ปรับตัวเท่าทัน ยุค AI

Logo Thai PBS
ปรับตัวเท่าทัน ยุค AI
อีก 40 ปีข้างหน้า คาดว่าเป็นยุคแห่ง AI หุ่นยนต์จะทำหลายสิ่งแทนมนุษย์ วิถีชีวิตของคนอาจเปลี่ยนไป ซึ่งมีทั้งข้อดีและโทษ หลายด้าน เช่น สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม นักวิชาการมีคำแนะนำเพื่อให้รับมือกับโลกอนาคต

วงเสวนา นักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum ครั้งที่ 3 เปิดงานวิจัยพัฒนาการ AI จาก ค.ศ. 2020 สู่ 2060 กับความพร้อมของสังคมไทย นายพณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต ระบุว่า ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเรื่องทักษะแรงงาน ผลิตนิสิตนักศึกษาให้เป็นบุคลากรในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องหรือมีประสิทธิภาพที่จะรองรับการทำงานกับ AI ในอนาคต แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

 

ช่วงที่ 1 ช่วงการพัฒนา AI (2020 – 2029)

ช่วงการเตรียมความพร้อมให้คนมีทักษะสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data)

ช่วงที่ 2 คนทำงานร่วมกับ AI (2030 – 2049)

AI ทำงานแทนคนเป็นส่วนใหญ่ แต่มนุษย์ยังต้องทำงานไปด้วยกันกับ AI โดยการทำงานของมนุษย์เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การสร้างมูลค่าหรือคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการ

ช่วงที่ 3 คนอยู่กับ AI (2050 –2060)

เป็นช่วงที่ความสามารถของ AI มากกว่ามนุษย์เป็นพันเท่า สามารถทำงานทดแทนแรงงานมนุษย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ มนุษย์อาจจะไม่ต้องทำงานมาก เพราะการจ้างแรงงานมนุษย์มีต้นทุนสูงกว่า AI แต่จะมีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น อาชีพที่ปรึกษาด้านปรัชญา นักออกแบบเวลาว่าง จากงานวิจัยพบว่าในช่วงเวลานี้

 

นายพณชิต กิตติปัญญางาม  ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต

นายพณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต

นายพณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและบุคลากรแห่งอนาคต


คนจะเริ่มถามหาคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ เริ่มตั้งคำถามว่าเราเกิดมาทำไม


นายพณชิต ระบุว่า การปลูกฝังเด็กเขียน Coding ในช่วงแรก (2020-2029) อาจจะไม่เพียงพอ เพราะยุคที่ 3 เป็นยุคที่คนต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ เตรียมตัวเองเข้าสู่ยุคการหาคุณค่าของชีวิต แผนการศึกษาในปัจจุบันต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ ควรเน้น “การสร้างคน”

ในงานเสวนามีนักวิชาการให้ความเห็นต่องานวิจัยชิ้นนี้ ในมุมต่างๆ

 

ด้านการสื่อสารมวลชน


ศ.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดีและอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันโลกออนไลน์ เราจะได้รับข่าวปลอมจำนวนมาก และ AI ทำให้ข่าวที่ไม่มีความจริงดูแนบเนียนขึ้น รวมทั้งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มาก

 

ขณะเดียวกัน AI สามารถวิเคราะห์ตรวจสอบเรื่องโครงสร้างของข่าวนั้นๆ เรื่องการใช้ภาษา และสามารถหาต้นตอของการแพร่ข่าวได้ง่ายขึ้นเช่นกัน


ด้านระบบนิเวศและการพัฒนายั่งยืน


นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม คาดหวังว่า AI จะเข้ามามีบทบาทเป็นเครื่องมือวิเคราะห์เก็บข้อมูลต่างๆ ที่จะมาแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การใช้ AI ในระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมจากการทำลายป่า และปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องฝุ่นควัน PM 2.5


ด้านสังคมการเมืองไทย


ด้าน ศ.อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งศูนย์นโยบายดิจิทัลอาเซียน กล่าวว่า จากรายงานของสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ใน 10 ถึง 20 ปีข้างหน้า เมื่อมี AI เข้ามา ประชากรประมาณร้อยละ 47 จะว่างงานโดยเฉพาะสายงานการขนส่ง งานในสำนักงานและแรงงานในสายงานการผลิตทั้งหมด

ศ.อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งศูนย์นโยบายดิจิทัลอาเซียน

ศ.อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งศูนย์นโยบายดิจิทัลอาเซียน

ศ.อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งศูนย์นโยบายดิจิทัลอาเซียน


ผมเห็นว่าในประเทศไทยภายใน 10 ปีนี้ เป็นช่วงเตรียมพร้อม ยังต้องการแรงงาน ถึงแม้ว่าธุรกิจขนส่งภาคเอกชนจะใช้ AI เข้ามามีส่วนร่วมกับมนุษย์แล้ว แต่งานบริการยังต้องการแรงงานทักษะมนุษย์อยู่ดี และมองว่าภาครัฐยังไม่พร้อมเรื่องแผนแรงงานและการผลิตบุคลากรเข้าสู่ระบบงาน


ด้านสุขภาวะสังคม


นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า มิติด้านสุขภาพ AI ยังไม่สามารถเข้ามามีบทบาทมากเท่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้คนประเมินและตัดสินผิดหรือถูก รวมถึงความรับผิดชอบในชีวิตของผู้ป่วย แต่ในอนาคตข้างหน้าอาจมีการยอมรับ AI มากขึ้นเนื่องจากอาชีพแพทย์อาจไม่ได้รับความนิยมเท่าสายธุรกิจ

 

นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


อนาคตโรคทางจิตอาจมีมากขึ้น ผมเห็นว่า AI ไม่สามารถเข้ามามีบทบาทในการรักษาได้ นอกจากนี้สังคมมีสุขภาวะที่ดีจะต้องมีนโยบายทางสุขภาพที่ดี ผมมองว่า AI ไม่สามารถเข้ามามีบทบาทเพื่อจัดการโครงสร้างทางนโยบายที่ดีได้


ด้านสิทธิมนุษยชน


นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เสนอความคิดเห็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแง่การเก็บข้อมูลแบบอัตลักษณ์บุคคลว่า ประเทศไทยยังขาดความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อบุคคลทุกชนชั้นทุกสังคม ประชาชนทุกคนควรมีส่วนร่วมรับรู้ว่าข้อมูลส่วนตัวของเราถูกจัดการอย่างไร ใครจะเป็นคนกำหนดการนำไปใช้ นำไปใช้อย่างไร

 

ปัจจุบันกฎหมายของการใช้ AI และข้อมูลส่วนบุคคลถูกกำหนดขึ้นจากรัฐบาล ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ควรสนับสนุนให้พูดคุยระหว่างภาครัฐและประชาชนกำหนดการใช้เทคโนโลยีเพื่อปกป้องสิทธิและความปลอดภัยของประชาชน

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง