เปิดโฉม "STC–3" รถพลังงานโซลาร์เซลล์ เตรียมแข่งเวทีโลกต.ค.นี้

สิ่งแวดล้อม
22 ส.ค. 62
17:45
854
Logo Thai PBS
เปิดโฉม "STC–3" รถพลังงานโซลาร์เซลล์ เตรียมแข่งเวทีโลกต.ค.นี้
"วราวุธ" ให้กำลังใจทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ตัวแทนเยาวชนไทย เข้าแข่งขันรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับโลก ในเดือนต.ค.นีที่ประเทศออสเตรเลีย ผลักดันใช้เมืองไทยแก้ปัญหามลพิษ

วันนี้ (22 ส.ค.2562) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวให้กำลังใจคณะอาจารย์ และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ในฐานะตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับโลก World Solar Challenge 2019 ที่ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 13-20 ต.ค.นี้ โดยนำรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-3 เข้าแข่งขัน

นายวราวุธ  กล่าวว่า การแข่งขันในระดับโลกเป็นการแสดงให้เห็นว่าเยาวชนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก ขณะที่วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปรียบเหมือนสถานเพาะพันธุ์ไม้ดี ที่จะพัฒนาเยาวชนไทยให้มีศักยภาพในด้านเทคโนโลยี หากภาครัฐหรือเอกชนจะสนับสนุนเยาวชนเหล่านี้ขอให้มาสนับสนุนกันตอนนี้เลยอย่ารอให้มีชื่อเสียงแล้วมาขอสนับสนุนทีหลัง

ไทยได้ใช้รถไฟฟ้าบางส่วนแล้ว แต่ยังติดปัญหาการประจุแบตเตอรี่ให้ใช้ได้นาน เชื่อว่าในอนาคตจะพัฒนาระบบเหล่านี้ให้ดีขึ้น เพราะถ้าถนนไทยใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาการใช้พลังงาน และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้
ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

เล็งปรับใช้ถนนไทย-ลดมลพิษ 

สำหรับการแข่งขันรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งนี้มีมายาวนานกว่า 30 ปี โดยต้องใช้รถไฟฟ้าขับเคลื่อนเป็นระยะทางเป็นพันกิโลเมตร ทำให้เป็นเวทีแข่งขันที่เป็นแหล่งรวมตัวของผู้กล้า นักผจญภัย และนักนวัตกรรมสายเลือดใหม่จากทั่วโลกมาแข่งขันชิงความเป็นที่หนึ่งด้านรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ผศ.พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กล่าวว่า ได้ผลิตรถ STC-1 และ STC–2 เข้าแข่งขันมาแล้ว ส่วนปีนี้ใช้รถ STC–3 ที่ออกแบบทั้งด้านรูปลักษณ์ และสมรรถนะ เป็นรถเอนกประสงค์สำหรับครอบครัวขนาดเล็กภายในมี 3 ที่นั่ง ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิดซิลิกอนแบบผลึกเดี่ยว ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 1.1 กิโลวัตต์ ติดไว้บนหลังคารถ และใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ความจุ 33 กิโลวัตต์ชั่วโมง เป็นตัวป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์

รถ STC-3 ถูกออกแบบให้สามารถถอดแผงโซลาร์เซลล์ด้านบนหลังคอได้ ทำให้ใช้งานได้เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าทั่วไป และรองรับการชาร์จตามมาตรฐาน IEC62196 type–2 ใช้ต้นทุน 600,000–700,000 บาท หากมีการพัฒนาจนใช้ได้จริงจะพยายามให้ต้นทุนลดลงอยู่ที่ 250,000 บาท เพื่อให้คนรุ่นใหม่หรือครอบครัวขนาดเล็กเปิดใจใช้รถไฟฟ้า มั่นใจว่า การนำรถ STC–3 มาใช้ในชีวิตประจำวันจะช่วยแก้ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้

 

ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาพ:กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง