เพียงคำเดียว การใช้ "อิ-อี" ในสำนวนไทย

Logo Thai PBS
เพียงคำเดียว การใช้ "อิ-อี" ในสำนวนไทย
อาจเป็นคำเรียกที่ดูไม่สุภาพ เมื่อใช้นำหน้าชื่อใครว่า "อี" หากแต่เมื่อใช้คำนี้ในสำนวน "อี" กลับเป็นคำที่ช่วยเติมเต็มความพอดีในน้ำเสียง อย่างที่ใช้ในสำนวน ไม่รู้อีโหน่อีเหน่

ไม่ใช่ภาษาทางการแต่ก็เรียกขานนำมาใช้บ่อย จนกลายเป็นคำพูดติดปากมาแต่โบราณว่าไม่รู้อีโหน่อีเหน่ แม้เป็นสำนวนที่ไม่ปรากฏหลักฐานที่มา แต่ก็เข้าใจร่วมกันว่าหมายถึงความไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ประสีประสา พจนานุกรมระบุว่า นอกจากใช้กันมานาน แต่เดิมสำนวนนี้ยังหมายถึงความไม่รู้ระเบียบ ไม่รู้ธรรมเนียม โดยปรากฏหลักฐานไม่มีคำว่า อี ในลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ที่กล่าวถึงการแต่งตัวของละคร ด้วยการใช้คำว่า ไม่รู้โหน่เหน่

ความตอนหนึ่งจากลายพระหัตถ์ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ฉบับวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๘๐

ความตอนหนึ่งจากลายพระหัตถ์ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ฉบับวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๘๐

ความตอนหนึ่งจากลายพระหัตถ์ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ฉบับวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๘๐

วัฒนะ บุญจับ : ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาและวรรณกรรม

ลักษณะของไอ้อีที่อยู่ในคำไทย บางคำตัดแล้วเสียความ บ้างใช้เน้นย้ำคำ แสดงถึงการกดหรือชี้เฉพาะ บ่งบอกสถานะคนฟังว่าต่ำกว่า แต่ถ้าไม่ได้ลงน้ำหนักคำ มักเป็นการเติมคำให้มีความพอดี

นอกจากการใช้ อี บ้างยังใช้ อิ เติมเต็มความพอดีในน้ำเสียง เช่น สำนวน อิหลักอิเหลื่อ ที่หมายถึง ความอึดอัด ลำบากใจ บางสำนวนใช้ อิ-อี สื่อความหมายปฏิเสธควบคู่กับคำว่าไม่ ในสำนวน อินังขังขอบ

 

 

ไม่เพียงความหมายในทางปฏิเสธ หากบางสำนวนยังสามารถแตกแยกเป็นหลายคำในความหมายเดียวกัน เช่นในบริบทของคำกริยาที่อาจใช้ว่า อีฉุยอีแฉก, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีหลุยฉุยแฉก ในความหมายว่า กระจัดกระจาย ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง