แนวโน้มจุดความร้อนไฟป่าอินโดฯ ลดเหลือแค่ 382 จุด

สิ่งแวดล้อม
25 ก.ย. 62
14:34
753
Logo Thai PBS
 แนวโน้มจุดความร้อนไฟป่าอินโดฯ ลดเหลือแค่ 382 จุด
สถานการณ์หมอกควันไฟป่า บนเกาะสุมาตรา-เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ภาพดาวเทียม NOAA-19 จุดความร้อนลดลงเหลือ 382 จุด ส่วนค่าฝุ่น PM2.5 ค่าเฉลี่ยสูงสุด 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

วันนี้ (25 ก.ย.2562) นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์หมอกควันภาคใต้ พื้นที่จังหวัดนราธิวาส รับฟังการดำเนินงานในพื้นที่ และขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทำความเข้าใจในสถานการณ์และดูแลประชาชนในเรื่องสุขภาพ และการทำกิจกรรมในพื้นที่ ล่าสุดสถานการณ์ PM2.5 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานี โดยปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชม. เมื่อเวลา 09.00 น.มีค่าอยู่ระหว่าง 15–37 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร  (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก.ลบ.ม.) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานี คุณภาพอากาศอยู่ในระดับดีมาก

เมื่อพิจารณาข้อมูลรายชั่วโมงของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในภาคใต้ พบว่าฝุ่นละอองเริ่มมีแนวโน้มลดลงในทุกพื้นที่ตั้งแต่ช่วงค่ำของวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยพบว่าภาคใต้ตอนล่างได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดไปยังตะวันตกเฉียงใต้ จึงทำให้ปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่บรรเทาลง ประกอบกับสถานการณ์จุดความร้อนในภูมิภาคอาเซียนตอนล่างมีแนวโน้มลดลง

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

จากภาพถ่ายดาวเทียม NOAA-19 พบจุดความร้อนจำนวนมากในพื้นที่เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว โดยในวันที่วันที่ 24 ก.ย.พบจุดความร้อนจำนวน 382 จุด ลดลงจากวันก่อนหน้าเกือบเท่าตัว และภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยไม่พบจุดความร้อน

นายวิจารย์ กล่าวว่า จากการติดตามสภาพอุตุนิยมวิทยา ล่าสุดพบว่าทิศทางลมเปลี่ยนแปลง หมอกควันจะส่งผลกระทบต่อภาคใต้น้อยลง คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมากทุกพื้นที่ ประชาชนสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ และคพ.ยังคงติดตามสถานการณ์ และแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบ รวมทั้งได้ประสานไปยังกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านสื่อในช่องทางต่างๆ ต่อไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมอกควันไฟป่า ทำให้ตัวเลขผู้ป่วย ใน จ.สงขลา สูงขึ้นเล็กน้อย

วิกฤต "ควันไฟป่า" ส่งผล 5 จังหวัดใต้ฝุ่น PM2.5 พุ่ง

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง