์”

นายสาธิต กล่าวถึงการขับเคลื่อนงานด้านสาธารณสุขว่า สิ่งที่ต้องการเห็น คือ 1. รณรงค์ให้ประชาชนออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค 2.พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ลดความแออัดในโรงพยาบาลทุกระดับ โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และ 3.ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้ประชาชนเป็นเจ้าของข้อมูลทางการแพทย์ มีการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในทุกหน่วยบริการ

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา เป็นน้องชายของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตส.ส.นครราชสีมา 3 สมัย ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ครั้งแรกเมื่อปี 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และปี 2550 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

นายเทวัญ เคยถูกร้องกรณีถือครองหุ้นบริษัท เอส.ซี.เค.แลนด์ จำกัด วัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือ พิมพ์หนังสือจำหน่าย และออกหนังสือพิมพ์ โดยขณะนี้เรื่องอยู่ในชั้นดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญ

ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า นายเทวัญไม่มีชื่อในคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เหตุเพราะพรรคชาติพัฒนา มี ส.ส. 3 เสียง เท่ากับพรรคพลังท้องถิ่นไท ของ นายชัชวาลย์ คงอุดม หรือ “ชัช เตาปูน” จึงไม่สามารถจัดสรรตำแหน่งให้ได้

แต่หลังจากนั้น เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งหนังสือถึงนายเทวัญ ให้เข้ามารับเอกสารเพื่อทำการกรอกประวัติในการเป็นรัฐมนตรีในครั้งนี้

นายเทวัญระบุว่า นโยบายของพรรคชาติพัฒนาที่อยู่ในนโยบายรัฐบาล เรื่องเศรษฐกิจรากหญ้า ที่เน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และกระตุ้นการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายพรรคร่วมรัฐบาล หลังจากแถลงนโยบายของรัฐบาล เชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้นตามลำดับ

แม้นโยบายจะอยู่ในส่วนที่พรรคร่วมดูแลเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจรากหญ้า เชื่อว่าจะสามารถร่วมดำเนินการทางนโยบายรัฐบาลได้ และจะประสบผลสำเร็จ
นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง