ด้วยรักและผูกพัน "โอรังอัสลี" ผู้พิทักษ์ผืนป่าฮาลา-บาลา

สิ่งแวดล้อม
28 ส.ค. 62
17:45
649
Logo Thai PBS
ด้วยรักและผูกพัน "โอรังอัสลี" ผู้พิทักษ์ผืนป่าฮาลา-บาลา
"โอรังอัสลี" ชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่ในผืนป่าฮาลาบาลา ด้วยการพึ่งพาธรรมชาติและเป็นกำลังสำคัญช่วยเจ้าหน้าที่ ตชด.พิทักษ์ผืนป่าแห่งนี้ จนกลายเป็นความรักและผูกพัน

"เขาชอบให้เรียกว่า อัสลีมากกว่านะ" ร.ต.อ.มาตุภูมิ ธรรมเนียม ผบ.มว.กก.ตชด.44 ชุดพิทักษ์ป่าพระนามาภิไธย ส่วนที่ 2 อ.เบตง จ.ยะลา แนะนำไทยพีบีเอสออนไลน์ในช่วงสายของวันหนึ่ง ก่อนที่จะได้พบกับ "โอรังอัสลี" เผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมที่หากินอยู่ในผืนป่าฮาลาบาลา ติดชายแดนมาเลเซีย พร้อมเล่าถึงความผูกพันว่า "โอรังอัสลี" เป็นคนซื่อและน่ารัก อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่และมีผู้ใหญ่ดูแลประชากร 48 คน โดยจะย้ายจุดอาศัย ที่เรียกว่า "ทับ" ทุกๆ 1-2 เดือน เมื่ออาหารหมดแล้ว เช่น หัวมัน เผือก สัตว์ป่าเล็ก นอกจากนี้ยังช่วยแจ้งจุดโพรงนกเงือก ช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานอนุรักษ์ได้ง่ายขึ้น

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ต่อมากลุ่มลูกเขยแยกตัวออกไปรับจ้างกับชาวบ้าน ทำให้ปัจจุบันมีโอรังอัสลี 25 คน ที่ใช้ชีวิตแบบดั่งเดิม ยึดถือขนบธรรมเนียม และพึ่งพาธรรมชาติ

เขาเป็นคนซื่อ น่ารัก ถ้าเราดีกับเขาก็จะช่วยเหลือ บางครั้งหาของมาฝาก อย่างน้ำผึ้ง สมุนไพร

บางครั้งขาดแคลนอาหาร หรือเจ็บป่วย ก็จะออกมาจากป่าเพื่อขอสนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม และยารักษาโรค ที่หน่วย ตชด.แห่งนี้

ร.ต.อ.มาตุภูมิ ธรรมเนียม

ร.ต.อ.มาตุภูมิ ธรรมเนียม

ร.ต.อ.มาตุภูมิ ธรรมเนียม

ร.ต.อ.มาตุภูมิ เล่าต่อว่า นอกจากภาษาเผ่าแล้ว โอรังอัสลีฟังภาษาไทยออกและสามารถสื่อสารได้ เมื่อขาดแคลนอาหาร หรือหาอาหารไม่ได้ ก็จะเดินออกจากป่ามาที่ฐาน ตชด. เขาจะบอกว่า “หิวข้าว” เจ้าหน้าที่ก็หุงข้าว ทอดไข่เจียว หรือนำปลากระป๋องมาให้กิน ขณะที่บางครั้งเจ้าหน้าที่จะขอให้ช่วยพัฒนาฐาน ตชด.ด้วย

เขากินง่าย แต่กินเยอะมาก เราให้เขากินเต็มที่ แต่บางครั้งอยากให้ช่วยพัฒนาฐาน ก็จะให้เขาช่วยทำงานก่อนแล้วค่อยให้กินอาหาร ไม่ได้แกล้งนะ แต่พอกินอิ่มแล้วเขาจะไม่ทำงาน อิ่มแล้วกลับเลย

 

หากมีอาการเจ็บป่วย หรือขอยารักษาโรค เจ้าหน้าที่จะต้องเน้นย้ำวิธีการและช่วงเวลาในการใช้ โดยไม่ได้ให้ยากลับไปด้วย เพราะกังวลว่าอาจใช้ผิดวิธี ส่วนบางคนที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรง จะนำไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล

ต้องบอกวิธีใช้กับเขา บางทียาทาเขาก็เอาไปกิน ยากินก็เอาไปทา

 

รอไม่นานนัก เรือหางยาวพร้อมด้วยโอรังอัสลี 10 คน ก็มาถึงที่กองร้อย ตชด.ที่ 445 อ.เบตง จ.ยะลา ทั้งหมดเดินลงมาและทักทายเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้สื่อข่าวพูดคุยด้วย พวกเขามีท่าทีเขินอาย โดยได้คำตอบสั้น ๆ ว่า ปกติกินหัวมันป่า และบางครั้งก็ลงมาขอสนับสนุนข้าวจากเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ได้ทำงาน หรือกรีดยาง

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ความผูกพันป่า-โอรังอัสลี

ขณะที่ ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข ผบ.หมู่ หน่วยเฉพาะกิจสงขลา ซึ่งเป็นตำรวจ ตชด.เพียงคนเดียวที่โอรังอัสลียอมให้เข้าทับ (ที่พัก) ได้ เล่าว่า ขณะนี้มาช่วยราชการ และทำเรื่องย้ายกลับไปที่กองร้อย ตชด.ที่ 445 ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ เนื่องจากผูกพันและคิดถึงโอรังอัสลีมาก โดยใช้เวลาทำความรู้จัก 6-7 ปี คอยสอบถามตลอดว่าไปบ้านได้หรือยัง เดี๋ยวไปทำกับข้าวให้กิน

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

กระทั่งยอมให้ไปนอนที่ทับได้ ลักษณะจะอยู่กันแบบพอเพียง ไม่เบียดเบียนสัตว์ สังเกตจากเครื่องประดับที่ไม่มีหัวสัตว์ ปีกนก หรือขนนก ซึ่งเขาจะหวงเด็กเล็กและนำไปแอบก่อน เมื่อไว้ใจแล้วจะพามาเจอ เป็นความประทับใจมากที่ได้ทำกับข้าวและร่วมกินอาหาร โดยเฉพาะไข่พะโล้ของโปรดโอรังอัสลี

ผมกลับไปแน่นอน ผูกพันกับป่าฮาลาและโอรังอัสลี เปิดดูภาพก็จะคิดถึงเขามาก ผู้ใหญ่ร้องไห้อยากให้กลับมาช่วยเหลือกัน เพราะถ้าคนเอาเปรียบเขาจะไม่ยุ่งด้วย ต้องพูดจาดีกับเขา เป็นคนด้วยกัน
ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ขณะนี้ผู้ใหญ่ของเผ่าโอรังอัสลี อายุ 80 ปี ป่วยด้วยโรคชรา ซึ่ง ด.ต.ปรมินทร์ รู้สึกเป็นห่วงและจะกลับไปดูว่าช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ส่วนคนอื่น ๆ เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ปวดฟัน โรคเหงือก และปวดท้อง จะลงมาขอยาที่ฐาน ตชด. หากบาดเจ็บหนัก เช่น ถูกไม้ไผ่บาด จะส่งตัวไปเย็บแผลและขอยาที่สถานีอนามัย เพราะกลัวและไม่กล้าไปโรงพยาบาล แม้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เคยผลักดันให้รักษาเป็นกรณีพิเศษ

เหมือนกับเราทำบุญอย่างหนึ่ง ช่วยเหลือเขา ตชด.ใกล้ชิดกับกลุ่มนี้มากที่สุด ไปมาหาสู่ช่วยเหลือกัน
ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ผลักดันอาชีพเสริม

นอกจากความช่วยเหลือสนับสนุนอาหารและยาเป็นบางครั้งแล้ว ด.ต.ปรมินทร์ พยายามฝึกอาชีพเสริมให้โอรังอัสลี โดยเฉพาะงานหัตกรรมที่มีความละเอียดและสวยงาม งานถักจากหญ้า ทำหวี จำหน่ายชิ้นละ 100 บาท ส่วนชุดที่เป่า ลูกดอก และกระบอกใส่ลูกดอก จำหน่าย 2,000-3,000 บาท เป็นรายได้ใช้จ่ายช่วงที่หัวมันในป่าเริ่มขาดแคลน และเมื่อถึงช่วงเดือนเมษายน โอรังอัสลีจะนำน้ำผึ้งมาให้ บอกว่า "เอาของพี่มาทั้งปีแล้ว ไม่มีเงินจ่าย ให้น้ำผึ้งแทน" ถือเป็นความน่ารักและความผูกพันระหว่างกัน

มีคนช่วยเหลือและบริจาค แต่ไม่อยากให้เขาได้ฟรี ๆ จึงพยายามผลักดันเป็นอาชีพเสริม

ขณะที่สมจิตร ทองเนตร ชาวบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ที่ขับเรือหางยาวไปรับโอรังอัสลีในวันนี้ บอกว่า หากต้องการให้ไปช่วยทำงานจะต้องขับเรือหางยาวหาตามแนวชายป่า ซึ่งบางคนจะรับทำงานเก็บขี้ยาง ถางสวน แต่ห่วงว่าพวกเขาอาจถูกเอาเปรียบจากผู้จ้างงานบางคนที่ให้เงินไม่คุ้มกับค่าแรง

บางคนเก็บยางทั้งแปลงจ่าย 200 บาท บางคนรู้ทันก็จะบอกว่าไม่ทำ เห็นว่าเป็นคนป่าเอาของไม่ดีให้เขา
ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

ภาพ : ด.ต.ปรมินทร์ นาทองเจริญสุข

"โอรังอัสลี" พิทักษ์ผืนป่า

ผืนป่าฮาลาบาลามีพื้นที่กว่า 800,000 ไร่ ครอบคลุม อ.บันนังสตา อ.ธารโต อ.เบตง จ.ยะลา ยาวไปถึง อ.สุคิริน อ.แว้ง อ.จะแนะ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส และแนวเขตติดต่อประเทศมาเลเซีย มีสัตว์ป่าหายากทั้งนกเงือก กระทิง เสือ กวาง ช้างป่า ขณะที่ ตชด. และเจ้าหน้าที่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมลาดตระเวนป้องกันการลักลอบล่าสัตว์และตัดไม้ อีกหนึ่งกำลังสำคัญ คือ โอรังอัสลี ที่มีความสามารถ “หูไว ตาไว” สายตาดี มองเห็นระยะไกล หากพบความผิดปกติพวกเขาจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบทันที

 

"ฮาลาบาลา" ยังรอนักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสมนต์เสนห์ โดยเจ้าหน้าที่ขอความร่วมมือแพท่องเที่ยวงดใช้เสียงดัง ป้องกันการรบกวนสัตว์ป่า และไม่ขีดเขียน แกะสลักบนต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์คงอยู่สืบไป

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง