“บรรยง” เสนอโละโควตาข้าราชการพ้นรัฐวิสาหกิจ

เศรษฐกิจ
25 ก.ย. 62
17:28
800
Logo Thai PBS
“บรรยง” เสนอโละโควตาข้าราชการพ้นรัฐวิสาหกิจ
ทีดีอาร์ไอ เรียกร้องบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เปิดเผยประวัติการทำงาน และทรัพย์สิน เพื่อความโปร่งใส ขณะที่อดีตบอร์ดบริษัทการบินไทย เสนอห้ามข้าราชการประจำเป็นประธานและกรรมการบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ชี้เป็นช่องโหว่ถูกกนักการเมืองแทรกแซง

วันนี้ (25ก.ย.2562) ในงานเสนา “มารยาท หรือ จรรยาบรรณ กรณีเปลี่ยนบอร์ดรัฐวิสาหกิจ กับ การเมือง” ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ภัทร ในฐานะอดีตกรรมการบอร์ดบริษัทการบินไทย เปิดเผยเหตุการณ์ถูกใบสั่งให้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะมีแรงกดดันทางการเมือง ทั้งที่การทำงานของบอร์ดฯ ยุคนั้น ช่วยพลิกสถานะการเงินของบริษัท จากขาดทุนเป็นกำไรกว่า 7 พันล้านบาท

พร้อมระบุว่า นักการเมืองควรมีมารยาทต่อประชาชน ไม่แทรกแซงการทำงานของรัฐวิสาหกิจ เพราะกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน และภาระภาษีของประชาชน หลังคาดการณ์ว่า บริษัทการบินไทย อาจเสนอขอเพิ่มทุนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับการจัดซื้อเครื่องบินใหม่ 38 ลำ และเชื่อว่านักการเมืองพึงพอใจในความอ่อนแอของรัฐวิสาหกิจ เพราะสามารถแสวงหาผลประโยชน์ได้ง่ายกว่า

 

พร้อมเสนอให้ ข้าราชการประจำ ห้ามดำรงตำแหน่งประธาน หรือ กรรมการ ในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เพราะเป็นช่องว่างให้นักการเมืองแทรกแซงการทำงานได้

ตอนผมโดนใบสั่งให้ลาออกจากบอร์ดการบินไทย มีคนบอกผมว่า เราอยู่เมืองไทย ก็ว่าๆ กันไป จากเดิมเอาออก 6 คน ก็ไม่พอ เอาผมออกอีกคน เพราะเค้าไปสัญญากับอีกคนไว้แล้ว

สอดคล้องกับ น.ส.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจับสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ ตั้งข้อสังเกตว่า บอร์ดรัฐวิสาหกิจไทย แตกต่างจากบอร์ดรัฐวิสาหกิจต่างประเทศมาก ซึ่งบางประเทศใช้บริษัทเอกชน รวบรวมคุณสมบัติ ผู้บริหาร บริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลก ที่มีทักษะงานตรงกับความต้องการขององค์กร เพื่อทาบทามเข้ารับตำแหน่ง เพื่อช่วยให้องค์กร ทันสมัยสามารถแข่งขันกับบริษัททั่วโลกได้

ขณะที่รัฐวิสาหกิจไทย กลับกำหนดโควตาจำนวนกรรมการตามหน่วยงานราชการ ทั้งที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานในองค์กร ซ้ำยังได้รับค่าตอบแทนสูงเกินจริง ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดวัฒนธรรมต่างตอบแทน ระหว่างนักการเมืองที่แต่งตั้งเข้ามากับบอร์ดฯ จึงเสนอให้บอร์ดรัฐวิสาหกิจ เปิดเผยประวัติการทำงานและทรัพย์สิน เพื่อความโปร่งใส

ขณะที่นายประภาส คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ยอมรับว่า แม้พระราชบัญญัติ พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ ฉบับใหม่ ไม่สามารถขัดขวางนักการเมือง ส่งคนของตัวเองมาทำงานในบอร์ดรัฐวิสาหกิจได้ 100% แต่กฎหมายฉบับนี้ จะช่วยคัดกรองคุณภาพบอร์ดฯ ซึ่งขณะนี้ สคร.อยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติบอร์ดฯ ใหม่ ที่ข้าราชการตามโควต้าเกษียณอายุราชการ เช่น การเคหะฯ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ส่วนบอร์ดรัฐวิสาหกิจอื่นยังสามารถทำงานได้ตามปกติ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง